15 ก.ค. 2019 เวลา 21:06 • ประวัติศาสตร์
กลุ่มก่อการร้ายคนขาว ที่ชื่อว่า “Ku Klux Klan” ออกไล่ล่า เข่นฆ่าและข่มขืนคนผิวดําด้วยความเกลียดชัง และ“นายทุนโจร” (robber baron) บนถนนวอลสตรีต กลับถูกอุ้มชูด้วยเงินภาษีของประชาชน …
แม้จะได้รับสิทธิให้เป็น “เสรีชน” ชาวแอฟริกันอเมริกันก็มักต้องพึ่งพา คนขาวทางเศรษฐกิจซึ่งหมายความว่าความเท่าเทียมแม้จะเป็นข้อกําหนดตามกฎหมาย แต่มักไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ แถมคนขาวผู้ทรงอิทธิพลในภาคใต้ยังร่วมกันตั้งกลุ่มก่อการร้ายที่เรียกว่า “Ku Klux Klan” ออกไล่ล่า ทําร้าย เข่นฆ่าและข่มขืนคนผิวดําด้วยความเกลียดชัง ความรุนแรงเกิดขึ้น ทันทีหลังสงครามกลางเมือง ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1866 (พ.ศ.2409)
ธงคูคลักซ์แคลน(ku klux klan) กลุ่มคนขาวสุดโต่ง
ผู้ก่อการร้ายผิวขาวสังหารขาวผิวดํา 46 คนทั้ง ๆ ที่ส่วนใหญ่เคยเป็นทหารของฝ่ายใต้ในเมืองนิวออลีนส์ ชาวแอฟริกันอเมริกัน 35 คนถูกฆ่า บ้าน โรงเรียนและโบสถ์ถูกเผา ระหว่างปี ค.ศ. 1867-1871 (พ.ศ.2410-2414) ความรุนแรงดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นถึง 116 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1924 (พ.ศ.2467) องค์กรนี้มีสมาชิกถึง 4.5 ล้านคนและขยายการปฏิบัติการขึ้นทางเหนือด้วย การดูถูกเหยียดหยาม ความเกลียดชังและยึดติดในความเหนือกว่าของสีผิว ยังดํารงอยู่จนถึงศตวรรษที่ 20
เมื่อชาวโลกรับทราบการที่นายบารัก โอบามา ได้รับเลือกเป็น ประธานาธิบดีชาวอัฟริกันอเมริกันคนแรกของสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2008 ก็มักแสดงความชื่นชมในความเท่าเทียมทางชาติพันธุ์และสีผิวของสหรัฐฯ แต่ถ้าได้พิจารณาความเป็นจริงเกี่ยวกับคนผิวดําในสังคมอเมริกันแล้วความ ชื่นชมดังกล่าวอาจเปลี่ยนไป
บารัก โอบามา ปธน.สหรัฐฯ คนที่ 44
ในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ.2553) สหรัฐฯมีจํานวน “คนคุก” ถึง 2.3 - 2.4 ล้านคนซึ่งเป็นจํานวนที่สูงที่สุดในโลก โดยร้อยละ 60 เป็นชาวแอฟริกัน อเมริกันหรือลาตินอเมริกัน จีนซึ่งมีจํานวนนักโทษมากเป็นอันดับสองมี จํานวนนักโทษเพียง 1.6 ล้านคนทั้งๆ ที่จีนมีประชากรถึง 1,300 ล้านคน นั่นหมายความว่าถ้าเทียบในจํานวนประชากรเท่า ๆ กัน สหรัฐฯ (ประชา ธิปไตย) จะมีจํานวนของนักโทษมากกว่าจีน (เผด็จการ) 6.4 เท่า
ข้อสําคัญ คือในความผิดเดียวกันนักโทษอเมริกันจะถูกคุมขังนานกว่านักโทษอังกฤษ 2 เท่า นักโทษแคนาดา 3 เท่า นักโทษชาวดัตช์ 4 เท่า นักโทษชาวฝรั่งเศส 5-10 เท่าและนักโทษสวีเดน 5 เท่า ความผิดฐานครอบครองยาเสพติดเพียง เล็กน้อยอาจทําให้ชาวอเมริกันต้องติดคุกถึง 5 ปี
โดยรวมอัตราการใช้ยาเสพติดในทุกชาติพันธุ์และสีผิวในสหรัฐฯ ไม่แตกต่างจากกัน แต่ร้อยละ 80 ของผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นชาวแอฟริกันอเมริกัน และชาวผิวดํามีโอกาสถูกพิพากษาให้ติดคุกมากกว่าชาวผิวขาว 20 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี ค.ศ. 1994-2003 “คนผิวดํา” ถูกจําคุกจากคดี ยาเสพติดนานขึ้น 62 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่ “คนขาว” ถูกจําคุกนานขึ้น 17 เปอร์เซ็นต์
คนผิวดําและชนกลุ่มน้อยถูกจับและดําเนินคดีในอัตราที่สูงกว่า “คนขาว” หลายเท่า และนโยบายปราบยาเสพติดเป็นนโยบายที่ “ทรยศ” ต่อ หลักความเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย (rule of law) สถิติที่รวมโดยศาสตราจารย์ ทางกฎหมายชื่อ อัลยา โซมิน เปิดเผยว่า “ณ ค.ศ.2008 (พ.ศ.2551) กว่าร้อยละ 60 ของผู้ที่ทําผิดคดียาเสพติดที่ไม่ก่อความรุนแรงเป็นชาวอัฟริกันอเมริกันเพศชายที่ยากจน ตัวเลขนี้เป็นผลของกฎหมายยาเสพติด และการบังคับใช้ที่ไม่เท่าเทียม การปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมของระบบยุติธรรมอเมริกันชี้ให้เห็นถึงการแบ่งชนชั้นและสีผิวอย่างชัดเจน”
ในปี ค.ศ.2010 (พ.ศ.2553) องค์กร World Justice Project ได้จัดทําดัชนีที่เรียกว่า “Rule of Law Index” หลังจากการสํารวจความ พึงพอใจของประชาชนในระบบยุติธรรมของ 35 ประเทศ ผลคือสหรัฐฯ ได้อันดับ 20 และตามหลังประเทศอย่างเม็กซิโก โครเอเซียและโดมินิกัน ด้วย ในสหรัฐฯ คนมีรายได้น้อยแสดงความพึงพอใจในระบบยุติธรรมของตน เพียงร้อยละ 41
ในขณะที่คนร่ำรวยแสดงความพอใจร้อยละ 71 ความแตกต่างกันถึงร้อยละ 40 เป็นความแตกต่างที่สูงที่สุด ช่องว่างดังกล่าว มีเพียงร้อยละ 5 ในฝรั่งเศส ร้อยละ 4 ในเกาหลีและไม่มีความแตกต่างเลย ในสเปน เมื่อเทียบกับประเทศตะวันตกอื่นๆ สหรัฐฯ ลงโทษรุนแรงและยาวนานสําหรับความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ และไม่ก่อความรุนแรงซึ่งเป็นความผิดที่ก่อโดยคนยากจนโดยเฉพาะชาวแอฟริกันอเมริกันและชนกลุ่มน้อย
1
แต่อาชญากรรมร้ายแรงที่ก่อขึ้นโดย “นายทุนโจร” (robber baron) บนถนนวอลสตรีต ซึ่งส่งผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและชีวิตชาวอเมริกันและชาวโลก กลับได้รับการอุ้มชูด้วยเงินภาษีของประชาชน และไม่มีผู้บริหารใดต้องติดคุกหลังยอมจ่ายค่าปรับก้อนหนึ่ง ข้ออ้างที่ถูกใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยรัฐบาลก็ คือ “กิจการเหล่านั้น too big too fail หรือใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้ม”
พล.อ.โทนี่ ซินนี อดีตผู้บัญชาการ “CENTCOM” กล่าวถึงสหรัฐฯ ในหนังสือ “The Battle for Peace, 2006 ” ของเขาว่า “สหรัฐฯ นั้นเป็นเมืองที่ตั้งบนภูเขา (city on the hill) หรือเป็นประภาคารที่ส่องแสงแห่งความดีงามไปทุกทิศทุกทาง”
อย่างไรก็ตาม โอลิเวอร์ โสตน และปีเตอร์ คุซนิค ผู้กํากับภาพยนตร์ชั้นนําของฮอลลีวูดและนักประวัติศาสตร์อเมริกัน กลับกล่าวถึงสหรัฐฯ ในหนังสือ “The Untold History the of United States, 2013” ของเขาว่า “มันเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ประเทศที่ทรงพลังทางด้านประชาธิปไตยของโลกได้ถูกสร้างขึ้นมาบนดินแดนที่ถูกขโมยมาจากชาวพื้นเมือง และน่าแปลกที่มันถูกสร้างโดยแรงงานทาสที่ถูกล่ามาจากแอฟริกา....มันเป็นหน้าที่ของผู้ที่รักชาติทุกคนที่ต้องเผชิญหน้ากับต้นกําเนิด ที่เจ็บปวดและต้องทําทุกอย่างให้ดีขึ้นในทุก ๆ ชั่วอายุคนต่อไป”
ล่าสุด คาร์ลอส จาเวียร์ ออร์ติส เขียนสรุปเกี่ยวกับสถานะคนผิวดํา ในสหรัฐฯ ไว้ในนิตยสารแอตแลนติก ฉบับมิถุนายน พ.ศ.2514 ว่า “ความมั่งคั่งของอเมริกาที่ถูกสร้างขึ้นในระยะ 250 ปีของการใช้แรงงานทาสเป็นบาดแผลลึกที่ไม่เคยหายสนิทหรือได้รับการชดเชยแก้ไข มันเป็นนโยบาย ของการเลือกปฏิบัติ การแบ่งแยกผิว การเหยียดชาติพันธุ์ที่ยังยืนหยัดอย่างมั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน”
:: Books Reference ::
- Glenn Greenwald, “With Liberty and Justice : How The Law Is Used to Destroy Equality and Protect the Powerful”, Picador. New York, 2011, เกลนฯ เป็นนักเขียน หนังสือขายดีและได้รับเลือกจากนิตยสารแอตแลนติก
- Howard Zinn, “A People's History of the United States, 1492-Present” HarperCollins Publishers, New York, 2005, โฮเวิร์ดฯ เป็นศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยบอสตัน
- Niall Ferguson, “Civilization”, Penguin Group, USA, 2011, ในอัลล์ฯ เป็นศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์สากล ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา