25 ก.พ. 2021 เวลา 12:28 • ธุรกิจ
จีนแบนแอพ Clubhouse จากประเด็นการพูดคุยเรื่องชาวอุยกูร์ และจตุรัสเทียนอันเหมิน
Clubhouse เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ ที่จะเน้นไปที่การใช้งานการพูดคุยด้วยเสียงเป็นหลัก ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นห้องประชุมใหญ่ หรือการฟังรายการวิทยุ live ที่ผู้ฟังสามารถมีส่วนร่วมได้ด้วย ประโยชน์คือสามารถจัดกลุ่มให้คนที่สนใจในเรื่องเดียวกันเข้ามารวมตัวกันพูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
1
โดยภายในห้องจะมีคนคุม (Moderator) ที่สามารถอนุญาตให้ผู้ร่วมฟังเปิดไมค์เข้ามาสนทนากับ Host หรือพิธีกร ณ ตอนนั้นได้นั่นเอง โดยห้องจะรองรับได้มากสุดถึง 7,000 คน
ประเด็นการแบนในจีนเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจากการที่หญิงชาวอุยกูร์ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวของเธอในการที่ถูกส่งไปยังค่ายการศึกษาในเขตซินเจียงตะวันตกของจีน ซึ่งถือว่าเป็นการแชร์เรื่องราวระหว่างชาวอูยกูร์ต่อชาวจีนในกลุ่มผู้ฟังที่ใหญ่ขนาดนี้เป็นครั้งแรก
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่ายกักกันของชาวอุยกูร์
ข้อมูลที่รั่วไหลออกมา ถูกส่งให้แก่เครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ (International Consortium of Investigative Journalists--ICIJ) ซึ่งร่วมมือกับสื่อพันธมิตร 17 แห่ง รวมถึงบีบีซี พานอรามา และหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน (The Guardian) ในสหราชอาณาจักรด้วย
การสืบสวนสอบสวนได้พบหลักฐานใหม่ ซึ่งหักล้างข้ออ้างของรัฐบาลจีนที่บอกว่า ค่ายกักกันซึ่งถูกสร้างขึ้นหลายแห่งทั่วซินเจียงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาตามความสมัครใจในการต่อต้านแนวคิดสุดโต่ง
คาดว่า ผู้คนราว 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมอุยกูร์ ถูกควบคุมตัวโดยไม่มีการไต่สวน ตามอ่านต่อได้ที่สำนักข่าว bbc
สรุปง่ายๆก็คือบทสนทนาที่เกิดขึ้นกลายเป็นชาวอุยกูร์ได้แฉโรงเรียนปรับทัศนคติ ว่ามันไม่ใช่อย่างที่รัฐบาลจีนให้ข้อมูล แต่ปรากฎว่าในวันรุ่งขึ้นชาวจีนแผ่นดินใหญ่หลายคนถูกบังคับให้ล็อคเอาท์ออกจากแอพพลิเคชัน และไม่สามารถกลับเข้าสู่ระบบได้อีกเลย
นอกจากนี้ยังมีห้องสนทนาที่ได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเปิดเผยการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินไปจนถึงการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยของฮ่องกง และความสัมพันธ์ข้ามระหว่างจีนและไต้หวัน
Clubhouse จะกลายเป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพในการพูด?
แอพเปิดตัวในเดือนเมษายนปี 2021 โดยเปิดให้ผู้ใช้งาน IOS เท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วช่วงแรกมีการเติบโตที่ค่อนข้างช้ามากเนื่องจากเนื่องจากการใช้งานแอพได้ต้องเป็นการเชิญจากผู้ใช้ก่อนเท่านั้น แต่แอพมาบูมหลังจากที่ทั้ง Elon Musk และ Mark Zuckerberg เข้าใช้งาน และประเทสที่มีการใช้งานที่เติบโตอย่างรวดเร็วคือจีน ฮ่องกง และไต้หวัน
ตัวแอพดูเหมือนจะแสดงจุดยืนเป็นพื้นที่ของเสรีภาพ และการแสดงความเห็น แต่จริงๆแล้วอาจจะไม่ใช่แบบนั้น รูปแบบการพูดคุยในแอพจะเป็นการพูดคุยในทางเดียวซะมากกว่าอย่างเช่นเรื่องการเมืองในจีนก็จะเป็นการคุยกันระหว่างฝ่ายการเมืองหนึ่งของจีน แต่ไม่เกิดการถกเถียงกันในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ เพราะในห้องพูดคุยก็มีจีนฝ่ายหนึ่งอยู่ฝ่ายเดียว เพราะอย่าลืมว่าการเปิดห้องก็จะมีการตั้งชื่อห้องที่ชัดเจนอยู่ก่อนเสมอ คงยากที่จะมีคนที่เข้าไปห้องนั้นเพื่อเปิดประเด็นถกเถียงกันจริงๆ
แม้ว่าแอพจะไม่ได้ทำให้เกิดการดีเบต แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างความคิดเห็น 2 ฝ่ายได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้คนได้แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความคิดออย่างอิสระมากขึ้น อย่างในจีนถึงขนาดมีผู้ใช้งานนอนไม่หลับเพราะกลัวว่าวันรุ่งขึ้นจะถูกแบน(สุดท้ายก็โดนแบนจริงๆ)
สำหรับประเทศไทยคงต้องมาติดตามต่อว่ามุมมองของรัฐบาลต่อแอพพลิเคชันยอดนิยมอย่าง Clubhouse จะเป็นอย่างไร
Credict pic: (Reuters: Florence Lo)
โฆษณา