16 มิ.ย. 2019 เวลา 05:11 • การศึกษา
วิธีวัดความรุนแรงของภูเขาไฟระเบิด
ทุกครั้งเมื่อเกิดภัยพิบัติ ในกรณีของแผ่นดินไหวจะมีการบอกได้ว่ามีระดับความรุนแรงเท่าไหร่ แล้วภูเขาไฟระเบิดล่ะจะวัดค่ายังไง?
มาตรวัดความรุนแรงของภูเขาไฟระเบิด
เรียกว่า.. ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ หรือ Volcanic Explosivity Index: VEI)
เป็นมาตราสัมพัทธ์ของการระเบิดของภูเขาไฟ
ประวัติย่อ
Chris Newhall จากหน่วยงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกาและ Stephen Self จากมหาวิทยาลัยฮาวายได้พัฒนาดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (VEI) ขึ้นในปี 1982
ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟนี้ เป็นมาตราส่วนสัมพัทธ์ที่ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบความรุนแรงของการปะทุของภูเขาไฟได้
ดัชนีนี้มีประโยชน์มากในแง่ที่ว่า สามารถนำมาใช้สำหรับวัดการปะทุล่าสุดที่นักวิทยาศาสตร์ได้เห็นและการปะทุครั้งประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นได้
Mt.bromo indonesia ภาพ pinterest
วิธีการ
ลักษณะการระเบิดหลักที่ใช้ในการกำหนดดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟคือ..
ปริมาตรของวัสดุ pyroclastic ที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟ รวมถึงเถ้าภูเขาไฟ , tephra, การไหลของ pyroclastic และการตกกระทบประเภทอื่น ความสูงของคอลัมน์การปะทุและระยะเวลาของการปะทุจะถูกพิจารณาในการกำหนดระดับ VEI
รู้จักคำศัพท์กันก่อน
📖 เทบพรา (tephra) หรือ ชิ้นส่วนภูเขาไฟ เช่น ขี้เถ้าหรือหินภูเขาไฟ หินและตัวอย่างของหินหลอมเหลว
📖 ธุลีภูเขาไฟ (Pyroclastic ,Pyroclastic flow
เป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดจากภูเขาไฟ เพราะ pyroclastic flow จะไหลด้วยความเร็วสูง และมีความร้อนเป็นพันองศา ถ้า pyroclastic flow ไหลผ่านป่า ป่านั้นจะเหมือนหายไปเลย เหลือแต่ต้นไม้ยืนต้นตาย ถ้าไหลผ่านบ้าน บ้านจะเหมือนถูกเผาด้วยความร้อนกว่า 1000 องศา ภายในเวลาไม่กี่วินาที เครื่องใช้ในบ้านที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะเสียหายหมด แม้แต่นาฬิกายังหยุดเดิน
เช่น เมื่อครั้งที่ ภูเขาไฟ Merapi ที่อินโดนีเซียระเบิด ได้ปล่อย pyroclastic flow ทำลายหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ณ เชิงเขา บ้านเสียหายทั้งหมด รวมทั้งรถของเจ้าหน้าที่ที่ไปช่วยอพยพ และในบ้านพบนาฬิกาซึ่งหยุดที่ เที่ยงคืนครึ่ง ซึ่งแสดงเวลาเกิดเหตุได้เลย
ขั้นตอนของ VEI Scale
ระดับ VEI เริ่มต้นที่ 0 สำหรับการปะทุที่ผลิตน้อยกว่า 0.0001 km3 ของการตกกระทบ การปะทุเหล่านี้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก จนแทบจะไม่เรียกว่าเป็น "การระเบิด" ลาวาที่ไหลออกมาจากปล่องระบายอย่างง่าย ๆ
ในแต่ละระดับของค่า VEI จะเพิ่มขึ้น 10 เท่า
VEI 1 ผลิตระหว่าง 0.0001 ถึง 0.001 km3
VEI 2 ผลิตระหว่าง 0.001 ถึง 0.01 km3
VEI 3 ผลิตออกได้ประมาณ 0.01 ถึง 0.1 km3
VEI 4 ผลิตออกมาได้ 0.1 - 1.0 km3
VEI 5 ผลิตออกมาได้ 1.0-10 km3
VEI 6 ผลิตออกมาได้ 10-100 km3
VEI 7 ผลิตออกมาได้ 100- 1,000 km3
VEI 8 ก็เป็นสิบเท่าของ VEI 7 ซึ่งระดับ8 เป็นระดับสูงสุด
ในแต่ละขั้นตอนของสเกล จะแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของการระเบิด 10 เท่า
เทียบง่ายๆค่ะ VEI 5 นั้นจะระเบิดได้มากกว่า VEI 4 โดยประมาณสิบเท่า
ถ้าสองขั้นของสเกลค่าจะเพิ่มขึ้น 100 เท่าในการระเบิด ตัวอย่างเช่น VEI 6 นั้นมีความสามารถในการระเบิดได้มากกว่า VEI 4 ประมาณ 100 เท่า
คำอธิบายภาพประกอบ
ภาพสเกลสำหรับการจัดอันดับการปะทุของภูเขาไฟในแง่ของความรุนแรง การปะทุขึ้นอยู่กับปริมาณของวัสดุที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟ ระยะความสูงที่วัสดุนี้จะไปถึง และระยะเวลาของการระเบิด แผนภาพต่อไปนี้แสดงการจัดอันดับการระเบิดของภูเขาไฟในอดีต เทียบด้วยสเกล VEI :
⬇⬇⬇
ค่าดัชนี VEI และตัวอย่างการเทียบค่ากับเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด ภาพ USGS.GOV
เนื่องจากแต่ละขั้นของสเกลนั้นเพิ่มขึ้น 10 เท่าของวัสดุที่ถูกขับออกมา จึงมีความแตกต่างกันมากในขนาดของการระเบิดที่ปลายต่ำสุดของขั้นและการระเบิดที่ปลายสูงของขั้น
ด้วยเหตุนี้จึงมีการเพิ่ม "+" ลงในการปะทุที่เป็นที่อยู่ท้ายสุดของขั้น
ยกตัวอย่างเช่น การปะทุของ Katla ที่ไอซ์แลนด์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1918 ได้รับการจัดอันดับที่ VEI 4+ เนื่องจากเป็นการปะทุระดับ VEI 4 ที่รุนแรงมาก
📌 ทำไมมีระดับสูงสุดแค่ VEI 8
อันนี้เพจขอตอบเผื่อมีคนสงสัย การปะทุระเบิดที่ใหญ่ที่สุดที่ได้รับการบันทึกจนถึงปัจจุบันได้รับการจัดอันดับที่ VEI 8
ซึ่งในโลกนี้มีการปะทุในระดับความรุนแรงนี้ราว 50 ครั้ง แต่จะเป็นเหตุการณ์ที่เก่าแก่เป็นล้านปี
ซึ่งเรียกว่านานจนนึกภาพกันไม่ออก
เช่นที่ Yellowstone เมื่อราว หกแสนปีก่อน
📌 เหตุการณ์ VEI 9 จะเกิดได้หรือไม่?
ก็ขึ้นอยู่กับว่า โลกมีความสามารถในรวบรวมพลังงานมากพอที่จะสร้างปริมาณการระเบิดขนาด 10,000 ลูกบาศก์กิโลเมตรได้หรือไม่ เพื่อประเมินอัตราการระเบิดของ VEI 9 หรือไม่?
ซึ่งปริมาณมหาศาลขนาดนี้โลกต้องสะสมพลังงานนับหมื่นแสนหรืออาจถึงล้านปี ตอบว่าเป็นไปได้ยาก แต่ไม่ตัดความเป็นไปได้
ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้นวิทยาการของโลกคงก้าวหน้าพอจะรับมือ หรืออาจมีการเคลื่อนย้ายมนุษย์ไปสู่ถิ่นฐานใหม่บนดาวดวงอื่นแล้ว
ขนาดเปรียบเทียบการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ในการเรียกสเกลทั้ง 8 ระดับ ทางผู้เชี่ยวชาญที่มหาวิทยาลัยนอร์ทดาโกต้า ได้จัดการเรียกไว้เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้
(VEI1); gentle
(VEI2); explosive
(VEI3); severe
(VEI4); cataclysmic
(VEI5); paroxysmal
(VEI6); colossal
(VEI7); super colossal
(VEI8); mega-colossal
1
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
16.06.2019
โฆษณา