11 ก.ย. 2019 เวลา 00:09 • ธุรกิจ
ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 3 : Deal With The Devil
ในช่วงฤดูร้อนปี 1980 ตัวแทนจาก IBM สองคนได้เดินทางมาที่สำนักงานใหญ่ของ Microsoft เพื่อหารือเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ IBM กำลังตัดสินใจครั้งสำคัญว่าจะสร้างมันดีหรือไม่?
1
ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 3 : Deal With The Devil
แม้ในยุคนั้น IBM จะเป็นเจ้าตลาด Hardware ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรมถึงกว่า 80% เรียกได้ว่าเป็นยักษ์ใหญ่ในตลาดครองตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จสำหรับ IBM
แต่ดูเหมือนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั้นจะเป็นปัญหาสำหรับ IBM เพราะพวกเขาคุ้นเคยกับการขายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาในราคาแพง และลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าธุรกิจที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกในขณะนั้น
ซึ่งการเข้ามาคุยกับ Microsoft เนื่องจาก ฝ่ายผู้บริหารระดับสูงเล็งเห็นว่า จำเป็นต้องดึงคนนอกเข้ามาช่วยเหลือในตลาดใหม่อย่าง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการขายให้กับผู้บริโภครายย่อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ IBM นั้นไม่ถนัดเป็นอย่างยิ่ง
และ IBM ต้องการเข็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลออกตลาดให้ได้ภายในปีนั้น โดย IBM ได้ตัดสินใจสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาด และทำสิ่งที่เซอร์ไพรซ์เป็นอย่างยิ่งคือ การสร้างระบบแบบเปิดและง่ายต่อการเลียนแบบ
แม้ว่าในเครื่องเมนเฟรมขนาดใหญ่นั้น IBM จะออกแบบ Microprocessor เองทั้งหมด แต่ในตลาดใหม่อย่างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล IBM ได้ตัดสินใจใช้ Microprocessor ของ intel และที่สำคัญที่สุด คือ IBM ได้ตัดสินใจที่จะให้คนอื่นเขียนระบบปฏิบัติการขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่านี่คือโอกาสทองครั้งสำคัญของ Microsoft
และแน่นอนว่า Gates ไม่มีทางที่จะพลาดโอกาสทองครั้งยิ่งใหญ่แบบนี้ ที่น้อยคนนักที่จะมีโอกาสแบบที่ Gates ได้รับจาก IBM ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นเรื่องท้าทายครั้งสำคัญของ Gates และ Microsoft แต่อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ต้องการมีส่วนร่วมกับธุรกิจยักษ์ใหญ่นี้
2
โดย Gates ได้ไปซื้อโปรแกรมที่เคยพัฒนามาแล้วจากบริษัทเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในเมืองซีแอตเติล และได้จ้าง Tim Paterson หัวหน้าวิศวกรจากบริษัทดังกล่าวมาร่วมงานกับ Microsoft และนำโปรแกรมดังกล่าวมาปรับแต่งให้กับ Hardware ของ IBM
gates เลือกทางลัดในการสร้าง MS-DOS ด้วยการซื้อ Software พร้อมหัวหน้าทีมพัฒนาอย่าง Tim Paterson มาร่วมงาน
ซึ่งผลที่ได้มันก็คือ MS-DOS (Microsoft Disk Operating System) และ IBM นี่เองที่เป็นลูกค้ารายแรกของ Microsoft ที่ซื้อลิขสิทธิ์ MS-DOS ไป และเปลี่ยนชื่อมันให้กลายเป็น PC-DOS และทำการออกวางขายเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ IBM ในปี 1981
1
และมันประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น ทำยอดขายได้ดีมาก ๆ เป็นการเริ่มต้นตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบจริง ๆ จัง ๆ ครั้งแรกของ IBM ทำให้ชื่อ PC (Personal Computer) นั้นกลายเป็นที่รู้จักไปทั่ว
กลยุทธ์ของ Gates สำหรับการ Deal กับ IBM ครั้งนี้นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่เป็น Case Study ที่น่าสนใจของวงการธุรกิจโลก เพราะ Microsoft ยื่นข้อเสนอที่ดีมาก ๆ ให้กับ IBM โดยเปิดให้เต็มที่กับ IBM นำลิขสิทธิ์ MS-DOS ไปใช้กี่เครื่องก็ได้ที่ IBM ต้องการขาย
Gates นั้นมองเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า คือ การสร้าง MS-DOS ให้กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง UCSD Pascal P-System และ CP/M-86 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เสนอขายให้ IBM เช่นเดียวกันในยุคนั้น
Gates ต้องการให้ MS-DOS กลายเป็นระบบปฏิบัติการหลักของ PC และกระตุ้นให้บริษัทเขียน Software รายอื่น ๆ เขียนโปรแกรมโดยใช้พื้นฐานของ MS-DOS ของ Microsoft นั่นเอง
ซึ่งแน่นอนว่าข้อเสนอของ Gates นั้นดีกว่าคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัดทำให้ราคา PC ที่มีระบบปฏิบัติการ MS-DOS ราคาถูกกว่าใคร และทำให้ IBM ผลักดัน MS-DOS แบบเต็มที่
เป้าหมายของ Gates และ Microsoft นั้นไม่ได้อยู่ที่รายรับที่ได้จาก IBM แต่จะเป็นกำไรในการขายลิขสิทธิ์ MS-DOS ให้กับบริษัทคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่ต้องการใช้ MS-DOS เพราะตอนนั้นมันได้กลายเป็นระบบเปิดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทุกรายสามารถใช้ MS-DOS ได้ทั้งหมด และเมื่อ MS-DOS กลายเป็นมาตรฐาน กำไร ก็หลั่งไหลมาที่ Microsoft แทนนั่นเอง
และแน่นอนว่าหลังจากออกวางจำหน่ายได้ไม่นานดูเหมือน IBM PC มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมาตรฐานของตลาดในอุตสาหกรรมใหม่นี้ ดูเหมือน IBM จะประสบความสำเร็จแล้วแถมยังเป็นระยะเวลาอันสั้นมาก ๆ ด้วย
IBM ประสบความสำเร็จในการสร้างมารตรฐานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
แต่หารู้ไม่ว่า คนที่ชนะจริง ๆ ในการสร้างมาตรฐานให้อุตสาหกรรมนี้คือ Microsoft ต่างหากที่ทุกคนต้องใช้ MS-DOS เป็นระบบปฏิบัติการหลัก เหล่าบริษัท Software รายเล็กใหญ่ต่างพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาบนพื้นฐานของ MS-DOS ไม่ใช่บนพื้นฐานของ IBM-PC
ไม่นานหลังจากนั้น Software คุณภาพเยี่ยมตัวใหม่ ๆ อย่าง Lotus 1-2-3 โปรแกรมที่ปฏิวัติรูปแบบของการสร้างสเปรดชีทก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาให้รันบนระบบปฏิบัติการของ MS-DOS และตลาด Software การใช้งานนับพัน ๆ โปรแกรม ก็ได้เกิดขึ้นมาใน Ecosystem ของ MS-DOS โดยใช้มาตรฐานทาง Hardware ของ IBM-PC นั่นเอง
ซึ่งแม้ IBM จะสร้างมาตรฐาน PC ขึ้นมาก็จริง แต่เป็นมาตรฐานให้ทุกคนเลียนแบบได้ง่าย และบริษัทอื่นก็สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบที่ IBM ทำได้เช่นกัน และแน่นอนว่าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน บริษัทอื่นก็อาจจะมาครองตลาดแทน IBM
1
และนี่เองเป็นสิ่งที่ IBM พลาดครั้งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ พวกเขาพลาดที่ไปร่วมมือกับ Microsoft และ intel ในการสร้าง PC ขึ้นมาให้กลายเป็นมาตรฐานทางด้าน Hardware เพียงเท่านั้น มันคือจุดผิดพลาดครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของยักษ์ใหญ่วงการเทคโนโลยีโลกอย่าง IBM แล้วสถานะอันสั่นคลอนของ IBM ในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนี้จะยืนหยัดอยู่ได้นานเพียงใด แผนต่อไปของ Gates และ Microsoft คืออะไร? อย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม
อ่านตอนที่​ 4 : The Downfall of IBM
Credit แหล่งข้อมูลบทความ
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา