20 ก.พ. 2021 เวลา 13:45 • ประวัติศาสตร์
#จัดงานศพให้เข็มเย็บผ้า
วันจัดงานศพให้เข็มเย็บผ้านั้นมีมาตั้งแต่ 400 ปีก่อนในแถบคันโต ซึ่งแม่บ้านทั้งหลาย รวมไปถึงคนที่ทำงานเกี่ยวกับการเย็บผ้า จะพร้อมใจกันจัดงานนี้ขึ้นมา แต่จะทำไปเพื่ออะไรนั้นอ่านเรื่องราวต่อไปนี้แล้วคุณจะเข้าใจ.
1
ตำนานเมื่อนานมาแล้ว
เมื่อราว ๆ 400 ปีก่อน มีตำนานเล่าต่อ ๆ กันมาว่า นานมาแล้ว ชาวประมงในเขต วากายามะ จะงดกิจกรรมจับปลา ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ เพื่อขอบคุณพระเจ้าแห่งท้องทะเล ด้วยการเอาเบ็ดตกปลาที่ขาดหรือแตกหักแล้วไปปักไว้ใต้มหาสมุทร
และด้วยเหตุนี้ ประเพณีดังกล่าวของชาวประมง จึงกลายมาเป็นพื้นฐาน ที่นำไปสู่ประเพณี Hari Kuyo หรือ การจัดงานศพให้กับเข็มเย็บผ้าและหมุดที่หักแล้ว ในศาลเจ้าอาวาชิมะ เพื่อรำลึกถึงจิตวิญญาณของเข็มทั้งหลาย
โดยในวันนั้น แม่บ้าน ช่างตัดเสื้อ และช่างทำทาบิ (ถุงเท้าญี่ปุ่น) รวมถึงถุงใส่ของจากผ้าและซองต่าง ๆ จะหยุดพัก 1 วัน เพื่อนำเข็มที่หักและชำรุดไปทำพิธีที่ศาลเจ้า
จิตวิญญาณ
โดยพวกเธอมีความเชื่อว่า เข็มเย็บผ้า นั้นมีจิตวิญญาณซ่อนอยู่ พวกเธอจึงนำเข็มเย็บผ้าที่ใช้การไม่ได้แล้วไปสวดมนต์ทำพิธีที่ศาลเจ้า เพื่อให้เกียรติแด่ของที่ช่วยทำมาหากิน
ซึ่งพิธีจะเริ่มต้นด้วยการนำเข็ม และหมุดเก่าไปปักไว้บนก้อนเต้าหู้นิ่ม ๆ หรือก้อนบุกก่อนจะนำไปทำพิธีสวด
เชื่อกันว่า ที่เข็มหักได้นั้นเพราะต้องทิ่มแทงลงไปในผ้าที่หนาและแข็ง หากวันสุดท้ายของการทำงาน เข็มเหล่านี้ได้พักในที่นิ่มสบาย จิตวิญญาณของพวกเขาคงจะเป็นสุข
http://www.iromegane.com/japan/culture/harikuyo-the-day-to-thank-to-the-needles/
นอกจาก พิธีกรรมนี้จะแสดงถึงความกตัญญูต่อวัตถุที่เป็นเครื่องทำมาหากินแล้ว ผู้หญิงญี่ปุ่นหลายคน ยังมองว่าวัน Hari Kuyo คือช่วงเวลาที่เราได้เห็นคุณค่า สิ่งของเล็ก ๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันที่วันหนึ่งในภายพากน่า สิ่งเหล่านั้นอาจถูกลืม
และยังรวมถึงการลำลึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผู้หญิงจะต้องแบกรับไว้ในใจ และถ่ายทองลงไปยังเข็ม ตลอดระยะเวลาการเย็บผ้าหลายชั่วโมง
ดังนั้นเข็มจึงควรได้รับคำอำลาอย่างเหมาะสม และได้พักผ่อนอย่างดี ตามที่ Ryojo Shioiri นักบวช ท่านหนึ่งได้กล่าวว่า
ความเชื่อในใจ
“หลายครั้งความเจ็บปวด ของผู้หญิงก็ไม่สามารถบอกเล่าให้กับผู้ชายฟังได้ ซึ่งพวกเธอทำได้แค่เก็บกั้นอารมณ์เหล่านั้นไว้ แล้วค่อย ๆ ปล่อยความรู้สึกทั้งหลาย ออกมาผ่าน เข็มและหมุด เพื่อขอให้เทพเจ้ากำจัดสิ่งเหล่านี้ออกไปให้”
1
ผู้หญิงญี่ปุ่นจำนวนมาก จึงไม่เพียงมาร่วมงานเทศกาลเพื่อขอบคุณเข็มของพวกเธอเท่านั้น แต่ยังมาเพื่ออธิษฐานขอให้มีทักษะในการทำกิโมโนที่ดีขึ้นด้วย
1
ซึ่งพวกเธอจะรวมตัวกันรอบ ๆ แผ่นเต้าหู้ขนาดใหญ่ที่วางอยู่ด้านหน้าวัด พร้อมด้วยเข็มหมุดหลากสีที่ถูกปักไว้ จากนั้นพวกเธอก็จะจุดธูปเพื่อสวดชำระล้าง ความทุกข์ และความทรงจำที่แย่ ๆ เหล่านั้นออกไป
ชำระล้างจิตใจ
อีกทั้งวัน Hari Kuyo ยังถือเป็นการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของญี่ปุ่น โดยจะงดเว้นเรื่องการทำงานบ้านในวันนั้นด้วย
แม้ปัจุบัน...คนที่เข้าร่วมงาน Hari Kuyo จะลดน้อยลงไปมาก เนื่องจากผู้หญิงจำนวนไม่น้อยหยุดให้ความสนใจกับงานเย็บปักถักร้อยไปเสียแล้ว
Toshie Tanioka ช่างทำชุดกิโมโน วัย 58 ปี บอกเล่าให้ได้ฟังว่า “ ฉันมาที่งานนี้กว่า 20 ปีแล้ว มันเคยใหญ่กว่านี้มาก ตอนนี้มีคนน้อยลง จะเหลือก็เพียงแค่คนชรา คนเกษียณอายุ เท่านั้นแหละที่มากัน
1
https://jonellepatrick.me/2013/02/08/funeral-for-a-pin/
เพราะคนหนุ่มสาว น้อยคนนักที่จะสนใจเทศกาลนี้ อีกทั้งปัจจุบันเด็ก ๆ ก็ต่างมองว่าการทำกิโมโนนั้นยากเกินไป พวกเขาจึงหันไปให้ความสนใจกับเสื้อผ้าแบบตะวันตกมากกว่า”
แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีหญิงสาวจำนวนไม่น้อยที่สนใจสืบสานประเพณีนี้ เช่นกัน
ฮิโรโกะไซโตะ เด็กฝึกงานวัย 30 ปีของโทชิเอะ เธอมีความหวังใจไว้ว่า “ประเพณีของญี่ปุ่นที่เป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจนี้ จะยังคงอยู่ต่อไปได้อีกนาน ๆ ”
ดังคำที่กล่าวไว้ว่า “เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง นั้นล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ ทว่า จะมาก หรือน้อยเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า….ใคร หรือผู้ใด เป็นคนให้ความสำคัญต่อสิ่งเหล่านั้น เท่านั้นเอง”
1
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย 😄
โฆษณา