30 ส.ค. 2019 เวลา 13:30 • สุขภาพ
สวัสดีครับ มิตรรักแฟนเพลงทุกท่าน หลังจากที่เงียบหายจากงานเขียนไปหลายวัน...ก็ไม่มีอะไรมากฮะพอดีติดภาระกิจนิดนึงเลยทำให้ฟิลลิ่งในการเขียนมันมีไม่เต็มที่ซักเท่าไหร่ เลยอาศัยส่องเพจของคนอื่นแล้วก็เที่ยวคอมเม้นต์ไปตามประสานั่นแหละครับ 😁😁😁
กลับมาเข้าเรื่องของเรากันต่อดีกว่าฮะ เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าสารเคมีจำเป็นต่อการเกษตรหรือไม่ ? ใน Part ของยาฆ่าหญ้า EP 2
EP ที่แล้วได้เกริ่นนำให้ได้ทราบถึงชนิดของวัชพืชและประเภทของสารป้องกันกำจัดวัชพืชไปแล้ว...มาวันนี้เราจะมาดูกันว่าความจำเป็นที่จะต้องใช้มันอยู่ตรงไหนและจำเป็นต้องใช้จริงหรือไม่ 🤔🤔🤔🤔
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจกันก่อนนะฮะว่าตอนนี้เรากำลังพูดถึงเกษตรมืออาชีพ คือคนที่มีอาชีพจากการทำการเกษตร รายได้หลักมาจากการขายผลิตผลทางการเกษตร ส่วนคนที่ทำสวนอยู่หลังบ้านเป็นงานอดิเรก หรือเกษตรกรเฟสบุ๊ค (ที่ส่วนใหญ่ทำไร่ดอกลาเวนเดอร์ 😂😂) แบบนั้นเราจะไม่นับว่าเป็นเกษตรกรมืออาชีพนะฮะ....
แน่นอนครับว่าทุกสาขาอาชีพล้วนเล็งผลเลิศในสาขาอาชีพนั้นๆเพื่อให้ได้ net income ให้มากที่สุดเพื่อที่จะนำรายได้มาใช้หมุนเวียนในชีวิตประจำวันกันต่อไป...และเกษตรกรก็เช่นเดียวกันเค้าก็อยากจะได้ผลผลิตจากพืชที่ปลูกสูงสุดทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพเพื่อมาแปลงเป็นรายได้ แต่จะทำยังไงดีล่ะในเมื่อพื้นที่ก็มีอยู่เท่าเดิม....คำตอบคืออะไรที่จะมาลดทอนหรือทำให้ผลผลิตที่เค้าควรจะได้ลดลง เค้าก็ต้องเลือกที่ขจัดออกไป......และหนึ่งในนั้นก็คือวัชพืชนั่นเอง
เอาล่ะเข้าเรื่องซะที 😄😄 วัชพืชที่เราพูดถึงคือหนึ่งในศัตรูพืชลำดับต้นๆของพืชที่ปลูกเลยล่ะฮะเพราะมันก็คือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมันก็ย่อมต้องการที่จะมีชีวิตอยู่เหมือนกัน แล้วปัจจัยที่จะทำให้มันมีชีวิตก็เป็นปัจจัยเดียวกันกับพืชหลักที่เราปลูกนั่นแหละฮะ นั่นก็คือน้ำ ปุ๋ย อากาศ สายลมแสงแดด ทีนี้พอมันมาเกิดและเจริญเติบโตในพื้นที่เดียวกันมันก็จะไปหาปัจจัยเหล่านี้จากไหนล่ะถ้าไม่ใช่แย่งเอาจากลูกน้อยของเรา...และที่สำคัญไม่รู้ว่าเป็นอะไร ไอ้พวกวัชพืชเนี่ยมันจะปรับตัวได้เก่งและหากินได้เก่งกว่าพืชหลักที่เป็นลูกๆของเราอยู่ตลอดเลย..พับผ่าสิ 😣😣😣😣
