15 พ.ค. 2019 เวลา 02:59 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์การบินโลก
ตอนที่ 6 เมื่อมนุษย์ออกสำรวจนอกโลก part 1
มนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องของอวกาศและดวงดาวมาตั้งแต่โบราณ ดังจะเห็นได้จากนิทานที่เล่าสืบต่อกันมาเรื่องของทวยเทพประจำดวงดาวต่างๆ
Orion กลุ่มดาวนายพราน
จีนนับเป็นชาติแรกที่ค้นพบสารระเบิด หรือเรียกกันว่า Black powder โดยการนำดินประสิว กำมะถัน และถ่านมาผสมกัน
เมื่อ Black powder ถูกจุดด้วยไฟจะเกิดการระเบิดขึ้นและมีแรงอัดมหาศาล สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้วัตถุเคลื่อนที่ได้
YouTube
นับว่าเป็นการเริ่มต้นในการค้นคว้า และสร้างจรวดเพื่อไปสู่อวกาศได้ในเวลาต่อมา แต่จรวดที่สามารถบินออกจากบรรยากาศของโลกได้นั้น เพียงแค่อาศัยพลังงานจาก Black powder นั้น คงไม่เพียงพอ
ในปี ค.ศ. 1922 ศาตราจารย์ โรเบิร์ต เอช. กอดดาร์ด (Professor Robert Hutchings Goddard) ชาวอเมริกัน ได้คิดค้นและสร้างจรวดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว ซึ่งประกอบด้วยออกซิเจนเหลวและไนโตรเจนเหลวขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
Robert H. Goddard
เขาได้สร้างจรวดและทดลองปล่อยจรวดลำต้นแบบลำแรกในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1926
กอดดาร์ดและทีมของเขาได้สร้างจรวดขึ้นทั้งหมด 34 ลำ ในช่วงปี ค.ศ. 1926 ถึง 1941 และจรวดของพวกเขาขึ้นไปได้สูงถึง 2.6 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 885 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
กอดดาร์ดจึงได้รับยกย่องให้เป็น บิดาแห่งจรวดยุคใหม่
กอดดาร์ดและจรวดต้นแบบ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีได้สร้างจรวดเชื้อเพลิงเหลวเช่นกัน ซึ่งใช้เป็นขีปนาวุธระยะสั้น เป้าหมายโจมตีคือกรุงลอนดอน ตั้งชื่อว่า Vergeltungswaffe 2 (V-2) แปลว่า อาวุธสำหรับการล้างแค้น 2 โดยมีชื่อทางเทคนิคคือ Aggraget 4 (A4)
จรวด V-2 เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่เข้าสู่บริเวณพื้นที่รอบนอกอวกาศได้เป็นครั้งแรก โดยข้ามผ่าน Karman line (เส้นแบ่งเขตชั้นบรรยากาศโลกกับอวกาศ ความสูงประมาณ 100 กิโลเมตร) ได้ในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1944
sciencestruck.com
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลสหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต และอังกฤษได้เข้าถึงข้อมูลของจรวด V-2 ทั้งจากเอกสารและนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้นำมาใช้พัฒนาโครงการอวกาศให้กับประเทศตัวเอง
และในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 (Sputnik แปลว่าเพื่อนร่วมทาง) ขึ้นสู่วงโคจรของโลกเป็นครั้งแรกโดยใช้เครื่องยนต์จรวด 3 ท่อน
สปุตนิก 1 โคจรรอบโลกได้สามสัปดาห์ก่อนที่แบตเตอรี่จะเสียและตกลงสู่ชั้นบรรยากาศในอีกสองเดือนต่อมา
Sputnik 1 Picture from USA today
หลังจากความสำเร็จในการปล่อยสปุตนิก 1 โลกก็เข้าสู่การแข่งขันด้านอวกาศและเป็นเหตุของสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
และในวันที่ 3 พฤศจิกายน ปีเดียวกันนี้ สหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียมดวงที่ 2 ชื่อสปุตนิก 2 โดยมีสุนัขชื่อไลก้า (แปลว่าช่างเห่า) ขึ้นไปด้วย โดยไลก้าถือเป็นสิ่งมีชีวิตตัวแรกที่ได้โคจรรอบโลก
Sputnik 2
Laika
มาถึงจุดๆนี้แล้ว สหรัฐอเมริกาที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำของโลกนั้นรู้สึกเสียหน้ามาก จึงต้องหาทางกู้หน้าตัวเองให้สำเร็จ
อเมริกาจึงได้ตั้ง องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ องค์การนาซ่า (NASA) ขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1958
องค์การนาซ่า เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร
ตอนต่อไปมาดูกันว่า ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ใครจะมีไม้เด็ดอะไรมาโชว์กันบ้าง
อ่านย้อนหลังได้ที่ลิ้งค์ข้างล่างครับ
1
โฆษณา