7 พ.ค. 2019 เวลา 11:06 • ธุรกิจ
กลยุทธ์ ซุนจื่อ ฉบับ ใช้งานจริง (Strategy in Action)
พิชัยสงครามการรบ พิชิตสงครามการค้า
ตอนที่ 3/13 (การวางแผนโจมตี)(Marketing Plan)
3kokstartup
บทที่ 3 การวางแผนโจมตี
ซุนวูกล่าวว่า การทำสงครามแบบมิต้องทำลายบ้านเมืองข้าศึกเลยนั้นนับว่าประเสริฐยิ่ง
รองลงมาคือแย่งชิงมาโดยไม่ต้องทำลายกองพล
รองลงมาอีกคือแย่งชิงมาโดยไม่ต้องทำลายกองพัน
เลวร้ายกว่านั้นก็อย่าให้ถึงขั้นทำลายกองร้องหรือกระทั่งหมวดหมู่
ด้วยเหตุนี้การรบร้อยครั้งชนะร้องครั้ง จึงหาใช่วิธีการอันประเสริฐสุด
แต่การมีชัยโดยไม่ต้องรบเลยต่างหากที่เป็นวิธีอันวิเศษยิ่ง
 
กลยุทธ์การทำสงครามที่ดีที่สุดคือใช้กลอุบาย
รองลงมาคือใช้การทูต
1
รองลงมาอีกขั้นคือ ใช้กำลังทหาร
และเลวร้ายที่สุดคือต้องเข้าโจมตีค่ายศัตรู
อันว่าการยกพลเข้าตีข้าศึกนั้น ควรใช้เฉพาะยามจำเป็นเท่านั้น
นักการทหารที่ทำให้ข้าศึกยอมแพ้ได้โดยไม่ต้องสู้รบ ก็ย่อมยึดเมืองข้าศึกได้โดยไม่ต้องเข้าล้อมตี ทำลายประเทศของข้าศึกได้โดยไม่ต้องใช้เวลานาน
เมื่อไพร่พลไม่บอบช้ำประโยชน์ที่ได้คือชัยชนะที่สมบูรณ์แบบ นี่คือหลักการแห่งการโจมตี
 
หลักแห่งการสงครามมีอยู่ว่า
หากมีกำลังเหนือกว่าข้าศึกสิบเท่า พึ่งปิดล้อม
หากมีกำลังเหนือกว่าข้าศึกห้าเท่า พึงโจมตี
หากมีกำลังเหนือศัตรูสองเท่า พึงแยกกำลังแล้วเข้าโจมตี
เมื่อกำลังเท่ากัน หากรบได้ก็พึงรบ
หากกำลังน้อยกว่า หลีกได้ก็พึงหลีก
หากกำลังอ่อนแอกว่า เลี่ยงได้ก็พึงเลี่ยง
หากกองทัพเล็กแล้วยังมิอ่อนข้อ ทัพนั้นย่อมต้องตกเป็นเชลยศึกของกองทัพใหญ่
 
อันแม่ทัพก็ดุจหลักชัยของประเทศ
หากหลักชัยมีคุณสมบัติครบถ้วน ประเทศย่อมเข้มแข็ง
หากคุณสมบัติบกพร่อง ประเทศย่อมอ่อนแอ
ประมุขมักทำความเสียหายให้การทหารได้สามประการ
คือไม่เข้าพระทัยว่ากองทัพเคลื่อนกำลังรุกไปไม่ได้ แต่กลับรับสั่งให้รุก
หรือเมื่อกองทัพถอยไม่ได้ แต่กลับรับสั่งถอย เช่นนี้เรียกว่ากีดขวางการปฏิบัติทางทหาร
ไม่รู้เรื่องของสามทัพ แต่เข้าสอดแทรกกิจการของสามทัพ แม่ทัพนายกองก็สับสน
ไม่รู้อำนาจของสามทัพ แต่เข้าสอดแทรกกิจการของสามทัพ แม่ทัพนายกองก็สงสัย
เมื่อเหล่าทหารสับสนและลังเล ประมุขแคว้นอื่นย่อมนำภัยมา
นี่เรียกว่ากองทัพที่สับสน และลังเลจะทำให้ศัตรูมีชัย
มีปัจจัยห้าประการที่จะหยั่งรู้ถึงชัยชนะได้ นั่นคือ
ฝ่ายใดรู้ว่าเมื่อใดที่รบได้และเมื่อใดที่รบไม่ได้ ฝ่ายนั้นจักชนะ
ฝ่ายใดรู้ว่าจะใช้กองทัพขนาดใหญ่และเล็กในสภาวะอย่างไร ฝ่ายนั้นจักชนะ
ฝ่ายใดสามัคคีกันทั้งผู้นำและผู้ใต้บังคัญบัญชา ฝ่ายนั้นจักชนะ
ฝ่ายที่เตรียมพร้อมแล้วรอโอกาสบุก ฝ่ายที่ไม่เตรียมพร้อม ฝ่ายนั้นจักชนะ
ฝ่ายที่แม่ทัพมีความสามารถและไม่ถูกประมุขแทรกแซง ฝ่ายนั้นจักชนะ
หลักห้าประการนี้คือวิธีหยั่งรู้ชัยชนะ จึงกล่าวได้ว่า
หากรู้เขาและรู้เรา รบร้อยศึกย่อมมิรู้พ่าย
หากรู้เรามิรู้เขา ชนะหนึ่งพ่ายหนึ่ง
แต่หากมิรู้เขารู้เรา ก็ย่อมแพ้พ่ายปราชัยไปทุกศึก
ตีความโดย 3 kokstartup
บทที่ 3
การวางแผนโจมตีนั้น เป็นบทที่ซุนจื่อบอกถึงหนทางที่จะชนะนั้นมีด้วยกันหลายวิธี วิธีที่ดีที่สุดคือการชนะโดยไม่ต้องรบ
อ่านมาถึงตรงนี้ผู้อ่านอาจจะงงว่า อ้าวไม่รบแล้วจะชนะได้อย่างไร ??
จึงต้องขออธิบายว่าหลักการนี้เป็นหลักการเดียวกันกับทฤษฏีเกมร์ครับ
อย่างที่ซุนจื่อได้เกริ่นไว้ในบทที่ 1 แล้วว่า เมื่อประเมินสถานะการณ์อย่างดีแล้วชัยชนะย่อมรู้ผลได้ตั้งแต่ยังไม่รบ
นี่คือความล้ำลึกของซุนจื่อครับ
กลยุทธ์ธุรกิจในปัจจุบันจะมุ่งเน้นไปที่การรบการแข่งขันกันโดยตรง
แต่ของซุนจื่อนั้นไม่ได้เน้นที่การรบเพียงอย่างเดียวแต่หลักสำคัญอยู่ที่กิจกรรมก่อนจะรบ ว่าทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ชนะ หรือทำอย่างไรจึงจะไม่แพ้
เมื่อเราประเมินสถานะการณ์อย่างดีแล้วเราย่อมคาดเดาผลลัพธ์ได้
ดังนั้นแล้วการชนะโดยไม่ต้องรบก็สามารถเกิดขึ้นได้
เช่นองค์กรหนึ่งมีขนาดใหญ่มาก คิดจะมาแย่งตลาดขององค์กรเล็กๆองค์กรหนึ่ง
เมื่อองค์กรใหญ่ส่งสัญญาณมาว่าจะเข้ามาขายแข่งในตลาดนี้นะองค์กรเล็กๆย่อมต้องคาดเดาผลลัพธ์ได้ว่าต้องสู้ไม่ได้ก็ต้องเตรียมการปรับตัวว่าจะทำอย่างไร จึงจะสามารถอยู่รอดแข่งขันกับองค์กรใหญ่ได้
เมื่อองค์กรใหญ่กว่ามากเพียงแค่ส่งสัญญาณออกมาองค์กรเล็กก็ต้องหลีก นี่คือการชนะตั้งแต่ยังไม่รบ เพราะสู้กันไม่ได้ การรบควรจะเกิดขึ้นเมื่อสามารถสู้ได้เท่านั้นเพื่อไม่เป็นการสูญเสียสิ้นเปลือง ตามหลักความคิดของซุนจื่อ
ซุนจื่อบอกว่า การวางแผนโจมตี
“หลักการสงคราม
กำลังเหนือกว่าสิบเท่าพึงปิดล้อม
เหนือกว่าห้าเท่าพึงโจมตี
เหนือกว่าสองเท่าพึงแยกกำลังเข้าโจมตี
เมื่อกำลังเท่ากันพึงช่วงชิงจังหวะ หากรบได้ก็พึงรบ
หากกำลังน้อยกว่า หลีกได้พึงหลีก
หากกำลังน้อยกว่า เลี่ยงได้ก็พึงเลี่ยง
หากกำลังน้อยกว่าแล้วยังมิอ่อนข้อ ย่อมต้องตกเป็นเชลยศึก”
หลักการสงคราม ของซุนจื่อคือ แนวทางในการกำหนดแผนการหลังจากได้ประเมินสภานะการแล้ว
1 กำลังเหนือกว่าสิบเท่าพึงปิดล้อม หากกำลังเหนือกว่ามาก เพียงแค่กดดันตัดช่องทางต่างๆของอีกฝ่ายก็สามารถชนะได้ เช่นบริษัทใหญ่กับบริษัทเล็กที่มีขนาดต่างกันมาก แค่ใช้ กำลังอำนาจที่มีตัดช่องทางการค้า ก็สามารถบีบให้บริษัทใหม่ที่เล็กกว่าแพ้ได้
2 เหนือกว่าห้าเท่าพึงโจมตี หากกำลังเหนือกว่ามาก แต่ไม่พอจะปิดล้อมก็ใช้กำลังที่มากกว่าเข้าเอาชัย เช่นบริษัทใหญ่กับบริษัทที่เล็กกว่า แต่ไม่เล็กขนาดพอให้กดดันปิดช่องทางต่างๆได้ ก็ใช้การแข่งขันกันทางการค้าตรงๆ ด้วยทุนที่มากกว่าย่อมสามารถเอาชนะได้
3 เหนือกว่าสองเท่าพึงแยกกำลังเข้าโจมตี หากกำลังมากกว่าไม่มาก ให้แยกกำลังของเราเข้าโจมตี ไม่ควรหักเข้าโจมตีโดยตรงแต่ควรอาศัยความได้เปรียบจากความเหนือกว่าแยกเจ้าโจมตีสองทาง เช่น บริษัทที่ขนาดใหญ่กว่าไม่มาก ไม่สามารถเอาชัยบริษัทคู่แข่งอีกฝ่ายได้โดยตรง จึงต้องปรับกลยุทธ์เพิ่มสินค้า เพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย เป็นการแยกช่องทางโจมตีคู่แข่งที่ไม่สามารถแยกกำลังมาแข่งขันกับเราได้ จึงเป็นกลยุทธ์ที่ อาศัยความได้เปรียบจากการมีกำลังมากกว่า ให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน
4 เมื่อมีกำลังเท่ากันพึงช่วงชิงชังหวะ หากรบได้พึงรบ
เมื่อมีกำลังเสมอกันใกล้เคียงกันทำให้ชิงชัยกันได้ยาก ต้องอาศัยจังหวะเพื่อชิงความได้เปรียบ เมื่อได้เปรียบรบได้แล้วจึงรบ เช่น บริษัท 2 บริษัท มีขนาดพอๆกัน ไม่สามารถเอาชัยกันได้ ต่างฝ่ายต่างก็ประเมินสถานะการณ์ซึ่งกันและกันอยู่ตลอด จนเมื่อสถานะการณ์เปลี่ยน เช่น คุณธรรมเปลี่ยน ค่านิยมของผู้บริโภคเปลี่ยน หรือสภาพแวดล้อมปัจจัยภายนอกองค์กรเปลี่ยน หรือปัจจัยภายในองค์กรเปลี่ยน หรือเกิดการเปลี่ยนผู้นำองค์กร หรือกฏระเบียบในองค์กรเปลี่ยน เหตุใดเหตุหนึ่ง ก็ทำให้สถานะการณ์เปลี่ยน เมื่อสถานะการณ์เปลี่ยนผู้ที่สามารถอาศัยความได้เปรียบจากการเปลี่ยนแปลงได้ก็สามารถมีชัยได้
5 หากกำลังน้อยกว่า หลีกได้พึงหลีก เลี่ยงได้พึงเลี่ยง หากกำลังน้อยกว่าแล้วยังไม่อ่อนข้อย่อมต้องตกเป็นเชลยศึก เมื่อองค์กรเรามีขนาดเล็กกว่าพึงหลีกเลี่ยงในการแข่งขันทางตรงกับองค์กรใหญ่ เพราะหากแข็งขืน ย่อมต้องพบกับความพ่ายแพ้จนตกเป็นเชลยศึก เช่น บริษัทเล็กกว่า เมื่อต้องเผชิญกับบริษัทที่ใหญ่กว่า ย่อมไม่สามารถไปแข่งขันโดยตรงกับบริษัทที่มีกำลังมากกว่าได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางตรง โดยอาจจะไปทำการค้าทำตลาดที่เล็กกว่า หรือ ตลาดเฉพาะ (Nich maket) ซึ่งเป็นตลาดที่บริษัทใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจ จึงจะสามารถอยู่รอดต่อไปได้ จนเมื่อเติบโตเข้มแข็งพอแล้วจึงค่อยคิดการต่อไป หากบริษัทยังเล็กแต่ไม่อ่อนข้อคิดไปแข่งขันตรงๆกับบริษัทใหญ่ย่อมพบกับความพ่ายแพ้ เสียหาย จนถึงกับต้องตกเป็นเชลย เสียบริษัทให้กับคู่แข่ง
หลักการนี้ เป็นหลักการเพื่อกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรเมื่อประเมินสถานะการณ์เป็นอย่างดีแล้ว และต้องพึงคิดไว้เสมอว่า ไม่ได้มีเพียงเราเท่านั้นที่ประเมินสถานะการณ์อยู่ องค์กรอื่นนั้นเค้าก็ประเมินสถานะการณ์ของเค้าอยู่เสมอเช่นกัน ดังนั้น เมื่อต่างฝ่ายต่างประเมินซึ่งกันและกันแม้นไม่ได้รบกันก็ย่อมรู้ถึงผลลัพท์ของการรบกันตามประโยคที่ว่า
“อันแผนการรบ หากได้ทบทวนแผนการรอบคอบดีแล้ว ชัยชนะย่อมได้มาตั้งแต่ยังไม่รบ”
เมื่อต่างฝ่ายต่าวประเมินสถานะการณ์และคิดวิเคราะห์อย่างดีแล้ว การทำตนให้อยู่เข้มแข็งและอยู่ในสถานะการณ์ที่แข็งแกร่งกว่าคู่แข่งแล้วแม้นไม่ต้องรบก็สามารถชนะได้ตามประโยคที่ว่า
“รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งหาใช่วิธีการอันประเสริฐสุด แต่การมีชัยโดยมิต้องรบถึงเป็นวิธีการอันประเสริฐสุด”
หลักการนี้จึงเป็นดั่ง “ทฤษฎีเกมส์” (Game theory)ที่อาศัยการกระทำของเราเพื่อกำหนดผู้อื่น เพราะต่างฝ่ายต่างก็เล่นอยู่ในเกมส์ ประเมินสถานะการณ์และคิดวิเคราะห์การกระทำของอีกฝ่ายอยู่เสมอ เพื่อหาผลลัพท์ที่ดีที่สุดให้กับตน
ดังนั้นผลแพ้ชนะจึงไม่ได้ตัดสินกันที่การรบเพียงอย่างเดียว แต่ผลแพ้ชนะนั้นถูกตัดสินกันที่การกระทำก่อนที่การรบจะเกิดขึ้น
