22 เม.ย. 2019 เวลา 14:25 • ธุรกิจ
BRAND PORTFOLIO ธุรกิจอาหารแสนล้าน
.
เมืองไทยได้ชื่อว่าเป็นสวรรค์อาหารการกินแห่งหนึ่งของโลก เพราะมีตั้งแต่ร้านสตรีทฟู้ด ร้านในศูนย์การค้า ไปจนถึงร้านหรูตามย่านธุรกิจ-ย่านท่องเที่ยวต่างๆ ทำให้ตลาดร้านอาหารในไทย มีมูลค่าสูงถึง 400,000 กว่าล้านบาท โดยในจำนวนนี้ มาจาก Key Chain Restaurants 140,000 ล้านบาท !!
1
.
กลยุทธ์สำคัญของการเป็นผู้เล่นใน Food Chain Industry คือ ต้องมี “Brand Portfolio” ที่แข็งแกร่ง เพราะเป็นหัวใจที่ตอบโจทย์ “การเติบโตด้านผลประกอบการ” ขององค์กร ขณะเดียวกันเพิ่มโอกาส “เข้าถึงผู้บริโภค” หลากหลายกลุ่ม และเข้าไปอยู่ใน “ช่วงเวลาของการรับประทานอาหาร” ของผู้บริโภค ไม่ว่าจะมื้อหลัก หรือมื้อรอง
.
เมื่อพูดถึงผู้เล่นรายหลักใน Food Chain Industry ในไทย ต้องยกให้กับ 3 Major Players ที่แต่ละค่ายมีรายได้ไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นล้านบาท ประกอบด้วย “CRG” (Central Restaurants Group) ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล / “MK Restaurants Group” / “Minor Food” ในเครือ Minor International
เราเจาะลึกกลยุทธ์ของ 3 ค่ายใหญ่กัน
“CRG” หรือ (Central Restaurants Group) ยักษ์ใหญ่ Food Chain Industry ประเทศไทย กำลังเดินหน้าเติมเต็ม Brand Portfolio เต็มสรรพกำลัง ซึ่งถือหุ้นโดย “CENTEL” หรือ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) 100 %
.
โดยสิ่งที่สร้างแต้มต่อให้กับ “CRG” ในการรุกตลาดร้านอาหาร คือ 1. อยู่ในกลุ่มเซ็นทรัล กรุ๊ป ที่ทำธุรกิจศูนย์การค้า / 2. มีฐาน Big Data จากระบบ CRM เช่น The 1 Card ทำให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ รู้ถึงเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ และความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม / 3. ใช้พลัง Synergy กลุ่มธุรกิจในเครือ
.
“CRG” วางยุทธศาสตร์ไว้ชัดเจนว่าต้องการเป็น “Multi-large Brand Portfolio” โดยเซ็กเมนต์ร้านอาหารที่ CRG จะเข้าไปลงทุน ต้องเจาะกลุ่ม Mass Target ถ้าเป็นเซ็กเมนต์เล็ก หรือ Niche Market จะไม่เข้าไป เนื่องจากต้องการขยายสาขาให้ได้มาก และตั้งเป้าเป็นผู้นำในเซ็กเมนต์ที่เข้าไปทำตลาด
.
ทำให้ที่ผ่านมา “CRG” เดินหน้าเสริมทัพพอร์ต โดยปัจจุบันมีร้านอาหารในเครือ 11 แบรนด์ มีทั้งกลุ่ม Casual Dining และ QSR โดยครอบคลุมทั้งมื้อหลัก และมื้อรอง ได้แก่ มิสเตอร์โดนัท, เคเอฟซี, อานตี้ แอนส์, เปปเปอร์ ลันช์, ชาบูตง, โคลสโตน ครีมเมอรี่, เดอะ เทอเรส, โยชิโนยะ, โอโตยะ, เทนยะ, คัตสึยะ
.
บวกกับอีก 1 แบรนด์ คือ เฟซท์ไอศกรีม (ผลิตโดย CRG Manufacturing บริษัทในกลุ่ม CRG) เป็นแบรนด์ไอศกรีมพรีเมียมเจาะตลาด B2B เช่น โรงแรม, ร้านอาหาร และทำตลาด B2C ขายผ่านช่องทาง Modern Trade
.
Minor Food” อีกหนึ่งพี่ใหญ่ธุรกิจ Food Chain Industry
.
ถ้าพูดถึงค่ายที่ใหญ่สุดในธุรกิจ Food Chain Industry ประเทศไทย คงต้องยกให้กับ “Minor Food” กลุ่มบริษัทธุรกิจอาหารในเครือ Minor Group มีสาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกันไม่ต่ำกว่า 2,064 สาขา ในจำนวนนี้เป็นตลาดประเทศไทย 1,341 สาขา
.
จะสังเกตได้ว่า Brand Portfolio ของ “Minor Food” ที่ทำตลาดในไทย มีทั้ง Casual Dining เช่น ซิซซ์เลอร์ และร้านเดอะ พิซซ่า คอมปะนี ขณะเดียวกันมีกลุ่มอาหารและของหวานบริการด่วน (QSR) เพื่อตอบโจทย์ความสะดวก และรวดเร็ว คือ เบอร์เกอร์ คิง, แดรี่ ควีน
1
.
โดยแบรนด์ที่ทำยอดขายเป็นอันดับ 1 ยังคงเป็น “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” ส่วนอันดับ 2 คือ “สเวนเซ่นส์”
.
“MK Restaurants” โตด้วยสองแนวรบที่แข็งแกรง “MK Suki – Yayoi”
จากร้านสุกี้หม้อไฟฟ้าสาขาแรกที่เซ็นทรัล ลาดพร้าวเมื่อกว่า 32 ปีที่แล้ว…มาวันนี้ร้านสุกี้เอ็มเค เติบโตเป็นอาณาจักร “บมจ. เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป” (MK Restaurants Group) หรือ “เอ็มเค กรุ๊ป” ปัจจุบันมี 9 แบรนด์ รวม 642 สาขาในไทย
แบรนด์ “เอ็มเค” ประกอบด้วย เอ็มเค ,สุกี้ เอ็มเค โกลด์, เอ็มเค ไลฟ์
.
“ร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิ” “ร้านอาหารญี่ปุ่นมิยาซากิ” “ร้านอาหารญี่ปุ่นฮากาตะ”
.
“ร้านอาหารไทยเลอ สยาม” “ร้านอาหารไทย ณ สยาม”
.
“ร้านกาแฟ-เบเกอรี่เลอ เพอทิท”
.
โดยสัดส่วนรายได้ มาจาก “สุกี้” 78 % ตามมาด้วย “ยาโยอิ” 19% และอื่นๆ 3%
ปัจจุบันนอกจาก 3 ก๊กในธุรกิจ Food Chain Industry แล้ว ยังมีอีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ คือ “กลุ่มไทยเบฟ”และกลุ่ม “ZEN” ที่กำลังขยายสาขาและทำ M&A ควบรวมแบรนด์ที่น่าสนใจเพื่อให้ธุรกิจเติบโตและแข็งแกร่ง
1
.
เกมการแข่งขันของ “ธุรกิจอาหาร” ในไทย ทิศทางนับจากนี้ไป จะแข่งในด้าน “Brand Portfolio” ใครแข็งแกร่ง มีสาขาครอบคลุม และมีบริการ Online Delivery ย่อมได้เปรียบ
.
และมีโอกาสที่จะเป็นผู้ชนะได้ในอนาคตอันใกล้
✨สนใจเรียนรู้เรื่องการลงทุนแอดมาเลยครับ ทุกอย่างฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย^^
Line ID: @BestCom (มีตัว@ด้วยนะครับ)
หรือคลิ๊กมาเลยที่: http://line.me/ti/p/@ldj3404k
โฆษณา