6 ส.ค. 2019 เวลา 10:07 • การศึกษา
“เงินประกันชีวิต เจ้าหนี้มีสิทธิยึดได้หรือไม่ ?”
เชื่อว่าหลายคนในที่นี้คงเคยทำประกันชีวิตใช่มั้ยครับ
Cr. pixabay
สำหรับแอดมินคิดว่าการทำประกันชีวิตไว้บ้างตามกำลังทรัพย์ของเราเป็นสิ่งที่ดี เพราะนอกจากจะเป็นการกระจายความเสี่ยงของผู้เอาประกันชีวิตและครอบครัวแล้วยังสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
ตามกฎหมาย ประกันชีวิต คือ สัญญาที่การใช้เงิน ย่อมอาศัยความมีชีวิตหรือความตายของบุคคลคนๆ หนึ่ง ซึ่งเราเรียกบุคคลนั้นว่า
“ผู้เอาประกันภัย”
ส่วนคนที่มีหน้าที่จ่ายเงินผลประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิต เราเรียกว่า
“ผู้รับประกันภัย”
และคนที่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิต เราเรียกว่า
“ผู้รับประโยชน์”
Cr. pixabay
ตัวอย่าง นาย A (ผู้เอาประกันภัย) ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัท B (ผู้รับประกันภัย) โดยนาย A ตกลงชำระเบี้ยประกันเป็นรายเดือน โดยระบุให้นาย C บุตรชายของตนเป็นผู้รับประโยชน์ ซึ่งนาย C จะได้รับเงินประกันชีวิตก็ต่อเมื่อ A ถึงแก่ความตาย
แต่เรื่องที่แอดมินอยากให้ทุกคนทราบและเข้าใจตรงกันก็คือ เงินประกันชีวิต
"ไม่ใช่มรดก” เพราะ “ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เจ้ามรดกมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย”
แต่ “เป็นเงินที่ได้มาเพราะการตายของเจ้ามรดก”
Cr. pixabay
(อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 4714/2542)
ดังนั้น เมื่อเงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก จึงเกิดคำถามขึ้นว่า ในกรณีที่เจ้ามรดกซึ่งได้ทำประกันชีวิตไว้และภายหลังเจ้ามรดกได้ถึงแก่ความตาย....
"เงินที่ได้รับจากการประกันชีวิตนั้น เจ้าหนี้ของเจ้ามรดกจะมีสิทธิบังคับเอากับเงินก้อนนั้นได้หรือไม่ อย่างไร ?"
เพราะถ้าเป็นทรัพย์มรดก เจ้าหนี้สามารถบังคับเอาจากกองมรดกได้ โดยการฟ้องทายาทเจ้ามรดกให้รับผิดชอบชำระหนี้ดังกล่าว โดยทายาทจะรับผิดไม่เกินส่วนทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ
เรื่องนี้แอดมินมีคำตอบให้ครับ
กรณีที่ 1 ผู้เอาประกันภัยระบุไว้ว่าให้ผลประโยชน์ตกแก่ทายาท แต่ไม่ได้เจาะจงระบุชื่อทายาทคนใดคนหนึ่งไว้โดยเฉพาะ
Cr. pixabay
กรณีนี้ จำนวนเงินผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับจากผู้รับประกันภัยนั้น จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเอาเงินจำนวนนี้ชำระหนี้ของตนได้
กรณีที่ 2 ผู้เอาประกันภัยระบุชื่อผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้รับประโยชน์
กรณีนี้ เฉพาะเงินเบี้ยประกันภัยที่ ผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้ว จะเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกของผู้เอาประกันภัยที่เจ้าหนี้มีสิทธิเอาใช้หนี้ได้
Cr. pixabay
ตัวอย่าง นายกำนันได้ทำประกันชีวิตไว้กับบริษัท ชีวิตต้องสู้ จำกัด ระบุให้นายกำนนเป็นผู้รับผลประโยชน์ มีเบี้ยประกันเดือนละ 5,000 บาท
2
หลังจากที่ชำระไปแล้ว 1 ปี นายกำนันได้เสียชีวิตลง นายกำนนจึงได้รับเงินประกันชีวิต จำนวน 1,000,000 บาท แต่กำนนจะต้องนำเงินจำนวน 60,000 บาท ซึ่งเป็นค่าเบี้ยประกันที่นายกำนันได้ชำระไปแล้วเป็นเวลา 1 ปี เข้าสู่กองมรดกของนายกำนันเพื่อชำระให้แก่เจ้าหนี้
กรณีที่ 3 เจ้าหนี้ถูกระบุให้เป็นผู้รับประโยชน์ในสัญญาประกันชีวิต
เจ้าหนี้คนดังกล่าวมีสิทธิได้รับผลประโยชน์จากเงินประกันชีวิตทั้งหมด
แต่จะต้องส่งเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันได้ส่งไว้คืนให้แก่กองมรดก
หากเจ้าหนี้คนอื่น ๆ พิสูจน์ได้ว่า
1. การที่ผู้ตายทำประกันชีวิตนั้น มีเจตนาเพื่อจะให้เจ้าหนี้คนดังกล่าวได้รับประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งทำให้เจ้าหนี้คนอื่นเสียเปรียบ และ
2. เบี้ยประกันภัยที่ได้ส่งไปนั้นสูงเกินความเป็นจริงเมื่อเทียบกับฐานะของผู้ตาย
Cr. pixabay
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา