4 ส.ค. 2019 เวลา 23:05 • ประวัติศาสตร์
“นิโคลา เทสลา” (Nikola Tesla) อัจฉริยะสติเฟื่อง ที่โลกลืม ตอนที่ 3
สุดยอดนักประดิษฐ์แห่งศตวรรษ
ภาพจาก https://www.qrz.com/db/KG5ZLE/
ปลายปี ค.ศ.1886 (พ.ศ.2429) เทสลาได้พบกับ Charles Peck และ Alfred Brown ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญในการจัดตั้งบริษัทและหาประโยชน์ทางการเงินจากสิ่งประดิษฐ์และสิทธิบัตร
ทั้งสองตกลงสนับสนุนด้านการเงินแก่เทสลาและดูแลเรื่องผลประโยชน์ในสิทธิบัตร พวกเขาได้จัดตั้ง Tesla Electric Company ขึ้นในปี ค.ศ.1887 (พ.ศ.2430)
แบ่งผลกำไรกันลงตัว เทสลาได้ไปหนึ่งในสาม อีกหนึ่งในสามเป็นของ Peck และ Brown ส่วนที่เหลือเป็นกองทุนสำหรับการพัฒนา
พวกเขาได้สร้างห้องแล็บให้กับเทสลาในนิวยอร์กซึ่งเป็นที่ที่เทสลาได้ประดิษฐ์และพัฒนาอุปกรณ์ชนิดใหม่มากมาย ผลงานการประดิษฐ์และการพัฒนาที่สำคัญของเทสลา ได้แก่
ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current System) – แม้ว่าเทสลาจะไม่ใช่คนแรกที่คิดค้นหรือพัฒนาไฟฟ้ากระแสสลับ
แต่ระบบที่เขาออกแบบและพัฒนาขึ้นซึ่งประกอบด้วยเจนเนอเรเตอร์ หม้อแปลงไฟฟ้า สายส่ง และระบบจ่ายไฟมีประสิทธิภาพสูงและราคาถูก จึงเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายทั่วโลก
ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternative current System)
มอเตอร์เหนี่ยวนำ (Induction Motors) – เทสลาพัฒนามอเตอร์เหนี่ยวนำที่ทำงานกับไฟฟ้ากระแสสลับในปี ค.ศ.1887 (พ.ศ.2420)
สร้างแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อการเลือกใช้ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ เนื่องจากก่อนหน้านี้ยังไม่มีมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพดีพอ ไฟฟ้ากระแสสลับจึงยังไม่ค่อยได้รับความนิยม
มอเตอร์เหนี่ยวนำเป็นส่วนประกอบสำคัญของพัดลม เครื่องดูดฝุ่น เครื่องซักผ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าเกือบทุกชนิด รวมไปถึงเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน
มอเตอร์เหนียวนำ (Induction motors)
ขดลวดเทสลา (Tesla Coil) – เป็นอุปกรณ์ที่สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้าระดับสูงมากโดยอาศัยหลักการเรโซแนนซ์ในวงจรไฟฟ้า ขดลวดเทสลาสามารถสร้างประกายไฟคล้ายฟ้าแลบฟ้าผ่า ปัจจุบันถูกใช้ในวงการบันเทิง ภาพยนตร์ และการศึกษา
ขดลวดเทสลา (Tesla coil)
วิทยุ (Radio) – เทสลาพัฒนาอุปกรณ์ส่งสัญญาณวิทยุที่พร้อมทดสอบในปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2428) แต่โชคไม่ดีห้องปฏิบัติการของเขาไฟไหม้ การทดสอบจึงถูกเลื่อนออกไป
วิทยุ (Radio) ของ Tesla
ต่อมาเขาได้รับสิทธิบัตรวิทยุในปี ค.ศ.1990 (ค.ศ.2533) ช่วงเวลาใกล้เคียงกันในยุโรป Guglielmo Marconi ได้รับสิทธิบัตรวิทยุในปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439)
วิทยุ ของ Guglielmo Marconi
แต่วิทยุของ Marconi แตกต่างกับของเทสลาค่อนข้างมาก มีเพียง 2 วงจรส่งสัญญาณได้ไม่ไกล ส่วนของเทสลามีวงจรซับซ้อนสัญญาณแข็งแรงกว่าส่งไปได้ไกลกว่ามาก ต่อมา Marconi ประสบผลสำเร็จกับการพัฒนาวิทยุของเขา
โดยมีการใช้อุปกรณ์บางอย่างจากสิทธิบัตรของเทสลา จึงได้รับสิทธบัตรในสหรัฐฯและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์วิทยุ เทสลายื่นฟ้องศาล
ต่อมาในปี ค.ศ.1943 (พ.ศ.2486) ศาลสูงตัดสินให้สิทธิบัตรเป็นของเทสลา แต่ตอนนั้นนักประดิษฐ์ทั้งสองคนเสียชีวิตไปแล้ว
รีโมตคอนโทรล (Remote Control) – เทสลาประดิษฐ์รีโมตคอนโทรลโดยใช้สัญญาณวิทยุในปี ค.ศ.1898 (พ.ศ.2441) ก่อนที่ชาวโลกจะมีรีโมตทีวีใช้เกือบ 60 ปี
เขายื่นขอจดสิทธิบัตรแต่น่าเสียดายที่ไม่ได้รับอนุมัติ เทสลาจึงสร้างเรือบังคับวิทยุ เรียกว่า Teleautomaton สาธิตต่อสาธารณะชนในนิทรรศการด้านไฟฟ้าในปีเดียวกัน
เรือบังคับวิทยุของเทสลานอกจากจะเป็นต้นแบบของรีโมตคอนโทรลทั้งหลายแล้ว ยังเป็นต้นแบบของโดรนที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
รีโมตคอนโทรล (Remote Control)
หลอดไฟนีออน (Neon Lamps) – เทสลาไม่ใช่เป็นคนประดิษฐ์หลอดฟลูออเรสเซนต์และหลอดนีออน
แต่เขาได้พัฒนาให้หลอดไฟทั้งสองชนิดก้าวหน้าอย่างมาก ในงาน World’s Columbian Exposition ปี ค.ศ.1893 (พ.ศ.2436)
เทสลาได้พัฒนาหลอดนีออนให้พับโค้งงอได้ทำเป็นป้ายไฟตัวอักษรและสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบและนิยมนำไปใช้กันทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
หลอดไฟนีออน (Neon lamp)
นอกจากนี้เทสลายังสร้างสิ่งประดิษฐ์อื่นอีกมาก เช่น Tesla Turbine เครื่องจักรกังหันไร้ใบพัด, Shadowgraphs เครื่องถ่ายภาพด้วยรังสีเอ็กซ์, Tesla’s Oscillator เครื่องกำเนิดสัญญาณความถี่สูง
รวมทั้งเทคโนโลยีการส่งพลังงานแบบไร้สายที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยม เทสลาเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ราว 300 รายการ
1
มีส่วนช่วยต่อความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลกอย่างมาก ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) บริษัท Nikola Tesla Company ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลสิ่งประดิษฐ์และสิทธิบัตรของเทสลาทั้งหมด
เรื่องราวชีวิตเขาจะเป็นยังไงต่อไป...
โปรดติดตามตอนต่อไป
ถ้าชอบอย่าลืมกดไลค์และติดตามเพจเพื่อที่จะไม่พลาด content ที่น่าใจต่อไป
เทสลาถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ
ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง
เขาไม่เพียงเป็นอัจฉริยะเจ้าของสิทธิบัตรกว่า 300 รายการ หากยังเป็นบิดาแห่งวงการวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า มีชื่อเสียงโด่งดังทัดเทียมเอดิสันในครึ่งแรกของชีวิต
โฆษณา