10 ส.ค. 2019 เวลา 16:19 • ธุรกิจ
Smartphone War ตอนที่ 8 : It’s time to open
ถ้าถามว่าแนวคิดหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของผลิตภัณฑ์ Apple ที่มีมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมานั้น ก็คือ การสร้าง ecosystem แบบปิด ที่ Apple นั้นต้องการที่จะควบคุมทุกอย่างของประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า
1
Smartphone War ตอนที่ 8 : It’s time to open
แน่นอนว่าข้อดี ก็อย่างที่เราทราบกันว่า Apple สามารถ Control ทุกอย่างได้อย่างที่ใจต้องการและมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า และมันเป็นแนวคิดเริ่มต้นมาตั้งแต่สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรก ๆ
แต่เห็นได้ชัดว่าในศึกของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้น Apple พ่ายแพ้ให้กับ Microsoft อย่างราบคาบ เนื่องจาก Windows ของ Microsoft นั้นสามารถที่จะไปลงกับ Hardware ของผู้ผลิตรายใดก็ได้ ต่างจาก Mac ของ Apple ที่สามารถรันกับเครื่อง Apple ได้เพียงเท่านั้น และสุดท้าย Windows ก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นมาตรฐานของวงการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วโลกในที่สุด
และเช่นเดียวกันกับในเรื่องนักพัฒนา ส่วนใหญ่ Apple จะค่อนข้างปิดไม่ให้นักพัฒนาภายนอกเข้ามายุ่มย่ามกับ Ecosystem ของ Apple มีเปิดบ้าง แต่เพียงน้อยนิดเท่านั้น เช่นใน iPod ที่มีการสร้างเกมส์เข้ามาจากนักพัฒนาภายนอกนั่นเอง
Apple เริ่มเปิดให้นักพัฒนาภายนอกสร้างเกมส์สำหรับ iPod
แต่เมื่อเหล่านักพัฒนาทั่วโลกต่างได้ยลโฉม iPhone ที่เพิ่งได้มีการเปิดตัวนั้น ต้องบอกว่าเหล่านักพัฒนาทั่วโลกต่างน้ำลายไหล ที่จะได้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับ iPhone เพราะดูเหมือนว่า iPhone นั้นสามารถที่จะสร้าง Application อีกหลายอย่างที่จะทำงานร่วมกันมันได้นั่นเอง
และเนื่องจาก Concept หลักของ iPhone นั้นมีระบบปฏิบัติการที่อยู่เบื้องหลังอยู่แล้ว เพราะเป็นการพอร์ตมาจาก OSX ระบบปฏิบัติการบนเครื่อง Mac และตอนเปิดตัว iPhone นั้นก็ชัดเจนว่า มันมี Application ที่รันอยู่บนระบบปฏิบัติการดังกล่าว เช่น Mail , Safari หรือแม้กระทั่ง Google Maps นั่นเอง
แต่ก่อนการเกิดขึ้นของ iPhone นั้น เหล่านักพัฒนาก็อยู่ใน แพลตฟอร์มอื่นที่มี Application ให้พัฒนาอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Symbian ของ Nokia หรือ Windows Mobile ของ Microsoft
แต่ตัวจ๊อบส์เองนั้นค่อนข้างกังวลเป็นอย่างมากในเรื่องการจะทำให้ iPhone เป็นแพลตฟอร์มแบบเปิด เพราะกังวลในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลรวมถึง จ๊อบส์มองว่าเหล่า App จากภายนอกนั้นเป็นผู้รุกราน เป็นความไม่สมบูรณ์ และจะทำความเสียหายให้กับตัวเครื่อง และที่สำคัญที่สุด Apple จะไม่สามารถ Control ประสบการณ์การใช้งานจาก App จากนักพัฒนาภายนอกได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ จ๊อบส์ต้องชั่งใจเป็นอย่างยิ่ง
และหลังจากต้องตัดสินใจอย่างหนักในเรื่องนี้ ที่จะทำให้ iPhone กลายเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดให้นักพัฒนาภายนอกเข้ามาได้นั้น เป็นเรื่องที่จ๊อบส์ต้องคิดหนักเป็นอย่างมาก
1
แต่สุดท้ายในเดือนตุลาคม ปี 2007 หลังจากปล่อย iPhone ออกจำหน่ายได้ประมาณ 10 เดือน จ๊อบส์ ก็ได้ประกาศครั้งสำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ iPhone อีกครั้ง เมื่อจ๊อบส์ประกาศให้มีการสร้าง Native App ของนักพัฒนาภายนอก และมีการวางแผนจะเอา SDK (Software Development Kit) ให้เหล่านักพัฒนาได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2008
1
สุดท้ายก็ให้นักพัฒนาภายนอกมาสร้าง App ได้จริงในปี 2008
แต่มันเป็นการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจ๊อบส์ ที่ต้อง balance กันระหว่าง การสร้างแพลตฟอร์มระดับเทพ และเป็นระบบเปิดให้กับเหล่านักพัฒนา ขณะเดียวกันก็ต้องคุ้มครองผู้ใช้ iPhone จาก ไวรัส มัลแวร์ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานด้วย
2
ซึ่งทำให้แม้จะไม่เปิดหมดซะทีเดียว แต่จ๊อบส์ เชื่อในแนวทางของตนเพื่อรักษาประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้ iPhone นั่นเอง ซึ่ง App ภายนอกนั้นจะมีการตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งผู้ใช้ iPhone จะสบายใจได้ว่ามีความปลอดภัยสูงสุดนั่นเอง
1
และนี่ก็ได้กลายเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงการมือถือโลก กับการพัฒนา App รูปแบบใหม่ให้กับ iPhone ซึ่งมีความสามารถสูงกว่ามือถือที่มีอยู่ในตลาด ด้วย Features ต่างๆ เช่น การใช้งาน Multitouch หรือ เรื่องของเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ที่ตามมาภายหลัง ทำให้ Ecosystem ของ iPhone นั้นเติบโตจนฉุดไม่อยู่มาจวบจนถึงปัจจุบันนั่นเองครับ
1
และทางฝั่ง Google ก็ได้เริ่มแอบทำบางอย่างลับ ๆ โดยหลังจากเปลี่ยนแผนโดยฉับพลันจากมือถือที่ต้องมี keyboard แบบ Blackberry ให้กลายมาเป็นมือถือแบบจอสัมผัสแบบที่ iPhone ทำ ซึ่งการซุ่มพัฒนานี้ทำโดย Apple แทบจะไม่ระแคะระคายเลยด้วยซ้ำ เพราะหนึ่งในบอร์ดของ Apple ในขณะนั้น ก็คือ เอริก ชมิตต์ ที่เป็น CEO ของ Google นั่นเอง แต่ดูเหมือนงานนี้จะมีการหักหลังกันเกิดขึ้นแล้วในศึกสงครามมือถือครั้งนี้ จะเกิดอะไรขึ้นต่อโปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม
1
อ่านตอนที่​ 9 : Free for All
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา