5 ส.ค. 2019 เวลา 03:07 • ประวัติศาสตร์
“นิโคลา เทสลา” (Nikola Tesla) อัจฉริยะสติเฟื่อง ที่โลกลืม ตอนที่ 4
สงครามกระแสไฟฟ้าจุดไฟสว่างไสวทั่วโลก
Chicago World’s fair 1893 (พ.ศ.2436)
ต่อเนื่องเมื่อเทสลาพัฒนามอเตอร์เหนี่ยวนำที่ทำงานกับไฟฟ้ากระแสสลับสำเร็จในปี ค.ศ.1887 (พ.ศ.2430) นับเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกระแสไฟฟ้า (The War of Currents)
โดย บริษัท Westinghouse Electric & Manufacturing Company ของจอร์จ เวสติงเฮาส์ วิศวกรและนักธุรกิจชาวอเมริกัน
ได้ซื้อลิขสิทธิ์มอเตอร์เหนี่ยวนำและแบบหม้อแปลงไฟฟ้าของเทสลา รวมทั้งจ้างเทสลาไปเป็นที่ปรึกษาด้วยค่าจ้างสูงลิ่ว 2,000 ดอลลาร์ต่อเดือน(ประมาณ 64,000 บาทต่อเดือน) (มูลค่าปัจจุบันราว 54,500 ดอลลาร์ราวๆ 1.74 ล้านบาท)
[คิดเรท 1 ดอลล่าร์เท่ากับ 32 บาท]
เพื่อไปสร้างโรงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แข่งกับบริษัท Edison Electric Light Company ของเอดิสันที่ใช้ระบบไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งเป็นเจ้าตลาดอยู่ในขณะนั้น
การแข่งขันเข้มข้นขึ้นตามมาด้วยปฏิบัติการเชิงจิตวิทยา ฝ่ายเอดิสันพยายามชี้นำผู้ใช้ให้เห็นข้อเสียของไฟฟ้ากระแสสลับ เน้นไปที่ว่ามีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
จำลองเหตุการณ์ให้เห็นชัดด้วยการเอาไฟฟ้ากระแสสลับช็อตสัตว์ต่างๆ ตั้งแต่สุนัข แมว ม้า ไปจนถึงช้าง และถ่ายภาพยนตร์ออกเผยแพร่เพียงเพื่อแสดง
เก้าอี้ไฟฟ้า (The Electric chair)
ให้เห็นอันตรายจากการใช้ไฟฟ้ากระแสสลับเท่านั้น ซึ่งว่ากันว่าอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เอดิสันนั้นไม่เข้าใจหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับตามที่เทสลาอธิบาย
นี่จึงเป็นการประกาศว่าเอดิสันไม่ยอมรับสิ่งประดิษฐ์ของเทสลานั่นเอง
ต่อมายังได้ประดิษฐ์เก้าอี้ไฟฟ้าที่ใช้ประหารชีวิตคน เพื่อให้ผู้คนกลัวไม่กล้าใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ฝ่ายเวสติงเฮาส์ที่มีเทสลาเป็นผู้ออกแบบระบบจึงต้องแสดง
ให้เห็นข้อดีที่เหนือกว่าในเรื่องสามารถส่งไฟฟ้าได้ไกลกว่ามาก ราคาถูกกว่ามาก และไม่ได้เป็นอันตรายมากอย่างที่อีกฝ่ายบอก
ปี ค.ศ.1893 (พ.ศ.2436) มีเหตุการณ์สำคัญอันเป็นจุดตัดสินของสงครามคือ งานนิทรรศการ World’s Columbian Exposition ที่เมืองชิคาโก
งานใหญ่มากเป็นการจัดเพื่อฉลองครบรอบ 400 ปีที่โคลัมบัสพบดินแดนใหม่ (ทวีปอเมริกา) มีผู้ร่วมงานถึง 27 ล้านคน
บริษัทของเวสติงเฮาส์ชนะการประมูลระบบไฟฟ้าแสงสว่างสำหรับงานทั้งหมดโดยใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ
ด้วยราคาเพียงครึ่งหนึ่งของฝ่ายเอดิสันที่เสนอด้วยระบบไฟฟ้ากระแสตรง
แล้วเวสติงเฮาส์และเทสลาก็ได้แสดงถึงประสิทธิภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่จ่ายไฟให้กับหลอดไฟเกือบหนึ่งแสนดวง
นอกจากนี้ในงานเทสลายังได้แสดงเทคโนโลยีใหม่อย่างอื่นอีก เช่น หลอดไฟไร้สาย หลอดไฟนีออน ฯลฯ
ปีเดียวกันหลังงานนิทรรศการ บริษัทของเวสติงเฮาส์ยังได้รับงานสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่น้ำตกไนแองการาโดยใช้ระบบเดียวกันกับในงานนิทรรศการ
ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดีและกลายเป็นแบบอย่างของระบบไฟฟ้าทั่วโลก ต่อมาบริษัท General Electric ที่เอดิสันเป็นหนึ่งผู้ก่อตั้งได้ซื้อลิขสิทธิ์ระบบไฟฟ้ากระแสสลับของเทสลาต่อจากเวสติงเฮาส์
แล้วเปลี่ยนมาทำระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ทำให้บริษัทของเวสติงเฮาส์และเอดิสันกลายเป็นสองยักษ์ใหญ่ในกิจการด้านไฟฟ้าของโลก
แต่เทสลาไม่ได้ผลประโยชน์ใดๆจากสิทธิบัตรไฟฟ้ากระแสสลับอีกเลยเนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ขายขาดให้กับเวสติงเฮาส์ไปแล้วในราคาแสนย่อมเยาว์
โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ
จะเป็นยังไงต่อไป...
โปรดติตตามตอนต่อไป
ถ้าชอบอย่าลืมกดติดตามเพื่อที่จะไม่พลาด content ที่น่าสนใจ
โฆษณา