12 ก.ค. 2019 เวลา 07:29 • ธุรกิจ
คุณมีกลยุทธอะไรบ้างเพื่อรับมือกับตลาดหุ้นที่แพง ?
ในปี 2019 นี้เป็นยุคแพงของตลาดหุ้นไทย แต่รู้ไหม หลายปีก่อนมันมีคนกังวลแบบนี้มาแล้ว GMH ได้เคยสรุปกลยุทธไว้ทั้งหมด 9 วิธี เมื่อตอนปี 2014 หวังว่ากลยุทธเหล่านั้นจะมีประโยชน์กับสถานะการณ์ปัจจุบัน
ทุกวันนี้เราอยู่ในจุดที่ set ไปแตะ 1800 จุดมาแล้ว เมื่อมองย้อนกลับไป เราคงหัวเราะคนที่กระโดดลงตอน set 1,200-1,500 เมื่อหลายปีที่แล้ว แต่ถ้าคุณเข้าตลาดหุ้นมาก่อน เคยอยู่จุดนั้นมาก่อน จะรู้ว่ามันไม่ง่ายเลยที่จะตัดสินใจ
set ดีดขึ้นจาก 380 จุดไปหา 1600 ต้นปี 2013 แล้วร่วงลงมาหลายเดือนจนถึง 1200 เริ่มมีคนล้างพอร์ตกันแล้ว
ย้อนไปปี 2014 ดัชนี set ฟื้นจาก วิกฤต subprime มาติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ทำ new high ได้สูงกว่าจุดสูงสุดก่อนวิกฤตไปเยอะแล้ว
สมัยนั้นมีทั้งเรื่องวิกฤตยุโรป สเปน อิตาลี กรีซ โปรตุเกส Brexit กังวลหนี้ครัวเรือน อเมริกายกเลิก EQ ธนาคารกลางยุโรปเลิกอัดฉีด อะไรสารพัด มะรุมตุ้มเม้ง บ้านเราก็ยังมีรัฐประหาร 2557 อีก
มันไม่แปลกเลย ที่คนจะมีคนกลุ่มนึงเริ่มกลัวถามถึงเรื่องล้างพอร์ตทิ้งไปก่อน เพื่อรอให้ตลาดร่วงลงมาต่ำกว่า 1000 จุดอีกที
gmh สมัยยังเขียน wordpress ตอนปี 2014 เรื่อง expesive market strategy มีทั้งหมด 9 วิธี ไม่คิดว่า 5 ปีผ่านมา จะได้ย้อนกลับมาอ่านที่ตัวเองเขียนไว้ นึกแล้วก็ตลกดีเหมือนกัน
link บทความ : (ไม่ต้องเปิดก็ได้ เดี๋ยวจะสรุปใหม่ให้)
เอาล่ะเราจะมาขยายความกลยุทธทั้ง 9กัน โดยเริ่มจากกลยุทธที่ชอบน้อยที่สุดก่อน -> เรียงไปมากที่สุด
1) เล่นหุ้นอยู่ในกระแสปั่น/ร้อนแรง : วิเคราะห์กันจริงๆแล้ว ทางนี้ก็มีโอกาสได้กำไรสูงนะ ความเป็นไปได้เยอะด้วย ต.ย. เช่น หุ้น IPO ที่เพิ่งจะแต่งตัวเข้าตลาดไปหมาดๆ เรื่องของ Money Game ไม่ว่าตลาดหุ้นอยู่ในภาวะแพงแค่ไหน ก็ต้องเล่น (อย่าให้ต้องเอ่ยชื่อ)
*** แต่ GMH ไม่ขอเอาดีทางนี้ ทางที่ได้มาง่าย ได้มาด้วยความโลภ ไม่ก่อให้เกิดปัญญาแก่ชีวิตนักลงทุน ผมให้ความสำคัญกับการเรียนรู้มาก ข้อนี้จึงตัดทิ้ง ***
2) ล้างพอร์ต ออกจากตลาดไปก่อน : การล้างพอร์ตนั้นมีต้นทุนค่าเสียโอกาสที่สูงมาก มันคือการ Bet สุดตัวว่าตลาดต้องลง แต่ถ้ามันไม่ลงล่ะ คุณทำใจซื้อตามในจุดที่แพงกว่าเดิมได้ไหม ?
ตลาดทางตั้งแต่ฟื้นตัวจากวิกฤต subprime คุณคิดว่ามีกี่คนที่คิดแบบนี้ ?
สุดท้ายต้องยอมกลับมาซื้อในจุดที่แพงกว่าเดิม หรือ คนที่ทำใจไม่ได้ เขาไม่ได้ซื้ออีกเลยมาจนถึงทุกวันนี้
ธรรมชาติแล้วคนที่ล้างพอร์ตออกจากตลาด ความสนใจที่จะศึกษาทำการบ้านในบริษัทที่จะลงทุน มักจะลดๆๆๆๆ ลงไปเรื่อย
ความเข้าใกล้บริษัทจะมีน้อยกว่าผู้เล่นที่ยังอยู่ในสนาม ต่อให้จังหวะที่ควรจะซื้อมาถึง คนที่ไม่มี position (พอร์ตโล่ง) มีโอกาสที่เขาจะไม่กล้าซื้อ // หรือซื้อแต่ก็ไม่รู้จักมันดีพอ ถือได้ไม่นาน แปบๆ ก็ขายกลับไปพอร์ตโล่งใหม่
"ค่าโง่ตรงนี้แหละ" คือ สิ่งที่น่ากลัวในมุมมองผม เพราะฉะนั้นผมยอมที่จะมี position อยู่ต่อไปเพื่อการศึกษาทุกโอกาสที่เข้ามา
3) Laggard Play : คำแนะนำของ Broker มักจะชอบมี stategy นี้เสมอ คือ ให้ซื้อตัวที่ยังไม่ไปไหน
ใน common sense แล้วมัน Safe ที่จะถือ เพราะขึ้นมานิดเดียว ลงก็คงไม่เยอะ ลุ้นการปรับตัวขึ้นตามพวก Market Leader
** แต่ระวังเหตุผลของการที่มันยังไม่ไปไหนจนทุกวันนี้ หรือมันอาจจะมีอะไรเป็นเหตุผลบางอย่าง ปัญหาที่แก้ไม่ได้สักที เราอาจจะติดกับดัก ถือไปก็ Laggard ดักดานอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ อีกหลายปี รอเมื่อไหร่จะมีใครมาปลด Lock
ยกตัวอย่างหุ้น Laggard Play แนะนำในสมัยนั้น เช่น KTB เป็นหุ้นที่ราคาขึ้นน้อยกว่าแบงก์อื่นๆ แต่ผ่านไปปีแล้วปีเล่าก็ยังไม่ perform อยู่ดีจนถึงทุกวันนี้
สรุปกลยุทธนี้ผมเฉยๆกลางๆ
> ถ้ามัน Laggard เนื่องจากมูลค่าบริษัทถูกมองข้าม อันนี้ OK
> แต่ถ้า Laggard จากคุณภาพกิจการ อันนี้ไม่ค่อยชอบแฮะ
4) Defensive Stock / High Dividend / REIT & Property Fund : สำหรับกลยุทธนี้ คนส่วนมาก(mass) อาจจะชอบก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้นปัจจุบัน REIT หลายๆกอง ถือแล้วได้ capital gain หนักๆ หน้าตาเฉย
ทั้งๆที่เดิมที characteristic ของมันมีไว้เพื่อแทนเงินสด เอาคาดหวัง return จาก dividend yield เป็นหลัก
รู้ไหมว่าหุ้นโรงไฟฟ้า , REIT สมัยก่อน div 7-8% ( CPNRF เมื่อก่อน yield 8-13% เลยนะ) ยังไม่มีใครอยากซื้อกันเลย แต่ไหงกลายเป็นยุคนี้คนถึงแห่กันมาซื้อทั้งๆที่ yield เหลือแค่ 4-6% เท่านั้นเอง (ที่ yield ลดลงเพราะราคาขึ้นไปสูงมาก)
ตอนนี้ dividend มันต่ำไปแล้ว คนถือ REIT / หุ้นโรงไฟฟ้า กลับกลายเป็นได้ Return จาก Capital gain เป็นหลักไปซะงั้น
เลยไม่รู้ว่า เราอยู่ในช่วงยุคเห่อของ REIT / defensive stock กันหรือเปล่า เพราะมันไม่เคยเป็นงี้มาก่อน ถือเป็นอีกความเสี่ยงตรงนี้
แต่ถึงอย่างไร เหตุผลที่ GMH ไม่ชอบกลยุทธนี้ เพราะเฉื่อยชา inactive มันเหมือนไม่ค่อยได้ทำอะไรเท่าไร ในแง่ของการศึกษากิจการ ผมยังสนุกกับการ forecast growth อยากทำการบ้านของบริษัทแนวที่เติบโตและน่าสนใจมากกว่านี้
หลังจากนี้ไปจะเริ่มเป็นกลยุทธที่ GMH ชอบแล้ว***
5) ถือเงินสดเสมอ : ไม่ได้ล้างพอร์ต แต่ลดพอร์ตลงเพื่อถือเงินสดบ้าง จุด optimum สำหรับผมคือ ถือเงินสดอยู่ช่วงราวๆ ~30% ถ้าคิดว่าตลาดแพงมาก
enjoy both way
> ถ้าเกิดว่าตลาด rally ต่อไปเรื่อยๆ อีกหลายปี แม้ return เราจะหายไปบ้าง แต่ 70% ที่ยังถืออยู่ ถือว่า significant มากพอที่ทำให้พอร์ตเราโตต่อไปแบบน่าพอใจระดับนึง
> ตลาดลง เราก็มีเงินซื้อหุ้นที่เราทำการบ้านเอาไว้ไง 30% นี้อาจจะได้หุ้นตัวใหม่ 1 ตัวเข้ามาเป็นสมาชิกหลักของพอร์ตได้เลย
*** เป็นกลยุทธที่ protect สภาพจิตใจของนักลงทุนได้ดีนะ ขึ้นแรงเราก็ thank god ที่ยังไม่ตกรถ ลงแรงเราก็ thank god ที่มีเงินตั้ง 30% ในโอกาสลดราคา
Strength ของกลยุทธนี้ เกี่ยวกับ Psychology ล้วนๆ ไม่ว่าเหตุการณ์ออกหัวหรือก้อย เราจะสามารถ handle มันได้ง่าย
ระดับสภาพจิตใจที่พัง ไม่สามารถ maintain ไว้ไม่ได้ ส่งผลกับ next move ของนักลงทุนเสมอ (ลองคิดถึงสภาพตกรถ หุ้นไปเรื่อยๆ เราจะรู้สึกแย่แค่ไหนที่ไม่มีหุ้นเลย หรือตลาดแดงเถือกเป็นเดือนๆ เราจะรู้สึกยังไง เทียบกับเรามีเงินสดอยู่บ้าน)
6) "ไม่ทำไรทั้งสิ้นอยู่เฉยๆ เพราะสภาวะ bubble อาจจะlast long กว่าที่เราคิดก็ได้" : นี่เป็นเรื่องที่คลาสสิคสุดๆ ในเรื่องของ Investment Pshychology
เชื่อไหมว่าผลการทดลอง จากหุ้น watch list ที่เป็น grade A ของผมสมัยนั้น
BGH (ชื่อเก่าของ BDMS) , CPN , CPALL , HMPRO , MINT ตอนนั้นโครตแพง PE30 กว่าทุกตัว
มาดูการเปลี่ยนแปลงของ market capt ทั้ง 5 บริษัทนี้ว่าเป็นไงกันบ้าง เมื่อเวลาผ่านมาถึงตอนนี้
(ในกราฟปี 2557 คือปี ค.ศ. 2017)
🌝ขอบคุณ finomena.com มีฟังก์ชั่น plot graph market capt ของบริษัท ดูง่ายเลย
หากเราอยู่กับ growth stock ที่กำไรยังโตได้ แม้ว่าราคาหุ้นจะแพงเกินไป เมื่อเจอกับภาะตลาดปรับฐานลงแรง เป็นธรรมดาที่ราคาจะเป๋ไปสักพักหนึ่ง แต่ถ้ากำไรยังโตได้อยู่เดี๋ยวมันก็กลับมา
(***หมายเหตุ ต่อไปจากปี 2019 ถ้าจะใช้กลยุทธนี้ หุ้นทั้ง 5 ตัวนี้ควร re-evaluate ใหม่ว่ายังเป็น growth stock อยู่หรือเปล่า)
ผมคงไม่ต้องอธิบายนะคับ ว่าบริษัททั้ง 5 ในตอนนั้นมีการเติบโตดีเพียงใดในหลายปีก่อน และทุกตัว PE ก็แพงมาก PE สูงหมด
กลยุทธการอยู่เฉยๆ ดูเหมือนเป็นเรื่องที่งี่เง่า เหมือนคนทึ่มๆ แต่แท้จริงแล้วมันมี strategy ที่ไม่ธรรมดา
เพราะในยุคฟองสบู่จริงๆของตลาดหุ้น มันเคยมีประวัติศาสตร์ยาวนานติดต่อกันจนยากที่จะอดใจไม่ขาย
จินตนาการว่าถือไปจนถึงวันที่เกิดวิกฤตจริงๆ หุ้นลงเละคามือเลย "ต่อให้พอร์ตหายไปครึ่งนึง เราอาจจะแปลกใจที่พอร์ตที่เหลืออยู่ตอนนั้น ดันมีมูลค่ามากกว่าคนที่ตกรถออกจากตลาดไปเมื่อหลายปีก่อนก็ได้"
แย่ไปกว่านั้น ถ้าเราขายไปทิ้งแล้วแน่ใจได้ยังไงว่าจะอดใจไหว ไม่ตามเข้าไปใหม่ตอนแพงแบบสุดขีด
ลองดูดัชนี Nasdaq 100 ก่อนฟองสบู่ดอทคอมจะแตก ใช้เวลากี่ปี ? ถ้านักลงทุนคิดว่าดัชนีขึ้นไปแตะ 1000 จุด ดูเหมือนแพงแพงแล้ว มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นหลักจากนั้นสิ
7) ออกไปลงทุนตลาดหุ้นต่างประเทศ : เรื่องนี้ผมได้พูดไปใน blockdit บทความที่แล้ว ( ลองไปหาอ่านดูนะคับ) และจะมีเขียนเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นต่างประเทศอีกเรื่อยๆ
คนที่คิดว่าไม่มีเวลาทุ่มเทให้ขนาดนั้น แนะนำให้หยุดตรงนี้ 🛑 return ที่ได้กับ vs effort ลงแรงไป ถึงจุดนี้ optimum สำหรับคนธรรมดาๆ แล้วคับ
หลังจากนี้ไปเป็นกลยุทธที่ใช้ความพยายามมากกว่าคนทั่วไป หากคุณเป็นที่ very aggressive ขยันและ passion มากๆ เราไปกันต่อเลยคับ
8) เอาตัวที่แพงนี้แหละ แต่ยังแพงกว่าได้อีกมาก : เรากำลังพูดการหา earning surprise จากบริษัทที่กำลังอยู่ในช่วง S-curve ของการเติบโต
คำว่า S-Curve พูดง่ายๆคือ "กำไรมันกระโดดรุนแรง ไม่ได้เพิ่มเป็นเส้นตรงง่ะ" เบื้องหลัง คือ การเปลี่ยนแปลงของพื้นฐานกิจการอย่างมีนัยยะสำคัญ
วิธีนี้พูดง่าย แต่ทำจริงมีโอกาสที่เราพลาด เผลอจะคิดไปเองสูงมาก ทำคนเจ็บมาเยอะแล้ว (คนตายไม่ได้พูด) ถึงได้บอกว่า require effort ที่สูงมากๆ รวมไปถึงมุมมองที่เฉียบขาดด้วย
ดูอย่าง growth stock grade B ในปี 2014 ที่กำลังเกิด S-curve ที่ผมเลือกไว้ตอนนั้นสิคับ
BLA , JUBILE , BEAUTY
มีใครปฏิเสธบ้างว่า ว่าหุ้นเหล่านี้ไม่ใช่ shining star เมื่อหลายปีก่อน รายงานผลประกอบการออกมาดี ติดๆกันหลายปี พูดอะไร ทำได้ตามเป้า (เกินคาดอีก) ทุกไตรมาส จนเคลิ้มกันไปหมด มีสาวกปกป้องหุ้นพวกนี้เกิดขึ้นมากมาย มันใช้เวลานานเหมือนนะ กว่าหุ้นพวกนี้จะเริ่มเห็นกำไรแป่ก !
การมุมมองคุณภาพของกำไรจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับวิธีนี้ คุณต้องมองแยกแยะให้ออกว่าการเติบโตนั้น sustain ไปถึงเมื่อไหร่ หรือ เป็นเพียงกระแสลมส่งท้ายชั่วขณะ
คุณมาจากอนาคตปี 2019 มองคนปี 2014 อะไรก็ดูง่ายไปหมด แต่ถ้าเราอยู่ตรงนั้นเราไม่รู้หรอก เห็นราคาขึ้นทุกวัน
แต่ถึงอย่างไร นี่ก็เป็นกลยุทธที่ผมชอบที่สุด สิ้นสุดที่ตรงนี้ครับ แต่ยังมีเหลือกลยุทธสุดท้ายเผื่อไว้ให้เป็นทางเลือก
9) กลยุทธอื่นๆ : Cyclicals , Turn Arounds , Asset Plays พวกนี้อาจจะสัมพันธ์กับภาวะตลาดน้อย เช่น หุ้น Cyclical ก็ขึ้นอยู่กับสภาพวัฐจักรของอุตสาหกรรมตัวมันเองเป็นสำคัญ
หุ้น Turn Around ก็เช่นกัน ตอนตลาดถูกๆ ไม่ turn จะมา turn เอาตอนแพงๆ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้
หุ้น Asset Plays จะปลดล็อคสินทรัพย์ ในยุคที่ตลาดแพงๆ ก็อาจจะเป็นได้
แต่ส่วนตัวผมบอกตรงๆว่า 50/50 มันมีความยากในการเล่นหุ้นประเภทเหล่านี้ และแน่นอน take effort สูงเช่นกันในการทำ Reserch ให้มีประสิทธิภาพ
สรุปตรงนี้อีกที 9 กลยุทธทั้งหมดที่ว่ามานี้ เรียงลำดับความชอบไล่ตามนี้นะคับ ซึ่งมุมมองเปลี่ยนไปจากตอน 5 ปีที่แล้วพอสมควร
เป็นยังไงกันบ้าง ชอบกลยุทธไหนมากกว่ากัน หวังว่าจะมีประโยชน์กับนักลงทุนในยุคตลาดแพงในปี2019นี้นะคับ
ขอบคุณที่ติดตาม GMH blockdit คับ
## ทุกบทความที่ได้ดาว GMH จะนำรายได้ทั้งหมดไปช่วยเหลือเด็กออทิสติค,พิการและอื่นๆอีกมากมาย ##
facebook : GMH pilot life
blockdit : GMH pilot investor

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา