16 ก.ค. 2019 เวลา 04:11 • ธุรกิจ
Digital Music War ตอนที่ 3 : iPod was Born
MP3 เป็นผลงานการคิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันกลุ่มหนึ่งในปี 1987 คล้าย ๆ กับการตัดไฟล์วีดีโอเพื่อให้เล่นได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการตัดเอา data ที่ไม่จำเป็นออกมาให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ มันเป็นการนำ data ออกไปโดยที่ผู้ฟังไม่ทันสังเกตเห็น
1
Digital Music War ตอนที่ 3 : iPod was Born
มันทำให้ไฟล์ที่ได้รับการตัดแต่งแล้วนั้น เป็นไฟล์ที่บรรจุข้อมูลน้อยที่สุด แต่ให้ผลแสดงออกมาที่เยี่ยมสมบูรณ์แบบเมื่อมนุษย์ ได้ยิน และ ได้ฟัง เป็นไฟล์ที่มีขนาดลดลงเหลือเพียง หนึ่งในสิบสองของไฟล์ต้นฉบับ ทำให้ลดจำนวนการเก็บข้อมูลได้มากโขเลยทีเดียว และมันกำลังรอคอยให้ จ๊อบส์ มาเพิ่มพูนคุณประโยชน์ให้กับมัน
โดยหลังจากเริ่มโครงการอย่างเป็นทางการ จ๊อบส์ ก็เข้ามาคลุกคลีด้วยทุกวัน จ๊อบส์ให้ concept หลักของ iPod คือ “ทำให้ง่ายเข้าไว้!” ทุกฟังก์ชัน ต้องทำได้ภายใน 3 click ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะบางครั้งทีมงาน ต้องพยายามแก้ไขปัญหาในส่วนของ User Interface แบบไม่ได้หลับไม่ได้นอน
แต่จ๊อบส์ก็พยายามหาจุดอ่อน ไปเรื่อย ๆ และให้ทีมงานไปคิดหาวิธีแก้มา ซึ่งบางครั้งทีมงานก็คิดไม่ออกว่าจะไปถึงสิ่งที่จ๊อบส์ต้องการได้อย่างไร มันเป็นเรื่องที่บ้ามาก ๆ ในหลายเรื่องที่ทีมงานต้องมานั่งแก้ไขเพื่อให้จ๊อบส์นั้นพอใจ จนตอนนั้น มันทำให้ปัญหาเล็ก ๆ ต่าง ๆ แทบมลายหายไปเลยทีเดียว เพราะจ๊อบส์ จะเห็นรายละเอียดในทุก ๆ จุด และสั่งให้แก้ไขมันทันที
กระบวนการออกแบบ iPod นั้นเป็นการผสานความร่วมมือที่น่าทึ่ง การสร้างวงล้อเลื่อน ที่ ฟิล ชิลเลอร์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด เป็นคนผลักดันความคิดนี้ มันเป็น idea ที่สำคัญที่สุดของ iPod ที่ทำให้แตกต่างจากเครื่องเล่น MP3 อื่น ๆ ในตลาด
ชิลเลอร์ นั้นเสนอ ล้อกลม ๆ สำหรับใช้เลือกเพลง ( trackwheel ) แค่ใช้นิ้วโป้งหมุนวงล้อ ผู้ใช้จะสามารถเลือกเพลงใน Playlist ได้ ยิ่งหมุนนาน ก็ยิ่งไล่เพลงได้เร็วขึ้น ถึงจะมีเพลงเป็นร้อยเป็นพันเพลง ก็สามารถไล่ดูได้ง่าย ซึ่งไอเดียนี้ จ๊อบส์ร้องอุทาน “นั่นแหละใช่เลย!!!” แล้วสั่งให้ฟาเดลล์ กับทีมวิศวกร ลงมือทำทันที
ฟิล ชิลเลอร์ ผู้คิดคิ้น TrackWheel การปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานรูปแบบใหม่
ส่วนหน้าที่การออกแบบหลัก ๆ ของส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของโจนาธาน ไอฟฟ์ หัวหน้านักออกแบบ Concept สำคัญของ ไอฟฟ์ ในการออกแบบ iPod คือ การกำจัดทิ้ง ดังนั้น iPod จึงไม่ได้รองรับการใช้งานคลื่นเอฟเอ็ม bluetooth หรือ แม้กระทั่ง WIFI ทีมของ ไอฟฟ์ มุ่งเน้นให้ iPod รองรับประสบการณ์ที่ดีที่สุดของผู้ใช้งานเป็นหลัก
แม้การออกแบบจะดูดีมากแค่ไหน แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ กระบวนการผลิตมัน ต้องสามารถรอบรับการผลิตในทางวิศวกรรมได้ มันเป็นงานที่ยากมาก ๆ ให้ Design มาบรรจบกับหลักการทางวิศวกรรม ที่รองรับการผลิตจำนวนมาก ๆ ได้
1
สิ่งหนึ่งที่ ไอฟฟ์ ยึดถืออย่างมั่นคง ก็คือ ต้องไม่มีช่องว่างที่โครงสร้างด้านนอกของตัวอุปกรณ์ ไม่มีแผงใส่แบตเตอรี่ที่ถอดเปลี่ยนได้ และไม่เหลือที่ว่างใด ๆ ไอฟฟ์ ต้องการอุปกรณ์ที่หารอยต่อแทบไม่เจอ
สิ่งเดียวที่ไอฟฟ์ ยอมให้มีคือ แผ่นพลาสติกที่ดึงเปิดขึ้นมาได้ ซึ่งครอบจุดเชื่อมต่อ FireWire ด้านบนไว้ เพื่อให้ผิวสัมผัสของโลหะบริเวณนั้น ดูสะอาดอยู่เสมอนั่นเอง เขาเรียกร้องว่า จะต้องผลิตหูฟังทั้งแบบสวมหัวและแบบใส่เข้าไปในหูที่เป็นสีขาว เพื่อให้เข้ากับด้านหน้าของ iPod
แม้จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นก็ตาม ทำให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้นกับหัวหน้าฝ่ายฮาร์ดแวร์อย่าง รูบินสไตน์หลายครั้ง ซึ่งมองเรื่องโครงสร้างทางวิศวกรรมและเรื่องต้นทุนเป็นหลัก และเป็นผู้รับผิดชอบบสูงสุดในการนำแบบของไอฟฟ์ไปผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์จริง ๆ ให้ได้ แต่เนื่องจากจ๊อบส์กับไอฟฟ์ กลายเป็นคู่หูรู้ใจ เพราะฉะนั้น จ๊อบส์จึงสนับสนุนแนวคิดของ ไอฟฟ์แบบเต็มที่ แม้จะทำให้หัวทีมฮาร์ดแวร์อย่าง รูบินสไตน์ หงุดหงิดก็ตาม
จ๊อบส์ เผยโฉมเครื่อง iPod ครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2001 ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจนเป็นแบบฉบับของตัวเอง ในบัตรเชิญที่ส่งไปยังสื่อ นั้น มีข้อความยั่วยวนว่า “คำใบ้: คราวนี้ไม่ใช่ Mac”
และเมื่อถึงเวลาเผยโฉมผลิตภัณฑ์ หลังจากบรรยายสมรรถนะทางเทคนิคแล้วจ๊อบส์ไม่ได้เดินไปเปิดผ้าคลุมกำมะหยี่บนโต๊ะ อย่างที่เคยทำในทุก ๆ ครั้งที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ apple แต่เขาแค่พูดขึ้นว่า “ผมบังเอิญมีเจ้านี่อยู่ในกระเป๋า” เขาล้วงเอาอุปกรณ์สีขาววาววับออกจากกระเป๋ากางเกงยีนส์ “เจ้าเครื่องเล็ก ๆ น่าทึ่งนี่ จุเพลงได้ 1,000 เพลง และใส่กระเป๋าผมได้พอดี” เขาใส่มันกลับเข้าไปในกระเป๋า แล้วเดินลงจากเวทีท่ามกลางเสียงปรบมือเกรียวกราวจากเหล่าสาวก
iPod ได้กลายมาเป็นแก่นสำคัญของทุกอย่างที่ apple ถูกชะตาได้กำหนดมาแล้ว ทั้งบทกวี ที่เชื่อมโยงกับวิศวกรรม ศิลปะ และ ความคิดสร้างสรรค์ มาบรรจบกับเทคโนโลยี การออกแบบที่กล้าแต่เรียบง่าย การใช้งานที่ง่ายมาก ๆ ซึ่งมันเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก และทำอย่างบูรณาการตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่ FireWire ถึงตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ และการจัดการคอนเทนต์ เมื่อลูกค้าหยิบเครื่อง iPod ออกจากกล่อง มันสวยจนดูคล้ายเรืองแสงได้ เทียบกันแล้ว ดูเหมือนเครื่องเล่นเพลงยี่ห้ออื่น ๆ ถูกออกแบบและผลิตในดินแดนที่ล้าหลังเลยทีเดียว
ต้องยอมรับว่า ตอนนั้น iPod โครตที่จะสมบูรณ์แบบเลย มันแทบจะสุดยอดนวัตกรรมใหม่ ที่คนทั่วโลกต่างตื่นเต้นกับเจ้า iPod เครื่องนี้ และเพียงไม่นาน ผู้บริโภคก็ทำให้มันกลายเป็นสินค้าขายดี
เมื่องาน Design และวิศวกรรมมาบรรจบกันอย่างลงตัว ทำให้ iPod กลายเป็นสินค้าฮิตทันทีที่วางขาย
และมันส่งผลชัดเจนในเรื่องตัวเลข ยอดขายในไตรมาสแรก หลังจากวางตลาดนั้นสูงถึง 250,000 เครื่อง และอีกสิบแปดเดือนต่อมา ยอดขายก็ทะยานเพิ่มขึ้นมากกว่า 800,000 เครื่อง ส่งผลให้ iPod เป็นเครื่องเล่นเพลงดิจิตอลที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกทันที
มาถึงตอนนี้ ต้องบอกว่า iPod ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ ปลุก Apple ให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง และพร้อมจะก้าวเข้าไปท้าทายอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของ Microsoft อย่างเต็มตัว หลังจากพ่ายแพ้มาอย่างหมดรูปในศึกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การกลับมาของจ๊อบส์ในคำรบที่สองนี้ ได้มาเปลี่ยนแปลง Apple จากบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ เข้าสู่ตลาดที่ใหญ่กว่าอย่าง Conssumer Product ที่มี iPod เป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรก แล้ว iPod จะพา Apple พลิกสถานการณ์กลับมายิ่งใหญ่ได้อย่างไร แล้ว Microsoft จะเอะใจกับความสำเร็จครั้งนี้ของ Apple หรือไม่ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม
อ่านตอนที่ 4 : Digital Home
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา