4 ก.ค. 2019 เวลา 18:14 • การศึกษา
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของคนไทยหลายคนในเรื่องส่วนประสมการตลาด
ที่มา: https://www.iplandigital.co.th
ในหลายปีที่ผ่านมาผู้เขียนพบว่ามีหลายคนรวมทั้งผู้เขียนด้วยที่เข้าใจเรื่องส่วนประสมการตลาดที่คลาดเคลื่อนไป ซึ่งทำให้การทำงานด้านการตลาดได้ผลน้อยและลงทุนสูง จนผู้เขียนมาได้มีโอกาสเรียนต่อในด้านการจัดการธุรกิจค้าปลีกซึ่งต่างออกไปจากเดิมที่ผู้เขียนเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ (ประมง) ทำให้ผู้เขียนได้เปิดโลกกว้างขึ้นมากและนำความรู้ด้านนี้ไปใช้ต่อยอดการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ส่วนประสมการตลาดหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Marketing Mixed ผู้บัญญัติเรื่องนี้ไว้คือ ฟิลลิป คอทเลอร์ (Philip Kotler) ศาตราจารย์ด้านการตลาดของโลก และเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจผู้เขียนขอใช้ทฤษฎีในช่วงเริ่มต้นของการใช้คำว่าส่วนประสมการตลาดที่เรียกว่า 4Ps ที่ประกอบไปด้วย Product Price Place และ Promotion แล้วอะไรที่ทำให้คนไทยที่เข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนไป เรามาดูคำแปลกันว่าทั้ง 4 อย่างที่ว่าแปลว่าอะไร
1. Product แปลว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์รวมถึงบริการด้วย
2. Price แปลว่า ราคาหรือราคาจำหน่าย
3. Place แปลว่า สถานที่การจัดจำหน่าย
4. Promotion แปลว่า การส่งเสริมการขาย
ทั้ง 4 คำข้างต้นต่างก็แปลตรงได้ตามความหมายที่ระบุไว้ในพจนานุกรมไทย-อังกฤษแล้วคำไหนที่คลาดเคลื่อนไป คนที่เรียนการตลาดน่าจะพอทราบ คนส่วนใหญ่กลับไม่ทราบคำนี้ว่าแท้จริงแล้วแปลว่าอะไร คำนั้นคือ P ที่ 3 นั่นเอง ซึ่งความหมายที่แท้จริงก็คือช่องทางการจัดจำหน่ายหรือการเคลื่อนสินค้าจากแห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่ง
ที่มา: https://heidicohen.com
แล้วส่งผลกระทบต่อการเดินไปผิดทิศผิดทางอย่างไร อันนี้บอกได้เลยว่าแค่เพียงคำแปลก็ทำให้หลงประเด็นกันแล้ว หลายคนบอกมาว่าจะเริ่มทำการค้าอะไรสักตัวต้องมีทำเลสถานที่ดีก่อน ทำเลดีย่อมได้เปรียบ แน่นอนว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะคำแปลที่แท้จริงหมายถึงช่องทางการจัดจำหน่ายรวมถึงวิธีการเคลื่อนย้ายสินค้าแบบไหนด้วย
เริ่มมองเห็นแล้วยังครับว่าอะไรที่หายไปจากความเข้าใจไม่ครบถ้วนจากคำเพียงคำเดียวนั่นคือ Place ที่เดิมเข้าใจกันว่าคือสถานที่ สิ่งนี้ทำให้หลายคนไปยึดติดกรอบที่ต้องมองหาทำเลเป็นหลักและรู้สึกว่าหากไม่ได้ทำเลหรือสถานที่จัดจำหน่ายไม่ใช่แหล่งที่ผู้คนพลุกพล่านหรือแหล่งที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายไปรวมตัวกันอยู่ มีโอกาสสูงที่ธุรกิจจะไปต่อไม่ได้มีสูงมากๆ
แต่ก็มีหลายคนในปัจจุบันที่ไม่ได้ยึดติดแล้วสามารถนำพาธุรกิจเติบโตผ่านช่องทางอื่นๆได้โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ (Online) ปัจจุบันหลายอาจจะเป็นทั้งคนที่เข้าใจความหมายถูกและคนที่ตระหนักว่ามันไม่น่าใช่สถานที่เท่านั้นที่จะทำให้ทำธุรกิจได้ จึงได้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดจำหน่าย ทำให้เราพบว่ายคนอาจจะรู้สึกว่าวิธีการขายสินค้าเปลี่ยนไปมากจากในอดีต ที่แทบจะไม่เหลือรูปแบบการค้าขายแบบเดิมก็มี เปลี่ยนไปเป็นการขายผ่านเฟซบุค (Facebook) อินสตราแกรม (Instragram) จำหน่ายทางโทรศัพท์ หรือจำหน่ายในห้างที่มีรูปแบบในการใช้เทคโนโลยีมาใช้อย่างทันสมัย ฯลฯ
เห็นไหมว่าแค่เพียงคำเดียวชีวิตเปลี่ยนไปเลย แล้วทำให้หลายคนรังเกียจการขายหลายช่องทางไปเลยก็มี ซึ่งทำให้ปิดโอกาสตนเองในการได้ผลประโยชน์หรือผลลัพธ์จากธุรกิจนั้นๆ แท้จริงแล้วมันก็เป็นเพียงช่องทางการจัดจำหน่ายที่ผู้ขายหรือผู้ผลิตเลือกใช้ช่องทางนั้นในการนำสินค้าไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเท่านั้นเอง หลายคนรังเกียจแบบไม่เอาเลยกับการที่จะมาโทรศัพท์มาจำหน่ายสินค้า การจำหน่ายแบบขายตรง การจำหน่ายแบบเครือข่าย แต่เลือกซื้อหรือเลือกทำธุรกิจด้วยการไลฟ์สด (ขออนุญาตใช้ทับศัพท์เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น) หรือขายผ่านเฟซบุค จากการลุกขึ้นมาจับธุรกิจเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยทำงานรับเงินเดือนอย่างเดียว จนลืมพิจารณาสิ่งที่เขาหรือเราจะได้จากการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางที่เราตั้งข้อรังเกียจ บางคนรังเกียจแบบประณามการใช้วิธีนั้นๆไปเลยก็มี จนหลงลืมว่านั่นคืออาชีพสุจริต ที่สุจริตชนลุกขึ้นมาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ชีวิตเขาครอบครัวเขาดีขึ้น
หลายคนเข้าใจว่าช่องทางที่ผู้ขาย/ผู้ผลิตที่เลือกจัดจำหน่ายคือผู้ที่หลอกลวง จนไม่แยกแยะว่าทุกธุรกิจก็มีทั้งคนที่ทำถูกต้องและเอาเปรียบหลอกลวงทุกช่องทางไม่แตกต่างกัน แต่เรากลับไม่พิจารณาว่าเราจะได้อะไรจากช่องทางการจำหน่ายนั้นๆ และหากจะเกิดการหลอกลวงเราจะเรียนรู้อย่างไร
ผู้เขียนขออนุญาตแบ่งปันประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับตัวเองมาเพื่อให้ทุกท่านได้พิจารณา ผู้เขียนเองเป็นคนหนึ่งที่ชอบซื้อของออนไลน์มาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เดือนหนึ่งก็หลายครั้งพอสมควร แล้วก็พบว่า 9 ใน 10 ครั้ง สินค้าที่สั่งซื้อไปส่งมอบไม่ตรงตามที่โฆษณา ทำเรื่องคืนได้ครั้งเดียวและขาดทุนค่าขนส่งด้วย ที่เหลือได้แต่มองเอาไปวางไว้เตือนสติตัวเอง แล้วผู้เขียนต้องเลิกซื้อไปเลยไหมกับการจำหน่ายผ่านช่องทางนี้
ผู้เขียนหลงลืมไปเลยว่ายังมีผู้ประกอบการมากมายที่ทำได้อย่างถูกต้องมีความน่าเชื่อถือ และลูกค้ายังได้เงินคืนหากซื้อได้ในปริมาณและเวลาตามที่เขากำหนด ที่สำคัญเนื่องจากไม่ต้องมีสถานที่จำหน่ายหน้าร้านจึงทำให้สินค้าราคาถูกลง ทั้งยังสร้างงานให้ผู้คนมากมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นขนส่ง ผู้ผลิตกล่อง ปั้มน้ำมัน ร้านขายข้างแกง(ตอนที่พนักงานมาส่งของแวะกิน) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่จะมีรายได้อีกมากมาย เป็นต้น
นี่คือสิ่งที่คนไทยหลายคนเข้าใจคลาดเคลื่อน คำถามวันนี้เมื่อรู้แล้วเราจะเรียนรู้และใช้ประโยชน์อย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น?
Facebook page: Thailand Modern Marketing
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง
อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
โหลดที่ http://www.blockdit.com
โฆษณา