2 มี.ค. 2019 เวลา 02:09 • ธุรกิจ
ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 5 : The Meaning of Life
ความหมายของชีวิตคืออะไร? สำหรับ มัสก์ มันแทบจะเป็นคำถามของเขามาตั้งแต่เด็กเลยก็ว่าได้ มันเกิดจากช่วงชีวิตวัยเด็กของเขาที่แทบจะเป็นวิกฤติสำหรับชายอย่าง อีลอน มัสก์ ซึ่งกว่าที่เขาจะผ่านพ้นช่วงนั้นมาเริ่มชีวิตใหม่ในประเทศแคนาดา มันก็เป็นช่วงเวลายาวนานสำหรับเขา
ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 5 : The Meaning of Life
มัสก์นั้นอ่านหนังสือมามากมาย ซึ่ง หนังสือเกี่ยวกับปรัชญานั้น เขาก็เป็นคนหนึ่งที่อ่านมาหลายเล่มมาก มันไม่ควรเป็นหนังสือที่เด็กน้อยอย่างมัสก์อ่านเลยตอนยังเยาววัย
หนึ่งในหนังสือเชิงปรัชญาที่เขาชอบมากที่สุดคือ The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy โดย Douglas Adams ซึ่งเป็นหนังสือที่เสนอมุมมองเชิงปรัชญาในหลาย ๆ ด้าน เนื้อหานั้นเป็นเหมือนการรวมเอาหนังสืออย่าง Monty Python และ Star Wars มารวมกัน
หนังสือ The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy
สิ่งสำคัญที่ มัสก์ ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้คือ แนวคิดในการตั้งคำถามกับสิ่งต่าง ๆ มนุษย์ทุกคนนั้นมักจะมีคำถามอยู่เสมอ หากไม่เข้าใจในสิ่งใด ซึ่งเหมือนมัสก์ ที่กำลังตั้งคำถามกับชีวิตตัวเอง ว่าความหมายในการคงอยู่ของชีวิตเขานั้นมีไว้เพื่ออะไร?
ตอนที่เขาเรียนอยู่ University of Pennsylvania นั้น เขาได้เริ่มตั้งคำถามว่าอะไรที่เป็นสิ่งที่ผลกระทบมากที่สุดต่ออนาคตของมนุษย์เราในวันข้างหน้า?
ทำไมเขาจึงต้องคำถามเหล่านี้ ส่วนนึงก็มาจากหนังสือนวนิยายที่เขาชอบอ่านของ Isaac Asimov ซึ่งเป็นหนึ่งในนักเขียนในดวงใจของมัสก์เลยก็ว่าได้ ซึ่งนวนิยายวิทยาศาสตร์ของ Isaac Asimov นี่เองเป็นแรงบัลดาลใจให้มัสก์คิดเรื่องใหญ่ ๆ ที่ผลกระทบต่อโลกเราที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
หลาย ๆ ไอเดียของมัสก์ ก็มาจากนวนิยายของ Asimov เนี่ยแหละ แต่เขาไม่ได้คิดแบบเพ้อฝันแบบนวนิยาย เขาคิดโดยพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมที่เขาได้ร่ำเรียนมา ทั้งเรื่องของกระสวยอวกาศ หรือ เรื่องพลังงานที่จะใช้ขับเคลื่อนมัน มัสก์ เปรียบเทียบกับความเป็นจริงอยู่เสมอโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคิด
หลายแนวคิดของ มัสก์ ได้มาจากนวนิยายของ Isaac Asimov
มี 3 สิ่งที่มัสก์ นั้นคิดเสมอว่าจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่ออนาคตของมนุษย์เรามากที่สุด สิ่งแรกนั้นคือ อินเตอร์เน็ต ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปยังผู้ใช้งานทั่วโลกในขณะนั้น สิ่งที่สองก็คือ พลังงานที่ยั่งยืน และสิ่งสุดท้ายก็คือการสำรวจอวกาศ
มันเป็น 3 สิ่งหลักที่อยู่ในใจมัสก์เสมอ สิ่งที่ impact ต่อโลกเราในอนาคตอย่างแน่นอน แต่มัสก์ ก็ไม่ได้มีเพียงแค่ 3 ไอเดียดังกล่าวเท่านั้น เขายังคิดถึงเรื่อง Artificial intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ และ ความรู้ด้านชีววิทยา เช่น การถอดรหัส DNA ของมนุษย์ที่เขามองว่าตอนนี้เทคโนโลยีที่มีอยู่นั้นยังไม่สมบูรณ์นัก มันยังมีความผิดพลาดอยู่อีกมาก เขาเปรียบเทียบการพยายามทำการอ่านรหัส DNA ของมนุษย์นั้นก็เปรียบเสมือนการอ่าน code ดี ๆ นี่เองซึ่งมักจะมี error อยู่เสมอ
สำหรับโลกของ อินเตอร์เน็ตนั้น มัสก์ ได้เริ่มใช้งานแบบจริง ๆ จัง ๆ เมื่อตอนเรียนในสาขาฟิสิกส์ ซึ่งเขาต้องใช้ อินเตอร์เน็ตในการค้นคว้าหางานวิจัย ตอนนั้นคือปี 1994 เขามองเห็นศักยภาพของอินเตอร์เน็ตทันที และคิดว่าอินเตอร์เน็ตมันต้องเปลี่ยนโลกได้อย่างแน่นอน
3
ช่วงที่มัสก์เริ่มใช้งานอินเตอร์เน็ตมันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน เดิมนั้นโลกของการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ต้องพึ่งพาห้องสมุดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ อินเตอร์เน็ตมันได้เปลี่ยนโลกของข้อมูลข่าวสารทั่วโลกทั้งหมดให้มาสู่ที่ปลายนิ้วเพียงเท่านั้น
ในวัยเด็กนั้น การที่จะหาข้อมูลต่าง ๆ แบบที่หาได้ใน wikipedia.org ในปัจจุบันนั้น ต้องอ่านผ่าน encyclopedias เล่มหนาเต๊อะ ต่างจาก wikipedia ในโลก อินเตอร์เน็ตที่มีการอัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทันสถานการณ์อยู่ตลอด ต่างจากการอ่าน encyclopedias ที่มีการอัพเดทข้อมูลอย่างเร็วที่สุดปีละครั้งเพียงเท่านั้น
1
ส่วนเรื่องพลังงานที่ยั่งยืนนั้น มัสก์ เติบโตขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งพบปัญหากับวิกฤติทางด้านพลังงานอยู่บ่อยครั้ง บางครั้งปัญหาน้ำมันซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักที่สำคัญที่สุดของแอฟริกาใต้ หนักหนาถึงขั้นที่ว่าในประเทศแอฟริกาใต้มีพลังานเหลือให้ประชากรใช้ได้เพียงอาทิตย์เดียวเท่านั้น
และไม่ใช่แค่เฉพาะเรื่องในแอฟริกาใต้เท่านั้น แนวคิดเรื่องพลังงานที่ยั่งยืนนั้น มาจากหนังสือนวนิยายของ Isaac Asimov นักเขียนคนโปรดของเขาอีกด้วย มัสก์ นั้นมองปัญหาใหญ่ ๆ อยู่สม่ำเสมอ เรื่องพลังงานนั้นเป็นปัญหาใหญ่ของโลก
ซึ่งมัสก์นั้นคิดว่าโลกเรามีความเป็นไปได้ที่ แหล่งพลังงานและแหล่งอาหาร นั้นจะอยู่ได้อีกไม่กี่สิบปี หากไม่ทำอะไรซักอย่าง มันจะเป็นปัญหาระดับโลกในอนาคต มันอาจจะส่งผลให้ เกิดความตื่นตระหนกวุ่นวายกันทั่วโลกเมื่อถึงเวลานั้นจริง ๆ การใช้ความรุนแรง การปล้น นั้นจะกลายเป็นทางเดียวที่มนุษย์จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้
ซึ่งในนวนิยายของ Asimov ก็มีการกล่าวถึงในเรื่องทำนองนี้เหมือนกัน มันอาจจะเกิดสงครามระหว่างประเทศ เพื่อแย่งชิงทรัพยากร โดยเฉพาะด้านพลังงานและอาหาร และเมื่อนั้นอาจจะมีสงครามนิวเคลียร์เกิดขึ้นจริงก็ได้
มัสก์ ได้กล่าวถึงการบริโภคพลังงานของมนุษย์เราในยุคปัจจุบัน นั้นสูงขึ้นกว่า 9 เท่า เมื่อเทียบกับในยุคปี 1850 หากไม่แก้ปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจรัง มันก็จะเกิดปัญหาระดับโลกได้ กระบวนการผลิตน้ำมันมันนั้นก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ
Peak Oil คือ จุดที่การผลิตน้ำมันดิบอยู่ในอัตราสูงสุด ซึ่งเจ้าขอทฤษฏี Peak Oil คือ ดร.เอ็ม คิง ฮับเบิร์ต นักธรณีวิทยาชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี 1956 เขาได้พยากรณ์ไว้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐอเมริกาจะถึงจุดสูงสุดในช่วงต้นทศวรรษ 1970 เลยจากจุดนั้นปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้จะลดลงเรื่อย ๆ
กราฟแสดง ทฤษฏี Peak Oil
ซึ่งพยากรณ์ดังกล่าวของ ดร.ฮับเบิร์ต นั้นเป็นจริง ถึงแม้ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐ ขึ้นถึงจุดสูงสุดในทศวรรษ 1970 หลังจากนั้นก็ลดต่ำลงมาโดยตลอด จึงมีผู้นำทฤษฏี Peak Oil ไปใช้ทำนายแนวโน้มการผิลตน้ำมันดิบของโลกจะลดลง เพราะไม่มีแหล่งน้ำมันดิบใหม่ที่คุ้มค่าในการผลิต ขณะเดียวกัน ความต้องการใช้เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น
ซึ่งมัสก์ นั้นก็เป็นคนสนใจในทฤษฏีดังกล่าวนี้เป็นอย่างมาก เขาคาดการณ์ว่า Peak Oil จะเกิดขึ้นในปี 2020 และน้ำมันจะเริ่มหมดไปในช่วงปี 2050 โลกเรานั้นใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนโดยเฉลี่ยต่อวันสูงถึง 87 ล้านบาร์เรล ในปี 2010 ซึ่งมันทำให้เราจะมีน้ำมันใช้จนถึงแค่เพียง 40 ปีเท่านั้น
1
แนวคิดสำคัญของมัสก์ ก็คือ ก่อนที่น้ำมันจะหมดโลก เราควรที่จะเก็บมันไว้ใช้ในอนาคต ในวันที่เราต้องการใช้มันจริง ๆ มากกว่า ในเมื่อในตอนนี้ เราสามารถใช้พลังงานทางเลือกอื่น ๆ ได้อยู่ มันไม่มีเหตุจำเป็นใด ๆ ที่เราต้องนำน้ำมันที่กำลังจะหมดไปมาใช้ให้หมดในยุคของเราแบบทันที
เรื่องของน้ำมันที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นเป็นเรื่องนึงที่มัสก์ ใส่ใจ แต่อีกประเด็นเขาก็ยังสนใจประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหานี้ คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม เขามองว่าโลกที่ไม่ใช่พลังงานจากน้ำมันเหล่านี้นั้น จะเป็นโลกที่สะอาดขึ้น ปัญหาใหญ่คือเรื่องก๊าซ CO2 ที่ถูกปล่อยออกมามากขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาโลกร้อนที่จะเกิดกับโลกเราในอนาคต
ส่วนอีกเรื่องที่มัสก์ สนใจนั้นคือ การอพยพ ย้ายไปอยู่ในดาวดวงอื่นนั้น หลายคนอาจจะมองเป็นสิ่งที่เพ้อฟัน เป็นเรื่องในนวนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ มัสก์ นั้นก็มองว่า ทุกเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นบนโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสื่อสาร การแพทย์ หรือ อาวุธสงครามต่าง ๆ นั้น ล้วนเกิดจากจินตนาการที่เคยเป็นเรื่องที่เพ้อฟันแทบจะทั้งสิ้น
ความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ทั้งเรื่องปัญหาโลกร้อน หรือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโลกใบนี้จะอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่ มัสก์มองว่ามันเป็นการเตรียมตัวรับอนาคตที่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น
เขาได้กล่าวถึง หากมนุษย์เราสามารถที่จะมีชีวิตในดาวดวงอื่นได้ เราก็ต้องเรียนรู้ให้ลึกซึ้งเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศ และ รู้จักที่จะทำให้มันเกิดความสมดุล ไม่งั้นมันสุดท้ายมันก็จะกลายสภาพให้เป็นโลกเราที่เห็นในปัจจุบันอยู่ดี
แนวคิดเรื่องการย้ายไปดาวดวงอื่น ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน
ซึ่งสุดท้ายคิดเสมอว่า โครงการด้านอวกาศใหม่ ๆ นั้นถือเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญให้กับมนุษย์โลก ซึ่งการที่เขาได้สร้างบริษัทอย่าง spaceX ขึ้นมาในภายหลังนั้น มันถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่ ต่อยุคใหม่ของเทคโนโลยีทางด้านอวกาศ ซึ่งอาจจะทำให้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์เราไปตลอดกาลก็เป็นได้
อ่านตอนที่ 6 : The Outsider
Credit แหล่งข้อมูลบทความ
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา