6 ก.ค. 2019 เวลา 06:49 • การศึกษา
ท่านรู้หรือไม่ว่า นักร้องที่แต่งเพลงเอง อาจจะร้องเพลงที่ตัวเองแต่งไม่ได้ .... ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นไปได้ล่ะ
ล่าสุด กรณีดราม่า ‘เทย์เลอร์ สวิฟต์’ นักร้องขวัญใจของร้อยเวรเอง ก็อาจจะร้องเพลงของตนเองไม่ได้.. ใจร้าย!!!
https://gossipstar.mthai.com/hollywood/inter/76397
ก่อนจะไปถึงเรื่องนั้น ร้อยเวรขออธิบายเรื่อง“ทรัพย์สิน”ก่อน
โดยหลักใหญ่ๆแล้วใครเป็นคนสร้างสิ่งของใด คนนั้นก็เป็นเจ้าของสิ่งของนั้น ดังนั้น หากมีใครก็ตามมาแย่งสิ่งนั้นไปจากเราคนนั้นก็มีความผิดลักทรัพย์ไป
แต่กลับกัน ถ้าหากว่าเราขายสิ่งนั้นไปให้กับคนอื่นแล้ว ของนั้นแม้เราจะสร้างขึ้นมาก็ตามก็ไม่ใช่ของเราอีกต่อไป ถ้าเราไปเอากลับคืนมาโดยไม่มีสิทธิเราเองก็จะกลายเป็นขโมยไปเอง เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย มันเปลี่ยนเจ้าของไปแล้วนั้นเอง...
และในปัจจุบันคำว่าทรัพย์สิน ก็กินความหมายกว้างขึ้น
มันเลยไปถึงความคิดสร้างสรรค์ การประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ แบบต่างๆ อาจจะใช้มือจับต้องไม่ได้ แต่ก็เป็นทรัพย์สินได้เช่นเดียวกัน เช่นผลงานเพลง เนื้อร้องและทำนอง เราเรียกทรัพย์สินในอากาศพวกนี้ว่า “ทรัพย์สินทางปัญญา” ...
เมื่อทำความเข้าใจข้างต้นแล้ว...
ที่นี้มาถึงข่าวของ ‘เทย์เลอร์ สวิฟต์’ สรุปว่าง่ายๆค่ายเพลงที่เธอสังกัดนั้นกำลังจะเปลี่ยนเจ้าของและเธอเองก็ไม่ค่อยจะชอบกับเจ้าของคนใหม่เอาสะด้วยสิ แต่ปัญหามันอยู่ที่ผลงานเพลงของเธอส่วนใหญ่จะเป็นทรัพย์สินของค่ายเพลงที่เธอสังกัดอยู่ ดังนั้น แม้เธอจะเป็นคนแต่งเพลง เนื้อร้องและทำนองเองก็ตาม ตัวเทย์เลอร์ฯ เองก็ไม่สามารถที่จะเอาเพลงไปร้องได้ ถ้าเธอเอาเพลงของเธอเองไปร้องโดยไม่ได้รับอนุญาตก็จะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
ดังนั้น การที่เอาเพลงของคนอื่นไปร้อง เพื่อการค้าหากำไร โดยไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าของเพลงนั้น ก็ไม่ต่างจากเราขโมยของคนอื่นไปใช้นั้นเอง
เรื่องนี้ ในเมืองไทยเองก็มีคดีให้เห็น เช่น วงบิ๊กแอส ลาบานูน หนุ่มกะลา ที่มีปัญหาในการฟ้องร้องดำเนินคดีกัน ซึ่งที่โรงพักของร้อยเวรเองก็มีคดีพวกนี้เหมือนกัน นี้จึงเป็นบทเรียนของนักร้องนักแต่งเพลงทั้งหลายในการทำสัญญากับค่ายเพลง แม้จะเสียดายก็ทำอะไรไม่ได้ ...
แล้วถ้าเราไม่ร้องเอง แต่เอาเพลงของคนอื่นไปเปิดในร้านค้าของเราเพื่อให้ลูกค้าฟังชิลๆละ จะผิดด้วยหรือไม่ ???
เรื่องนี้เคยเป็นปัญหาขึ้นโรงขึ้นศาลมาแล้ว โดยศาลบอกว่าการเปิดเพลงให้ลูกค้าฟังในร้านกาแฟ/ร้านอาหารโดย
ไม่ได้เรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงนั้น
"ไม่เป็นความผิด" เพราะมิได้เป็นการหากำไร โดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ก็สามารถที่จะทำได้
ยังไงก่อนจะทำอะไรควรศึกษาให้ดีก่อนนะครับ ….
โฆษณา