Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Saran Yim
•
ติดตาม
18 ส.ค. 2019 เวลา 15:17 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Ep. 3 ว่าด้วย Chassis Dyno
ตอนที่ 3 นี่เป็นตอนที่เขียนยากมาก เขียนแล้วลบทิ้งไปสี่ห้ารอบแล้ว เขียนไปก็กลัวกระทบกับผู้ใช้ไดโนทั้งหลาย
เอาเป็นว่า อ่านเอามันส์ละกันนะครับ อาจจะขัดกับที่รู้ๆ มาก่อนบ้างนะครับ
ยังมีคนสับสนระหว่าง BHP หรือ PS กับ WHP อีกเป็นจำนวนมากเลย หลายๆ ครั้งก็เป็นประเด็นดราม่ากันเลยทีเดียว
แอดยกตัวอย่าง Honda Jazz Gk ตัวล่าสุด spec จากโรงงานแจ้งว่ามีแรงม้าทั้งหมด 117 PS จาก EP2 แรงม้าในหน่วย PS จะวัดที่ Fly wheel โดยมีอุปกรณ์ทุกอย่างเหมือนรถที่จะขายจริง ไม่มีคลัช เกียร์ เพลา ล้อ
ถ้าเราเอาเจ้า Jazz ไปขึ้นไดโนวัดแรงม้า มันก็จะเหลืออยู่ประมาณ 100 แรงม้าหรือน้อยกว่า มันหายไป???
ยิ่งพอเอารถไปปรับปรุงประสิทธิภาพหรือเอาไปแต่งนั่นละ แล้วมาวัดแรงม้า กลายเป็นว่า ได้แรงม้าน้อยกว่าที่โฆษณาไว้ซะอีก
ก่อนอื่น เราต้องมาทำความรู้จักกับ WHP กันก่อน
WHP เป็นค่าที่ได้จากการวัดกำลังของรถยนต์เมื่อมีชิ้นส่วนทุกอย่างครบถ้วน และเครื่องยนต์อยู่บนตัวถัง หรือ แชสชีส์ โดยไดโนที่เรียกว่า Chassis Dyno
ที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ ไดโนประเภทนี้จะมี 2 ลักษณะคือ ล้อกลิ้งบนลูกกลิ้ง (Roller Dyno) กับถอดล้อออกจับที่เพลา (Axel Hub Dyno)
เนื่องจาก ไดโนวัดที่ล้อ กำลังจากเครื่องยนต์ ก็ต้องเอาไปหมุนชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฟลายวีว เฟืองเกียร์ เพลา คลัช จนไปถึงล้อ ทุกชิ้นส่วนที่มีการหมุน ล้วนต้องใช้กำลังจากเครื่องยนต์ไปหมุนตัวมันทั้งนั้น ซึ่งกำลังที่ระบบส่งกำลังใช้ไปนี้ เรียกว่า Transmission Lost หรือการสูญเสียเนื่องจากระบบส่งกำลัง ถ้าจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ คือ มันไม่ได้สูญเสีย มันไม่ได้หายไปไหน แต่มันจำเป็นต้องใช้โดยระบบส่งกำลัง
Transmission lost ก็ยังมีความเข้าใจผิดๆ กับมันอีก มันไม่ใช่ว่าคลัชลื่น หรือลูกปืนฝืด มันเป็นกำลังที่ระบบส่งกำลังเอาไปใช้ เพื่อไปหมุนชิ้นส่วนต่างๆ เพราะฉนั้น การลด transmission lost ไม่ใช่การเปลี่ยนคลัชให้จับได้ดีขึ้น หรืออัดจารบีลูกปืนต่างๆ แต่มันคือ การลด moment of inertia ของชิ้นส่วนที่หมุนได้ในระบบส่งกำลังต่างหาก เช่นการเปลี่ยนไปใช้ light weight fly wheel เปลี่ยนล้อที่เส้นผ่าศูนย์กลางเล็กลง ให้ล้อแมกซ์ที่มีน้ำหนักเบา จานเบรคน้ำหนักเบา นี่คือการลด Transmission lost
เมื่อกำลังเครื่องยนต์ถูกแบ่งไปใช้กับระบบส่งกำลัง แรงม้าที่วัดได้ที่ล้อ WHP มันก็ย่อมต้องน้อยกว่า BHP หรือ PS อยู่แล้ว แต่จะน้อยกว่าเท่าไหร่นั้น ไม่สามารถคำนวนได้ ถ้าอยากรู้ ก็ต้องเอามาขึ้นไดโน วัดเทียบว่า BHP กับ WHP ต่างกันเท่าไหร่ นั่นคือกำลังที่ระบบส่งกำลังใช้ไป
แต่ถ้าเรามาวิเคราะห์ตามหลักฟิสิกส์ กำลังขึ้นอยู่กับความเร่งด้วย เมื่อเราทำการปรับแต่งเครื่องยนต์ ให้มีกำลังสูงขึ้น อัตราเร่งรอบเครื่องยนต์ก็สูงขึ้น ส่งผลให้ความเร่งเชิงมุมของชิ้นส่วนหมุนทุกชิ้นในระบบส่งกำลังสูงขึ้น แปลว่า ระบบส่งกำลังก็จะให้กำลังจากเครื่องยนต์สูงขึ้นด้วย เป็นสัดส่วนขึ้นมากับอัตราเร่งรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้น เราจึงกำหนดค่า transmission lost เป็น % แต่ค่า % จริงๆ แล้ว ไม่มีใครรู้ ถ้าอยากรู้ จะต้องวัดกับรถสเป็คโรงงาน ในสภาพสมบูรณ์ หรือเอารถใหม่ๆ มาจับขึ้นไดโนแล้วบันทึกว่าไว้เป็นของรถรุ่นนั้น ของไดโนตัวนั้นเท่าน้้น!!!
ด้วยความที่ WHP มันมีค่าน้อยกว่า PS หรือ BHP อยู่พอสมควร ผู้ผลิตไดโนบางราย ก็จะเพิ่มฟังก์ชั่นการแสดงผลค่า BHP หรือ PS ขึ้นมา โดยให้กรอกค่า transmissions lost% เพื่อเอาไปคำนวณกับค่า WHP ที่วัดออกมาได้ แต่ค่า % ที่ใส่เข้าไป มันไม่ใช่ค่าที่วัดออกมาจริงๆ ในสถานการณ์ที่ควบคุมค่าต่างๆ ให้ได้ค่าที่ถูกต้อง เพราะฉนั้นค่าที่ PS หรือ BHP ที่ได้จาก Chassis dyno มันจึงเป็นค่าที่เชื่อถือไม่ได้
สรุปคื BHP หรือ PS เป็นการวัดกำลังที่เครื่องยนต์ผลิตออกมาได้จริง วัดด้วย engine dyno ส่วน WHP คือกำลังของรถยนต์ที่ส่งมาที่ล้อ วัดด้วย Chassis Dyno
WHP จะน้อยกว่า PS หรือ BHP เป็นเรื่องปกติ
การกรอกค่า transmissions lost % เพื่อโชว์ค่า PS หรือ BHP จาก Chassis Dyno จะได้แรงมโน ไม่ใช่แรงม้า
จบ EP3 ในตอนต่อไป จะว่าด้วยทำไมไดโนแต่ละที่วัดได้ไม่เท่ากัน กดไลค์ กดแชร์ กด สับตะไคร้ เป็นกำลังใจให้ด้วยนะค้าบบ จะได้รู้ว่ามีคนอ่าน สงสัยตรงคอมเม้นถามได้ จะตอบทุกคำถามถ้าแอดรู้ แอดไม่ดุ 😁😁😁
1 บันทึก
7
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เจาะลึกไดโน
1
7
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย