Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Cherphyxia
•
ติดตาม
4 ส.ค. 2019 เวลา 00:30 • ประวัติศาสตร์
“นิโคลา เทสลา” (Nikola Tesla) อัจฉริยะสติเฟื่อง ที่โลกลืม ตอนที่ 2
การทำงานกับ “เอดิสัน” คู่ปรับในอนาคต
ภาพจาก http://tribupedia.com/edison-vs-tesla-electricity-got-started/edison-machine-works-paris-france/
ใช่แล้วครับ คุณนึกไม่ผิด “เอดิสัน” คนนั้นคือ “โทมัส อัลวา เอดิสัน”
(Thomas Alva Edison) ที่หลายคนคงรู้จักชื่อเขาเป็นอย่างดี
ในปี ค.ศ.1881 (พ.ศ.2424) เทสลาไปทำงานกับ Tivadar Puskás นักประดิษฐ์ชาวฮังการี ในเมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เป็นหัวหน้าช่างไฟฟ้าที่ชุมสายโทรศัพท์ในเมืองบูดาเปสต์ ที่นี่เขาได้ปรับปรุงอุปกรณ์ที่สถานีจนทำงานได้อย่างดีเยี่ยมแต่ไม่เคยจดสิทธิบัตรหรือได้รับการเผยแพร่
ปีถัดมาเจ้านายส่งเขาไปทำงานที่กรุงปารีสกับ Continental Edison Company
บริษัทของโทมัส อัลวา เอดิสัน นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันผู้โด่งดัง
เขาทำงานในแผนกติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างซึ่งทำให้เขาได้รับประสบการณ์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างมาก
ด้วยความเก่งทั้งด้านวิศวกรรมและฟิสิกส์ เขาจึงได้รับมอบหมายให้ออกแบบและปรับปรุง
เจนเนอเรเตอร์ (เครื่องกำเนิดไฟฟ้า) และมอเตอร์ รวมทั้งส่งเขาไปแก้ปัญหาตามสาขาต่างๆของบริษัททั่วทั้งฝรั่งเศสและเยอรมัน
ต่อมาในปี ค.ศ.1884 (พ.ศ.2427) เจ้านายที่กำกับดูแลงานที่ปารีสต้องกลับไปบริหารงานที่บริษัท Edison Machine Works ซึ่งกำลังทำงานสร้างระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ในกรุงนิวยอร์ก เขาชวนเทสลาไปทำงานด้วย
Edison machine works Building
เทสลาจึงย้ายไปอยู่ที่อเมริกาตอนกลางปี และได้ทำงานแก้ปัญหาการติดตั้งระบบไฟฟ้าและปรับปรุงเจนเนอเรเตอร์เหมือนตอนอยู่ที่ปารีส แต่ทำงานได้แค่ 6 เดือนก็ลาออกไปด้วยสาเหตุที่ยังคลุมเครือ
ว่ากันว่าสาเหตุสำคัญเป็นเพราะเอดิสันให้เทสลาปรับปรุงเจนเนอเรเตอร์และมอเตอร์ของเขาที่ประสิทธิภาพต่ำ
และบอกว่าจะจ่ายโบนัสให้ 50,000 ดอลลาร์(ประมาณ 1.6 ล้านบาท) (เมื่อเทียบมูลค่าปัจจุบันเกิน 1 ล้านดอลลาร์ก็ประมาณ 32 ล้านบาท) [คิดเรท 1 ดอลล่าร์ = 32 บาท]
ถ้าเทสลาทำได้สำเร็จ เมื่อเทสลาทำสำเร็จจริงเอดิสันกลับ ‘เบี้ยว’ ไม่ยอมจ่าย อ้างว่าแค่พูดเล่นขำๆ
เปิดบริษัทเองครั้งแรกก็เจอนายทุนเจ้าเล่ห์
ภาพจาก https://www.takieng.com/stories/8144
หลังออกจากบริษัทของเอดิสัน เทสลาได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรเรื่องระบบไฟอาร์ก (Arc lighting) ที่เป็นระบบไฟแสงสว่างที่นิยมใช้ภายนอกอาคารหรือเป็นไฟถนน
ทนายที่เขาจ้างมาช่วยในเรื่องการยื่นขอจดสิทธิบัตรได้แนะนำกลุ่มนักลงทุนที่สนใจและยินดีลงทุนเปิดบริษัทผลิตอุปกรณ์และสร้างระบบไฟอาร์กในชื่อของเทสลา Tesla Electric Light & Manufacturing จึงถือกำเนิดขึ้น
เทสลาได้ออกแบบหลอดไฟอาร์ก สวิทช์ และปรับปรุงเจนเนอเรเตอร์กระแสตรงซึ่งทำให้เขาได้รับสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา
เทสลาได้สร้างและติดตั้งระบบที่เมือง Rahway ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ระบบใหม่ของเทสลาได้รับคำชมจากสื่อมวลชนว่าเป็นระบบที่ก้าวหน้าทันสมัยมาก
แต่ทว่ากลุ่มนายทุนของบริษัทไม่ค่อยสนใจไอเดียของเทสลาเรื่องมอเตอร์และระบบจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ
หลังจากที่ระบบติดตั้งเสร็จและเดินเครื่องแล้วในปี ค.ศ.1886 (พ.ศ.2429) พวกเขาเห็นว่าธุรกิจด้านการผลิตอุปกรณ์มีการแข่งขันมากและเลือกที่จะทำบริษัทผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว
จึงไปเปิดบริษัทใหม่และปิดบริษัทของเทสลาโดยไม่เหลือเงินไว้เขาเลย เทสลาเสียสิทธิ์การเป็นเจ้าของสิทธิบัตรเนื่องจากเขามอบให้กับบริษัทแลกกับการถือหุ้นไปแล้ว
หลังจากนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของเทสลา เขาต้องไปรับงานซ่อมไฟฟ้าต่างๆและงานขุดร่องน้ำค่าแรงวันละ 2 ดอลลาร์(ประมาณ 64 บาท)เพื่อประทังชีวิต
แล้วชีวิตของเขาจะเป็นยังไงต่อไป...
โปรดติดตามตอนต่อไป..
ถ้าชอบอย่าลืมกดไลค์และติดตามเพจเพื่อที่จะไม่พลาด content ที่น่าใจต่อไป
Reference :
https://www.takieng.com/stories/8144
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/25171/037137
10 บันทึก
30
2
14
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
“นิโคลา เทสลา” (Nikola Tesla) นักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง ที่โลกลืม
10
30
2
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย