8 ม.ค. 2021 เวลา 03:13 • การศึกษา
"เสียดายปริญญา จบมาขายของ" คุณคิดเห็นกับคำนี้ว่าอย่างไรครับ
ภาพนี้เป็นแคปชั่นที่มีสมาชิกเฟซบุ๊กท่านหนึ่งเขียนไว้ และมีเพื่อนของผมแชร์มา ใต้โพสต์นั้นมีผู้มาแสดงความคิดเห็นเกือบ 3,000 คนในคืนเดียว โดยทิศทางของ comment มาในทางที่ว่าคนเราไม่ควรยุ่งเรื่องของคนอื่นให้มาก ซึ่งจากสิ่งแวดล้อมที่ผมอยู่ ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่ยังบูลลี่คนทีทำอาชีพค้าขายอยู่เช่นกัน
ทำไมต้องดูถูกคนที่มีอาชีพขายของ?
สมัยก่อน การค้าขายเป็นเรื่องง่าย หยิบจับสินค้ามาขาย ไม่ต้องอาศัยใบปริญญาอะไรมาก จึงถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้ความรู้ แต่ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการขายของต้องอาศัยความรู้รอบด้าน รวมถึงประสบการณ์มากมาย แถมยังเป็นอาชีพที่ร่ำรวยไว
ต้นทุนของคนเรียนปริญญาสูงเกินไปหรือเปล่า?
ผมเคยนั่งคิดเล่นๆ ว่าหากเราไม่เรียนหนังสือเลย กับเรียนจบปริญญา แล้วเข้าสู่ตลาดแรงงาน ที่ต้องทำงานหารายได้ แบบไหนเรียกประสบความสำเร็จ..
น้องแถวบ้านเรียนจบแค่ ม. 6 แล้วไม่เรียนต่อ ทำงานตั้งแต่อายุ 19 ปี เป็นเกษตรกรปลูกผักสวนครัว ขายผัก รายได้ปีละประมาณ 500,000 บาท ตั้งแต่อายุ 20 ปี
คนแถวบ้านเรียนจบปริญญาตรี ตอนอายุ 23 ปี ทำงานบริษัท ได้เงินเดือน 10,000 บาท
เท่ากับว่า ตอนอายุ 25 ปี น้องคนแรกจะหาเงินได้ 2.5 ล้านบาท น้องคนที่ 2 หาเงินได้ 2.4 แสน
รายได้ต่างกันเกือบ 10 เท่า ยังไม่หักค่าใช้จ่าย
ยังไม่ได้หักลบกับต้นทุนชีวิตขณะเรียนหนังสือมาก่อนหน้านี้ การเลือกเรียนปริญญาเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่สมัยก่อนใฝ่ฝันให้ลูกหลานเรียนจบ แต่หากไม่ได้วางแผนให้ดีๆ ก่อน จะกลายเป็นการลงทุนที่จมได้ง่ายๆ ผมเห็นผู้ใหญ่ในต่างจังหวัด ส่งลูกเรียนสูงกว่าปริญญาตรี แต่เลือกด้วยการขายที่ดิน ขายบ้าน เหลือสมบัติสุดท้ายคือเงินติดตัวไม่กี่บาทในบัญชี จนผมเคยตั้งคำถามกับตัวเองว่าถ้าเป็นเรา การลงทุนแบบนั้นมันคุ้มไหม
แต่เมื่อคิดอีกแง่หนึ่ง
มันก็เรื่องส่วนตัวของใครของมัน ชีวิตเขาอาจจะมีความสุขดีก็ได้ที่เลือกอย่างนั้น
อย่าเอาบรรทัดฐานของตัวเองไปบรรจงใส่ตัวละครเป็นคนอื่นให้มาก คิดไปก็ไม่มีความสุขหรอกครับ
2
ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะครับ
08.01.2020
โฆษณา