21 ม.ค. 2021 เวลา 13:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพัฒนาระบบจับคู่ด้วย AI สำหรับคนโสด เพื่อแก้ปัญหาอัตราการเกิดที่ลดลง
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังแก้ปัญหาอัตราการเกิดที่ลดลงของประเทศ โดยการพัฒนาระบบจับคู่โดยใช้ AI เพื่อช่วยประชากรโสดในการตามหาความรัก
ปัจจุบันก็มีการใช้ระบบจับคู่โดยใช้ AI แล้วแต่ยังไม่สามารถทำได้ซับซ้อนเพียงพอ จะใช้หลักง่ายๆแค่ เงินเดือน อายุ เพื่อใช้ในการจับคู่ที่เหมาะสมกัน
แต่การระดมทุนของรัฐบาลในครั้งนี้จะเป็นการพัฒนา AI ให้สามารถมีอัลกอริทึมในการจับคู่ที่ซับซ้อนมากขึ้น
จากปัญหาอัตราการเกิดที่ลดลง จำนวนการเกิดเมื่อปีที่แล้วลดลงเป็นตัวเลขต่ำสุดในประวัติการณ์ของประเทศคือมีอัตราการเกิดประมาณ 850,000 คน ลดลงมากถึง 5.8% จากปีก่อน ควบคู่ไปกับจำนวนการแต่งงานที่ลดลง และช่วงอายุในการแต่งงานที่ช้าลง
1
จำนวนประชากรของญี่ปุ่นจะลดลงจาก 127 ล้านคนเป็น 88 ล้านคนภายในปี 2565 ถ้าอัตราการเกิดยังลดด้วยความเร็วระดับนี้ตามงานวิจัยของสถาบันวิจัยประชากร และประกันสังคมแห่งชาติของประเทศ
ปัญหาอัตราการเกิดต่ำ หลายคนอาจมองว่าไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วน หรือมีผลกระทบที่รุนแรงแต่ปัจจุบันญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงวัยกราฟประชากรเป็นลักษณะพีรามิดคว่ำ ซึ่งเมื่อจำนวนคนทำงานน้อยลงสิ่งที่ตามมาก็คือ ปัญหาขาดคนวัยทำงาน ขาดคนเสียภาษี และความสามารถในการจ่ายค่าสวัสดิการให้ประชากรสูงอายุ
ชินโซอาเบะนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในช่วงปี 2555-2563 เคยอธิบายอัตราการเกิดที่ต่ำว่าเป็น "วิกฤตระดับชาติ" และสัญญาว่าจะมีการออกนโยบายเพื่อส่งเสริมการมีลูกมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้ทำให้ปัญหาของประเทศรุนแรงขึ้นโดยตัวเลขการตั้งครรภ์และการแต่งงานลดลงในปีนี้ การแพร่กระจายของไวรัสโคโรนาทำให้มีคนจำนวนมากกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์การคลอดและการเลี้ยงดูทารก
ข้อมูลอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็นว่าจำนวนการตั้งครรภ์ที่ได้รับแจ้งในช่วงสามเดือนถึงเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในขณะที่การแต่งงานในช่วงเวลาเดียวกันลดลงร้อยละ 36.9
1
จากปัญหาการอัตราการเกิดที่ลดลงซึ่งเป็น “วิกฤตระดับชาติ” นำมาสู่การพัฒนาระบบจับคู่
มีหลายจังหวัดในญี่ปุ่นได้เปิดตัวระบบจับคู่ต่างๆมากมาย เริ่มมีการใช้วิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น งานอดิเรก เงินเก็บในบัญชี เพื่อพยายามหาคู่ให้ได้เหมาะสมที่สุด แต่ปรากฎว่าก็ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก เช่น จังหวัดไซตามะ ใช้เงินลงทุนมากถึง 15 ล้านเยนในปี 2019 สำหรับระบบจับคู่ แต่ผลปรากฎว่ามีเพียง 21 คู่เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ
แต่จากการลงทุนในตัวระบบ AI จับคู่ครั้งนี้จะใช้เงินทุนมากถึง 2000 ล้านเยน และมีโอกาสที่จะสำเร็จมากถึง 60% เพื่อมาต่อสู้กับความโสดที่เพิ่มขึ้น
โฆษณา