ในบทนี้ซุนจื่อยังกล่าวเตือนอีกว่า ในการรบนั้นเมื่อทำการรบปัจจัยทีสำคัญที่สุดสองอย่างคือความสามารถของแม่ทัพ ว่าเก่งกาจมีความรู้ความสามารถมีคุณธรรมขนาดไหน กับเบื้องบนที่ไม่มาก้าวก่ายเรื่องการรบ ผมมองว่า สิ่งนี้คือปัญหาสำคัญของทุกองค์กร เมื่อผู้บริหาร(เบื้องบน)มอบหมายอำนาจหน้าที่ในการรบให้กับแม่ทัพ(ผู้จัดการฝ่ายการตลาดหรือฝ่ายขาย) ในการรบแข่งขันกับองค์กรอื่นแล้วต้องไม่เข้ามาล้วงลูก หรือคือสั่งงานขัดกับแผนการตลาดของผู้จัดการฝ่าย เนื่องด้วยผู้จัดการย่อมเข้าใจสถานะการณ์ เข้าใจสภาพหน้างานมากกว่า ดังนั้นถ้าหากเบื้องบนที่ไม่เข้าใจงาน เข้ามาสั่งงานขัดขวางแผนงานขัดกับผู้จัดการ ย่อมทำให้การดำเนินการรบดำเนินแผนการตลาดเป็นไปได้ยาก จนเกิดความสับสนวุ่นวายกันไปทั้งกองทัพ
ส่วนสุดท้ายของบท ซุนจื่อกล่าวถึงปัจจัยห้าประการที่จะทำให้การรบชนะคือ
1 รู้สถานะการณ์ว่าเมื่อใดควรสู้เมื่อไหร่ควรถอย
2 รู้ว่าควรจัดสรรกำลังคนเท่าไหร่ในการรบ มากไปก็ไม่ดีน้อยไปก็ไม่ดี (จัดสรรจำนวนทีมขายให้เหมาะสมกับตลาดและคู่แข่ง)
3 รู้จักสร้างทีมงานให้มีความสามัคคีกันในองค์กร
4 รู้จักเตรียมความพร้อม มีความพร้อมอยู่เสมอ และบุกโจมตีผู้ที่ไม่เตรียมความพร้อม
5 รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน เบื้องบนผู้บริหาร ไม่สั่งงานขัดกับขุนพล(ผู้จัดการฝ่าย)
ปัจจัยห้าประการนี้จึงเป็นเหตุที่ให้เกิดชัยชนะ ถ้ารู้ปัจจัยทั้งห้านี้แล้วการ รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ถ้ารู้เพียงฝ่ายเดียวก็มีโอกาสทั้งแพ้ทั้งชนะ แต่ถ้าไม่รู้อะไรเลยก็ย่อมไม่มีหนทางที่จะชนะคู่แข่งได้ครับ
ขอบพระคุณที่ติดตามอ่านครับ
3kokstartup
ส่วนฝากโฆษณาครับ
รับปรึกษาแนะนำ วิธีการบูชา ปี่เซียะนำโชค เสริมดวง เสริมการงาน เรียกทรัพย์เก็บเงิน ปรับฮวงจุ้ย แก้ชง ตามแบบฉบับฮ่องกง
1 ดูวิธีเลือกหินธรรมชาติให้เหมาะกับวัน
2 ดูรายละเอียดวิธีการบูชาปี่เซียะ
3 ดูรายละเอียดการทำพิธีเสริมพลังปี่เซียะของทางร้าน
4 ดูรายละเอียดวัดแชกงหมิว+วิธีบูชากังหัน
ท่านใดสนใจติดต่อสอบถามกับทางร้านได้นะครับทาง
Fb : 3kokstartup
Line : @jew_shop
เลือกดูแบบเพิ่มเติมได้ที่
IG : jew_shop (jew_318i)(เลือกดูแบบก่อนได้ครับ😊😊)
โฆษณา