4 ก.ย. 2019 เวลา 13:56 • สุขภาพ
พิษจากแมลงก้นกระดก
แมลงก้นกระดกคือสัตว์จำพวกแมลงที่อยู่ในวงศ์ Paederus ซึ่งเมื่อถูกกัดมันจะหลั่งสาร #paederin ที่มีฤทธิ์ทำให้เกิด #แผลพุพอง ซึ่งถ้าไม่รีบล้างออกทันทีพิษนี้ก็จะกระจายไปบริเวณผิวมักเห็นเป็นเส้นตรงหรือบริเวณฝั่งตรงข้ามของข้อพับ ตามซอกคอ หรือข้อพับแขน ขา ทำให้เกิดแผลพุพองในลักษณะเดียวกันทั้งสองด้านดังรูป
#แมลงก้นกระดก นั้นมีขนาดตัวยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร มีลักษณะเด่นคือหัวสีดำลำตัวดำสลับแดง มักจะอยู่ในสภาพแวดล้อมชิ้น เช่น ตามดิน หญ้า มีส่วนสำคัญในการช่วยกำจัดศัตรูพืช ดังนั้นโรคนี้จึงมักพบในกลุ่มอาชีพชาวสวน ชาวไร่ หรือคนที่มีประวัติสัมผัสกับดิน
เมื่อมีผื่นพุพองเกิดขึ้น มักจะมี #อาการ แสบร้อน หรือคันตามมา และในบางรายก็จะมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังร่วมด้วยทำให้เห็นเป็นหนองบริเวณที่เป็นแผล
#การรักษา เริ่มต้นโดยการปฐมพยาบาลขั้นต้นคือรีบล้างพิษออกด้วยน้ำสะอาดและน้ำสบู่ ประคบแผลพุพองด้วยผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือ และตามด้วยยากลุ่มสเตียรอยด์ ส่วนแผลที่มีหนองให้ใช้ยาทาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
#การป้องกันการติดเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีแผลพุพองดังกล่าว และระวังการถูกแมลงกัดในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ชาวสวน ควรสวมถุงมือและเสื้อผ้ารัดกุมขณะทำงาน ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดป้องกันพวกแมลงเข้ามาในที่พักอาศัยและสถานที่ทำงาน
เอกสารอ้างอิง
PAEDERUS DERMATITIS. American Osteopathic College of Dermatology. 2018.
โฆษณา