ลำพังถ้ามันจะมาขออาศัยขอน้ำขอปุ๋ยเพื่อประทังชีวิตซัก 5 ต้น 10 ต้น มันก็พอจะหยวนๆ ปล่อยให้เจริญเติบโตหรือเลี้ยงไว้ดูเล่นได้บ้าง แต่นี่อะไร !!! เวลามันมาทีมักจะมากันเป็นกองทัพ เรียกว่าปูพรมกันขึ้นทั้งแปลงปลูกเลยล่ะคุณเอ๊ยยยยย...😑😑😑
แล้วท่านผู้ชมทราบมั้ยฮะ? สมมุติว่าเราปลูกพืชชนิดนึง..เอาเป็นว่าปลูกข้าวละกันเนาะเพราะมันดูเต็มพื้นที่ดี ไม่ต้องเว้นระยะห่างเหมือนพวกไม้ผล...ทีนี้ถ้าในนาของเรามีหญ้าขึ้นซัก 50% หรือว่าต้นข้าวครึ่งนึงอีกครึ่งนึงเป็นต้นหญ้าละกัน ท่านคิดว่าผลผลิตข้าวของเราจะลดลงไปซักเท่าไหร่ครับ ???? หลายท่านตอบว่า ก็ลดลง 50% ตามสัดส่วนไง ไม่เห็นว่ามันจะมีอะไรซับซ้อนเลย...เนอะ.....
คำตอบคือ....ผิดครับ !!!!!
ผลผลิตที่เราได้จะลดลงไปมากถึง 70% ทีเดียวแหละเธอ....อ้าว !!! ทำไมมันลดลงได้เยอะขนาดนั้นล่ะ...เหตุผลก็เพราะว่านอกจากมันจะมาแย่งน้ำแย่งปุ๋ยแล้วเนี่ย การที่หญ้ามันขึ้นเยอะๆเนี่ยมันก็จะทำให้การถ่ายเทอากาศแย่ลงตามไปด้วย สิ่งที่จะตามมาคือโรคและแมลงที่จะเข้าซ้ำเติมน้องข้าวของเราอีกน่ะสิ เรียกได้ว่ามากันเป็นแพ็คเกจเลยล่ะคุณเอ๊ยยยยยย 😥😥😥😥😥
แล้วถ้าเราเป็นชาวนาเราจะทำไงดีล่ะ ลงทุนไปไม่น้อยแล้วด้วย เริ่มตั้งแต่จ้างรถไถกับปรับหน้าดิน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าน้ำมันสูบน้ำ ทุกอย่างล้วนต้องใช้เงินซึ่งก็คือต้นทุนล้วนๆ แล้วจะปล่อยให้หญ้ามาชุบมือเปิบไปต่อหน้าต่อตาแบบนี้เหรอ....ไม่มีทางซะล่ะ แบบนี้ต้องกำจัด !!! 😤😤😤
และวิธีการในการกำจัดหญ้าก็มีให้เลือกแค่ไม่กี่วิธีหรอกฮะ คือ
1. ใช้มือถอน โดยต้องเสียเงินจ้างค่าแรงมาถอน เพราะทำคนเดียวไม่ไหวแน่ๆ แต่ค่าแรงก็แสนจะแพง มาตรฐานค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันยังไม่มีใครอยากมาเลย...แล้วลองคิดดูนะ คนคนนึงจะถอนหญ้าได้ซักเท่าไหร่กันต่อวัน..เอาแบบถอนหญ้ากันแบบนันสต็อปเลยนะ คนนึงไร่นึงต่อวันก็เก่งระดับเทพแล้ว ถ้ามี 20 ไร่ก็ต้อง 20 คน ปาเข้าไป 6,000 บาทแล้วจ้า...ไหวเหรอ ????
2. ใช้เครื่องมือเข้าช่วย...เช่นรถไถ...อันนี้ลืมไปได้เลย ตายกันหมดทั้งข้าวทั้งหญ้านั่นล่ะ ที่พอจะเป็นไปได้หน่อยก็คือเครื่องกำจัดวัชพืชระหว่างแถว (ดูรูปประกอบด้านล่าง) แต่ก็นะ คนนึงจะทำได้ซักกี่ไร่ต่อ 1 วัน แล้วยังมีข้อจำกัดอีกนะคือไอ้เครื่องเนี่ยใช้ได้กับเฉพาะนาดำที่ใช้รถดำนะจ๊ะ (ค่าจ้างรถดำนาอีกไร่ละพันกว่าบาท) นาหว่านหมดสิทธิ์ 😥😥😥
แล้วข้อสุดท้ายก็คือ......ใช่แล้ว !!! พระเอกของเรานั่นเองงงงงง (หรือจะเป็นผู้ร้ายดี 😂😂😂) เค้าคือ....สารป้องกันกำจัดวัชพืช หรือชื่อในวงการก็คือ ยาฆ่าหญ้า ผู้ลือลั่น 555
ต้นทุนยาฆ่าหญ้าหรือยาคุม-ฆ่าหญ้าในนาข้าว ราคาจะมีคั้งแต่ถูกยันแพงแหละครับ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและ story ทางการตลาดของแต่ละเจ้า เอาเป็นว่าราคาเฉลี่ยๆละกันเนาะ คิดซะว่าลิตรละ 500 บาท แล้ว 1 ลิตรเนี่ยใช้ได้ประมาณ 4-5 ไร่ ก็ตีซะว่า 4 ไร่ละกัน เพราะฉะนั้นต้นทุนค่ายาก็จะตกไร่ละ 125 บาท บวกค่าจ้างมือปืนอีกไร่ละ 50 บาท รวมเบ็ดเสร็จก็ไร่ละ 175 บาทพอดิบพอดี ถ้าทำนา 20 ไร่ต้นทุนส่วนนี้ก็จะอยู่ที่ 175 × 20 = 3,500 บาทไม่ขาดไม่เกิน...ประหยัดกว่าจ้างคนถอนบานเลย 😁😁😁😁
ถ้าเราเป็นชาวนาเราจะเลือกแบบไหน...คิดว่าคงมีคำตอบในใจกันแล้วเนาะ 😊😊😊
เอาล่ะ มาว่ากันต่อในมุมของผู้บริโภคบ้าง...
อาจจะมีคำถามว่าแล้วมันจะมีสารตกค้างในผลผลิตมาถึงคนกินอย่างเราๆท่านๆมั้ย ??? ถ้าในกรณีตัวอย่างที่ยกมาคือการทำนา ตอบอย่างมั่นใจเลยว่าโอกาสที่จะมีสารตกค้างจากยาฆ่าหญ้าในผลผลิตคือน้อยมากกกกกกกถึงไม่มีเลย
ใจเย็นๆครับ อย่าเพิ่งมองค้อนครับ 😄😄😄 มันมีเหตุผลครับ คือถ้าเป็นข้าวเนี่ยชาวนาเค้าจะใช้สารฯพวกเนี้ยในช่วง 7-15 วันหลังจากปลูกข้าวแค่นั้นแหละครับ หรืออย่างช้าสุดๆเลยก็ 30 วัน เพราะถ้าเกินกว่านี้หญ้ามันจะโตเกินไป จะกำจัดยากครับ แล้วข้าวที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้เนี่ย อายุเก็บเกี่ยวของวันคือ 100 วันขึ้นไปแล้วแต่สายพันธุ์ บางพันธุ์ลากไปถึง 120 วันนู่นแน่ะ...คิดง่ายๆก็คือ 4 เดือนเลยนะฮะ ถึงตอนนั้นสารฯพวกนี้มันสลายตัวไปหมดแล้วครับท่าน.....ไหนจะกระบวนการที่โรงสีที่ต้องตากข้าวอีก เอามาสีให้เป็นข้าวสารอีก แล้วก่อนทานเราก็เอามาหุงอีก โดนทั้งแดดเผาโดนทั้งน้ำร้อนๆ กว่าจะเป็นข้าวสุกข้าวสวยบนจาน ถ้ายังมีสารฯพวกนี้ตกค้างอีกก็ต้องยอมมันแล้วล่ะฮะ 😂😂😂
อ้าว !!! แล้วในพืชอื่นๆที่อายุสั้นกว่าข้าวเช่นพวกผักสดล่ะแล้วบางทีก็ทานกันสดๆเลยนะไม่ต้องต้มด้วยล่ะ ? อืมมมม เป็นคำถามที่ดี.....คือยังงี้ฮะ พืชจำพวกผักเนี่ย โดยปกติจะถือว่าเป็นสินค้า high value คือมีราคาสูงกว่าข้าวเยอะมากๆ เพราะฉะนั้นชาวสวนผักมืออาชีพเนี่ยเค้าจะค่อนข้างเนี้ยบกับเรื่องวัชพืชมาก คือพูดง่ายๆโอกาสที่วัชพืชจะงอกจากเมล็ดมากวนลูกหูลูกตานั้นน่ะแทบจะไม่มีเลยทีเดียวเชียวแหละ เพราะชาวสวนเค้าจะฉีดยาคุมตั้งแต่เมล็ดหญ้ายังไม่งอกกันเลยทีเดียว หลังจากนั้นก็หาอะไรมาคลุมแปลงปลูกเพื่อรักษาความชื้น (ที่เห็นบ่อยๆก็ฟางข้าว) พอโดนทั้งยาคุม โดนฟางคลุมทับอีกทีเมล็ดหญ้าก็ไม่ต้องเห็นเดือนเห็นตะวันกันเลยล่ะ พอไม่มีแสงโอกาสงอกก็แทบเป็นศูนย์...อาจจะมีพวกทะลุถุงยางมาเกิด เอ๊ยยยย !!! ทะลุยาคุม (หญ้า) มาเกิดบ้าง ก็ไม่เหนือบ่ากว่าแรงแล้วล่ะทีนี้...จังซี่มันต้องถอน !!! สบายๆ 🤗🤗🤗🤗🤗🤗
ส่วนเรื่องสารฯตกค้างนั่นน่ะ ก็ยังถือว่ามีโอกาสน้อยอยู่ดี เพราะผักพวกนี้อายุเก็บเกี่ยวก็ประมาณ 30-45 วันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนฤทธิ์ของยาที่ใช้ก็จะอยู่ที่ประมาณ 14 วัน ก็จะค่อยๆเสื่อมสภาพ หมดฤทธิ์หมดเดชไปเองแหละ..สบายใจได้ 🌱🌱🌱🌱
ยิ่งพวกไม้ผลยิ่งสบายใจหายห่วง เพราะผลไม้มันอยู่สูงส่วนหญ้าอยู่พื้นดิน คงไม่มีชาวสวนคนไหนหรอกจะฉีดยาฆ่าหญ้าขึ้นฟ้า....เนอะ ว่ามั้ย 🤣🤣🤣
อ้อ !!! มีเรื่องแปลกจะเล่าให้ฟัง..กาลครั้งหนึ่งยังไม่ค่อยนานเท่าไหร่ มีข่าวทีวีช่องนึงสีส้มๆมีนกพิราบนั่นล่ะ ซึ่งหลายคนจะรู้ว่าพี่เค้ามาแนว NGO จ๋าๆรายงานว่าเจอยาฆ่าหญ้าตกค้างในผักคะน้า และยาฆ่าหญ้านั่นคือ "พาราคว็อต" หรือที่เรียกกันติดปากว่า "กรัมม็อกโซน" นั่นล่ะฮะ...ผมได้ยินแล้วถึงกับอึ้งเลยฮะ..ไม่ใช่อึ้งถึงอันตรายที่ผู้บริโภคจะได้รับสารตกค้างนะ แต่อึ้งเพราะพี่นักข่าวเค้าทำไมมโนไอ้ขนาดนี้...เข้าใจว่าพี่ๆเค้าอยากให้สารตัวนี้โดนแบน ไม่อยากให้มีขาย แต่พี่ก็น่าจะทำการบ้านซักนิดส์ส์ส์ก่อนจะนำเสนอข่าวออกไป หรือถ้าไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้...มาจ้างผมก็ได้ เดี๋ยวให้ข้อมูลเอง คิดไม่แพง (อันนี้พื้นที่โฆษณานะ 😂😂😂) ข่าวจะได้ดูน่าเชื่อถือหน่อย
ถามว่าทำไมผมถึงอึ้งน่ะเหรอ...ก็เพราะใน EP ที่แล้วที่ผมได้เล่าแจ้งแถลงไขไปว่าคุณสมบัติของพาราคว็อตคือออกฤทธิ์เผาไหม้ ไม่เลือกทำลาย คือหยดลงตรงไหนที่เป็นสีเขียวพืชจะไหม้เป็นจุดสีน้ำตาลตรงนั้น แล้วท่านลองคิดดูว่าถ้าท่านเป็นเจ้าของสวนคะน้าท่านจะยอมให้ผักมีรอยไหม้มั้ย หรือถ้าท่านเป็นพ่อค้าผักท่านจะซื้อคะน้าสวนนี้มาขายต่อมั้ย หรือถ้าท่านเป็นคนกินผักท่านจะเอาผักที่มีรอยแผลสีน้ำตาลน่าเกลียดๆไปทำคะน้าหมูกรอบกินมั้ย...อันนี้ไม่ต้องตอบนะฮะเพราะผมมองแววตาท่านก็พอจะรู้คำตอบแล้วล่ะ......แค่อยากจะบอกพี่นักข่าวคนนั้นว่าในช่วงผักใกล้เก็บเกี่ยวถ้าพี่เดินถือขวดกรัมม็อกโซนดุ่มๆเข้าไปในสวนเค้าก็แทบจะเอาปืนไล่ยิงพี่ออกมาแล้วล่ะฮะ ยิ่งช่วงที่ผักมีราคาแพงอย่างกินเจด้วยนะ...หึหึ ไม่อยากจะคิดเลยพี่เอ๊ย 😏😏😏😏
เรื่องสารป้องกันกำจัดวัชพืชในทางการเกษตรก็จะประมาณนี้ล่ะฮะ...ยังแปลกใจตัวเองหน่อยๆว่าช่วงนี่ไม่ค่อยมีฟิลลิ่งจะเขียนแต่พอลองฝืนใจเขียนดูก็ยาวเอาเรื่องเหมือนกันแฮะ 😁😁😁...ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านนะฮะ ข้อมูลที่เขียนลงไปท่านก็ใช้วิจารณญาณคิด วิเคราะห์ แยกแยะเอาเองนะครับ หรือถ้ามีข้อสงสัยก็คอมเม้นต์กันเข้ามาได้ครับถ้าพอมีความรู้บ้างก็จะได้ช่วยไขข้อข้องใจให้ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยน
ตอนหน้าก็จะขึ้น Part ใหม่ แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับสารเคมีทางกาเกษตรอยู่ดีนั่นคือ "สารป้องกันกำจัดแมลง" หรือนิคเนมว่า ยาฆ่าแมลง นั่นล่ะคุณๆทั้งหลาย รอติดตามตอนต่อไปกันนะครับ
สำหรับวันนี้...
สวัสดี 😍😘😍😘😍😘
โฆษณา