14 ม.ค. 2021 เวลา 00:07 • การศึกษา
ท่วงท่า จารึกแห่งตำนาน
ใครที่เคยผ่านตา จิตรกรรมเชิงสังวาส บนฝาผนังวัด ในบ้านเรา อาจต้องรู้สึกเงิบกันบ้าง เมื่อต้องประจักษ์ว่าที่เนปาล ก็มีศิลปะแขนงนี้อยู่ด้วยเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น มันไม่ใช่ภาพวาด แต่เป็นรูปสลัก วาบหวาม สยิ้วกิ้ว โอ้ยยย .. ไม่รู้จะพูดยังไงดี เอาเป็นว่าสุดจินตนาการจริง ๆ
สำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปประเทศเนปาล สิ่งที่จะพลาดไม่ได้คือ การเยี่ยมชมวัดวา อารามต่าง ๆ ซึ่งส่วนมาก ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดู ที่นิยมเป็นที่สุด คือวัดในหุบเขากาฐมาณฑุ, ภักตะปูร์, ลลิตปูร์หรือ ปาตัน (มีอ่านยาก กว่านี้อีกไหม)
งานก่อสร้างในวัดส่วนใหญ่ เป็นงานไม้ที่มีอายุเก่าแก่ ตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลักอย่างปราณีต ด้วยช่างชาวเนวาร์ กลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ที่อาศัยอยู่ใน หุบเขากาฐมาณฑุ นั่นเอง งานแกะสลักของพวกเขา ส่วนมากเป็นเรื่องราวตามคัมภีร์ของศาสนาฮินดู ผสมผสานกับศาสนาพุทธ มีทั้ง เทพเจ้า ปีศาจ สัตว์ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทางศาสนา
ความอัศจรรย์พันลึก อยู่ที่ภาพแกะสลักบางส่วน ที่แม้จะไม่ใช่ภาพหลักใหญ่ แต่ก็เรียกเสียง โอ้ว ..ว้าวว มายก็อด จากนักท่องเที่ยวได้ไม่ขาด คือรูปสลักจากไม้ ที่มีภาพการร่วมรัก ภาษาปะกิดเรียกว่า อีโรติค คาร์ฟวิง (Erotic Carving) ปะปนอยู่ด้วย
แม้ว่ารูปสลักส่วนมาก ซึ่งถูกสลักไว้ส่วนล่างสุดของเสาก็ดี ขนาดเล็กกว่ารูปสลักอื่น ๆ ก็ดี ความปราณีตในการแกะสลักน้อยกว่า ก็ดี แต่ทว่าก็สามารถสังเกตเห็นได้ไม่ยาก โดยเป็นท่วงท่า ลีลารัก ในแบบทั่วไป รวมไปถึงท่าทางพิศดารมากมาย ก็มีปรากฎอยู่เป็นระยะ
ความไม่ปกติ ในรูปสลัก ที่ถูกเหล่าช่างชาวเนวาร์ ประดับไว้บนผิวไม้ มีทั้งภาระกิจลับ ฉบับคนกับสัตว์ รักร่วมเพศ รักเป็นกลุ่ม หรือที่คนรุ่นใหม่เรียกว่า สวิ้งกิ้ง (เฮ้ย ...!!! มันมาได้ไง) รวมไปถึงการใช้ปาก และทวาร การสมสู่ของคนและปีศาจ ล้วนแล้วแต่เหนือจินตนาการ
ว่ากันว่าเรื่องของเพศศึกษาในอดีตของชาวเนปาลนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาเหนียมอายเหมือนอย่างเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านทุกคน สามารถเดินชมงานศิลปะเหล่านี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน ราวกับเดินเที่ยวถนนข้าวสารยังไง ยังงั้น อันเนื่องมากจากยุคก่อน ไม่ได้มีสื่อวาบหวิวเหมือนอย่างทุกวันนี้ ถึงแม้ว่า เพศศึกษาบางท่า มันจะเข้าขั้นวิตถารไปซะหน่อยก็ตาม
สมมุติฐานต่อมา เป็นเรื่องของเทพีสายฟ้า ผู้เป็นน้องสาวของ ฮอร์ เทพเจ้าสายฟ้า (ไม่ใช่นะ .. คนละประเทศกัน) ตามความเชื่อของชาวเนปาลคือ เทพีแห่งสายฟ้าเป็นหญิงสาวพรหมจรรย์ เธอจะไม่ย่างกรายเข้าไปในที่ ที่มีภาพการสมสู่อุจาดตา ภาพสลักเหล่านี้ จึงเป็นการป้องกันฟ้าผ่า ไปในตัว
1
มีการพิจาณาถึงเหตุผลด้านจำนวนประชากร เนื่องจากในยุคโบราณ มีอัตราการเกิดน้อย จำนวนประชากรไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเมือง จึงเกิดเป็นภาพสลัก เพื่อกระตุ้นเตือนถึง ภาระหน้าที่ ของพลเมืองในอาณาจักร หากเป็นเช่นนั้นจริง คงแปลว่า ชาวเมืองเริ่มหันมาเลี้ยงนกกระจอกกันมากขึ้น
ข้อบ่งชี้อย่างสุดท้าย คือการเข้ามาของนิกาย ตันตระ ซึ่งนิกายนี้ มีอยู่ในทั้งศาสนาพุทธ และฮินดู ด้วยปรัชญาโบราณ ที่เชื่อในสภาวะคู่ หรือทวิมูรติ อันหมายถึงของสองสิ่งที่ต่างกัน แต่เอื้อประโยชน์ต่อกัน หยินหยางของจีน ก็ถือเป็นตันตระรูปแบบหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ภาพไม้แกะสลักที่วัดในเนปาล ยังคงดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ให้มาเยี่ยมชม ศึกษาศิลปะ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่า เรามองเป็นการศึกษา หรือมองเป็นสิ่งวาบหวิวกันแน่
หากข้อมูลผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ครับ
กดไลค์หากถูกใจ แชร์หากเห็นว่ามีประโยชน์ คอมเมนท์เพื่อแนะนำติชม
พูดคุย และทักทายผ่านอีเมลล์หรือ HangOut ที่
แหล่งข้อมูล ภาพ และสื่อประกอบ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา