17 มี.ค. 2019 เวลา 08:23 • ธุรกิจ
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ดีจริงหรือ ?
.
หลังจากที่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่าน มีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งออกมาเสนอนโยบายให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2562 ขึ้นไปเป็น 400 - 425 บาทต่อวันนั้นก็ได้เกิดกระแสตอบโต้มากมายทั้งจากรัฐบาลและจากฝั่งเอกชน ส่วนตลาดหุ้นเองก็ตอบสนองในทางลบ เกิดแรงขายทันทีจากหุ้นในกลุ่มที่อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการขับเคลื่อนตัวธุรกิจ
4
.
การปรับค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละครั้งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น รับเหมาก่อสร้าง อุตสาหกรรมโรงงานขนาดใหญ่ที่ยังพึ่งพากำลังคน อุตสาหกรรมเครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งทอ ภาคการเกษตร และกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SME)
2
.
แต่ก็ให้เกิดผลบวกกลับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรมกรรมค้าปลีก และภาคบริการต่างๆด้วย
.
ในทางเศรษฐศาสตร์ การขึ้นค่าแรงมีผลดีผลเสียอย่างไร เราจะมาอธิบายให้ฟัง ...
1
.
ในวงการเศรษฐศาสตร์เอง การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันอย่างเผ็ดมันมาเป็นเวลานานหลายสิบปีไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อัตราว่างงานต่ำ ช่วงหาเสียง และช่วงที่สังคมเริ่มไม่ทนกับระดับความเหลื่อมล้ำทางรายได้
.
ผลลัพธ์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในสาขาเศรษฐศาสตร์แรงงานทำนายไว้สามอย่างหลักๆ
 
.
1. ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้วบริษัทอาจ “โละ” แรงงาน เกิดการจ้างงานน้อยลง ประมาณว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นการไป “รบกวน” กลไกธรรมชาติของอุปสงค์อุปทาน  ในตอนแรกที่บริษัทให้คุณค่ากับแรงงานทักษะต่ำแค่ 300 บาทต่อวัน  พรุ่งนี้กลับต้องจ่ายมากขึ้นโดยฉับพลันทั้งๆ ที่ทักษะของแรงงานกลุ่มนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้น  ส่วนจะโละมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่ด้วยว่าบริษัทที่สามารถพลิกแพลงโมเดลธุรกิจและปัจจัยการผลิตได้รวดเร็วแค่ไหน  หากทำได้รวดเร็วจะเกิดทำการโยกย้ายเงินก้อนที่ปกติเคยเอามาจ้างแรงงานทักษะต่ำ ก็เอาไปจ้างแรงงานทักษะสูง ซื้อหุ่นยนต์ทำ automation เพิ่ม หรือไป outsource ด้วยวิธีอื่นๆ แทน  ยิ่งบริษัทส่วนมากสามารถปรับตัวได้รวดเร็วก็จะมีการโละแรงงานให้เห็นกันมากขึ้น  
 
.
2.. แต่การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็สามารถทำให้แรงงานจำนวนมากมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นได้  ซึ่งก็ไม่ได้เป็นที่น่าแปลกใจนักเพราะมันเป็นสิ่งที่นโยบายมุ่งเน้น (แต่ต้องเน้นว่าสำหรับแรงงานที่ยังไม่โดน “โละออก”นะครับ) อีกทั้งยังสามารถทำให้ช่วยผ่อนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ลงไปได้บ้าง รวมทั้งยังทำให้เกิดกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ภาคการค้าปลีก และภาคบริการ มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
 
.
3.. ในเซ็กเตอร์ที่มีการแข่งขันสูงในตลาดแรงงาน (มีนายจ้างแข่งกันจำนวนมากๆ) การไปขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลให้เกิดการดันราคาสินค้าให้สูงขึ้น แต่ในตลาดแรงงานที่ไม่ค่อยมีการแข่งขันนัก (มีนายจ้างผูกขาดแค่ไม่กี่ราย) การชึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีโอกาสทำให้ราคาสินค้าต่ำลงได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าในบริบทของเมืองไทยว่าเซ็กเตอร์ที่ถูกกระทบมากที่สุดมีระดับการแข่งขันมากแค่ไหนในตลาดแรงงานนั้นๆ
5
.
ที่จริงยังมีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้อื่นๆ อีกมาก เช่น
- บริษัทอาจประหยัดทำการลดแพคเกจสวัสดิการพนักงาน
- ค่าแรงที่สูงขึ้นอาจทำให้นักเรียนบางกลุ่มออกมาทำงานกลางคันแล้วไม่จบการศึกษา
- นักลงทุนไทย และต่างประเทศย้ายฐานการผลิต แรงงานต่างด้าวไหลเข้าประเทศ
- อัตราเงินเฟ้อ และราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะต้องเตรียมรับมือ
.
มีการศึกษาหลังปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทครั้งล่าสุดที่ผ่านมาในประเทศไทย
โดย ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ จากธนาคารโลก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://thaipublica.org/2016/11/pier-14/
.
พบว่าการปรับขึ้นอย่างฉับพลันและสูงมากอาจไม่ได้หอมหวานขนาดนั้นในกรณีไทย เนื่องจาก:
 
.
1. การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้จริง แต่แรงงานกลุ่มรายได้ต่ำสุด 10 เปอร์เซ็นต์ของประเทศกลับไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น  อาจเป็นที่ช่องโหว่ทางกฎหมาย
 
.
2. มีผลเสียทำให้มีประชากรออกจากกำลังแรงงานมากขึ้นจริง โดยกลุ่มคนที่ถูกกระทบมากที่สุดคือกลุ่มคนช่วงอายุ 15 ถึง 24 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์ทำงานน้อย
 
.
3. แรงงานกว่า 60% ที่ทำงานในกิจการขนาดย่อมได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่กำหนดไว้
 
.
หากเรายังมีหลักฐานน้อยเกินไปกว่าที่จะบุ่มบ่ามปรับค่าแรงขั้นต่ำอย่างฉับพลันและปรับในอัตราสูง  และที่จริงแล้วมันเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้น เพราะเป้าหมายสูงสุดของเราไม่ใช่การบังคับแบบ command and control ให้เกิดงานทักษะต่ำจำนวนมากขึ้นเพียงเพื่อที่จะให้แรงงานไทยทักษะต่ำยังชีพได้  เราต้องการให้พวกเขามีทักษะที่ดีขึ้น เพื่อที่เขาจะได้มีโอกาสได้งานที่สร้างผลิตผลมากขึ้น จำเจน้อยลง และทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นไปตามลำดับต่างหาก
 
.
หากมองให้ลึกลงไป จะพบว่ามีแรงงานจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบาย ซึ่งเห็นได้จากการบังคับใช้กฎหมายที่ยังมีปัญหาอยู่มาก นอกจากนั้น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอัตราที่สูงมาก ๆ แบบฉับพลัน มีโอกาสเกิดผลเสีย โดยเฉพาะสำหรับภาคธุรกิจที่ไม่เข้มแข็งพอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดย่อม และ เอสเอ็มอี ในส่วนของแรงงาน
1
.
สิ่งที่เกิดขึ้นคือจะมีกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบ โดยถูกเลิกจ้าง หรือถูกผลักไปสู่สภาพการทำงานที่แย่ลง และไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลตามกฎหมาย คือกลุ่มแรงงานทักษะต่ำที่มีประสบการทำงานไม่มากนัก
.
สรุปแบบสั้นๆ ก็คือการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสามารถส่งได้ทั้งผลดีและผลเสียต่อสังคม  ท้ายสุดแล้วคำทำนายจากทฤษฎีเหล่านี้จะต้องถูกพิสูจน์ด้วยข้อมูลในระบบเศรษฐกิจจริง ว่าโดยรวมแล้วมันเทไปทางบวกหรือลบ
.
หากจะเกิดขึ้นจริงก็ขอให้ผู้มีอำนาจศึกษาผลกระทบทั้งข้อดี และข้อเสีย จากนโยบายนี้ให้ละเอียดเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ และสร้างผลกระทบทางลบต่อภาคธุรกิจให้น้อยที่สุด
.
ไม่ใช่แค่เพียงอีกหนึ่งนโยบายประชานิยม ที่ออกมาประกาศในช่วงโค้งสุดท้ายในการเลือกตั้งที่กำลังใกล้เข้ามา เพื่อสร้างโอกาสทางการเมืองของฝ่ายตนเองให้มีมากขึ้นเพียงอย่างเดียว..
ขอ 1 ไลค์ 1 แชร์สำหรับความรู้ดีๆแบบนี้
✨สนใจเรียนรู้เรื่องการลงทุนแอดมาเลยครับ ทุกอย่างฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย^^
Line ID: @BestCom (มีตัว@ด้วยนะครับ)
หรือคลิ๊กมาเลยที่: http://line.me/ti/p/@ldj3404k
1
โฆษณา