6 ส.ค. 2019 เวลา 00:09 • ธุรกิจ
Smartphone War ตอนที่ 2 : Android & Google
ในเดือนกันยายนปี 2005 การประกาศรวมตัวของ Microsoft กับ Palm นั้นทำให้พนักงาน Google คนหนึ่งเกิดความสนใจขึ้นมา เขาคือ Andy Rubin ผู้เป็นอดีตพนักงาน Apple และเพิ่งได้ทำการขายบริษัทที่สองของเขาคือ Android ไปให้กับ Google ได้ไม่นาน
Smartphone War ตอนที่ 2 : Android & Google
Andy Rubin เป็นชาวยิวอเมริกัน ที่เติบโตในนิวยอร์ก เป็นลูกของนักจิตวิทยาที่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาเอง และพ่อของเขาก็ทำงานเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย เขาสามารถสร้างกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ ได้ด้วยตนเอง ขณะที่ยังเด็ก
1
โดยเขาเรียนจบจากวิทยาลัยอูตีกา ในอูตีกา นิวยอร์ก ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เขามีประวัติการทำงานอันน่าทึ่ง เพราะเริ่มทำงานที่บริษัท คาร์ล ไซซ์ ในตำแหน่ง วิศวกรหุ่นยนต์ ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่บริษัทแอปเปิล ในฐานะวิศวกรควบคุมฝ่ายการผลิต
หลังจากนั้นก็ได้เข้าร่วมงานกับ Artemis Research ที่ก่อตั้งโดย Steve Perlman ซึ่งเป็นผู้สร้าง WebTV ที่สุดท้ายได้ถูก Microsoft ซื้อไปในที่สุด
หลังจากนั้นอีกหลายปีต่อมา Rubin ก็ได้ออกมาตั้งบริษัทเองชื่อ Danger Inc. ซึ่งบริษัท Danger นี่เองที่เป็นผลงานโดดเด่นมากของ Rubin ในการทำระบบ OS บนมือถือ
ซึ่งได้กลายเป็นสินค้ายอดฮิตของวัยรุ่นอเมริกานั่นคือ Danger Hiptop (T-Mobile SideKick) ซึ่งเป็นโทรศัพท์ที่มีความสามารถคล้าย ๆ กับ PDA โดยมีการบอกความเป็น Entertainment ให้ดูมีความสนุกสนานเหมาะกับวัยรุ่นมากขึ้น ซึ่งต่อมา Microsoft ก็ได้เข้าไปซื้อกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2008
Danger Hiptop (T-Mobile SideKick) สินค้ายอดฮิตของวัยรุ่นอเมริกา
สำหรับ Android นั้น ดูเหมือนว่าในตอนแรก Google จะดูไม่มีท่าทีจะสนใจโดยเฉพาะ CEO ในขณะนั้นอย่าง เอริก ชมิตต์ ดูจะส่ายหัวกับ idea การจะสร้างระบบปฏิบัติการมือถือของ Google ขึ้นมา
แต่สองผู้ก่อตั้งของ Google อย่าง แลร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน นั้นได้มองเห็นโทรศัพท์มือถือว่าเป็นอนาคตที่สำคัญ จึงได้ทำการไปแอบซื้อ Android มาโดยไม่ปรึกษา CEO ในขณะนั้นอย่าง ชมิตต์ แต่อย่างใด
แน่นอนว่าพวกเขาทั้งสองนั้นได้เล็งเห็นถึงอนาคตของวงการมือถือ เพราะผลิตภัณฑ์หลักอย่าง Search Engine ของ Google นั้น ต่อไปในอนาคต คนต้องใช้งานผ่านมือถืออย่างแน่นอน ซึ่งเป็นการตัดสินใจซื้อบริษัทครั้งสำคัญครั้งนึงเลยของ Google ที่มีต่อแผนธุรกิจระยะยาวของพวกเขา
ทั้ง เพจ บริน และ รูบิน นั้น มองเห็นอนาคตของ อินเตอร์เน็ตที่จะเคลื่อนไปสู่มือถือ และเมื่อถึงตอนนั้น คนก็จะค้นหาผ่านมือถือมากกว่า PC และ Smartphone จะกลายเป็นอุปกรณ์ประจำกายของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้อย่างแน่นอน
เพราะคนสามารถใช้ Smartphone เคลื่อนที่ไปไหนก็ได้อย่างอิสระเสรี ไม่ต้องมาอยู่กับที่เหมือนกับการเล่นอินเตอร์เน็ตบน PC หรือ Desktop และจะเกิดข้อมูลขึ้นอย่างมหาศาลเมื่อเหล่าผู้ใช้งานเคลื่อนที่ไปแต่ละแห่งอยู่ตลอดเวลา และขณะนั้นพวกเขาอยู่ที่ไหนเมื่อตอนที่กำลังท่องเว๊บเพื่อค้นหาบางอย่าง และเมื่อมีข้อมูลจากเหล่าผู้ใช้งานมากขึ้น ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการค้นหาของ Google นั้นดียิ่งขึ้นไปอีก และยากที่ใครจะมาโค่นล้ม Google ในธุรกิจการค้นหาได้
Andy Rubin บิดาของ Android ผู้เปลี่ยน Google ไปตลอดกาล
แต่มุมของ Microsoft นั้นต่างกันกับ Google เล็กน้อยในวิสัยทัศน์ของธุรกิจมือถือ ซึ่ง Microsoft มอง internet เป็นตัวเสริม Software ของ Microsoft ที่สามารถสร้างรายได้ในตลาดธุรกิจอย่าง Exchange
ซึ่งเมื่อมือถือกลายเป็นตลาดที่เติบโตมหาศาล ในที่สุดผู้ผลิตก็จะเรียกร้องเงินจำนวนมหาศาล เพื่อนำบริการการค้นหาใด ๆ เป็นค่าเริ่มต้นของมือถือของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่า Google คงไม่อยากเสียเงินแบบนี้อยู่เรื่อย ๆ อย่างแน่นอน หลังจากเสียเงินเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อเป็น การค้นหาเริ่มต้นใน Browser อย่าง Firefox และ Safari
และหาก Microsoft และ Palm สามารถสร้างมาตรฐานใหม่ของ Smartphone ขึ้นมาได้จริง ๆ อาจจะเป็นฝันร้ายของ Google ก็เป็นได้ แม้ในศึกการค้นหาบน Desktop & PC นั้น Microsoft จะพ่ายแพ้ไปอย่างหมดรูปให้กับ Google แต่ความทะเยอทะยานครั้งใหม่ของ Microsoft ในตลาดมือถือ ก็มีโอกาสที่จะทำให้ Search Engine ของ Microsoft กลับมาแจ้งเกิดได้อีกครั้ง มันอาจจะกลายเป็นค่าเริ่มต้นของ มือถือนับล้าน ๆ เครื่องทั่วโลกสำหรับศึกการค้นหาใหม่บนมือถือก็เป็นได้
ซึ่งวิธีเดียวที่จะรับประกันอนาคตของ Google ให้มีที่ยืนในโปรแกรมค้นหาบนมือถือได้ ณ ขณะนั้นก็คือ Android และต้องมีแรงจูงใจพิเศษที่เหล่าผู้ผลิตมือถือได้รับแล้วไม่อาจปฏิเสธข้อเสนอได้ แล้ววิธีการนั้นกับระบบปฏิบัติการน้องใหม่อย่าง Android มันคืออะไร และเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญต่อธุรกิจในอนาคตของ Google เป็นอย่างยิ่ง โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม
1
อ่านตอนที่​ 3 : iTunes Phone
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา