11 ก.ย. 2019 เวลา 12:16 • การศึกษา
"ประเทศไทยมีกี่ชาติพันธุ์กันแน่??" คำถามที่มีในใจเวลาที่ผมเที่ยวไทย-ไม่ไปไม่รู้!!!
สะพานมอญ สังขละบุรี
การเดินทางไปที่ใหม่ๆ มักจะทำให้เราได้คิดและได้ค้นพบอะไรใหม่ๆเสมอ นอกจากนี้ประสบการณ์จากการเดินทางในหลายครั้งก็ยังสามารถทำให้มุมมองและทัศนคติของเราเปลี่ยนไปได้เลยทีเดียว
แม้ว่าจะเป็นการเดินทางในประเทศไทยของเราเองก็ตามนะครับ
โดยส่วนตัวแล้วประเทศไทยก็เป็นประเทศที่น่าค้นหามากๆประเทศหนึ่งในโลกนี้เลยนะครับ เพราะประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มาประวัติศาสตร์ยาวนานและเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยถึงวัฒนธรรมและประเพณีที่หลากหลายและงดงาม
ผมชอบเดินทางมาตั้งแต่เด็กๆครับ และจำได้ว่าครั้งแรกของการผจญภัยด้วยตัวเองน่าจะตอนอายุสักประมาณ 13 ขวบได้ครับเพราะนั่นคือการโบกรถเที่ยวครั้งเเรกในชีวิต
โดยตั้งใจจะโบกรถจากรังสิตไปสุโขทัยและนั่นคือแผนการของเด็กน้อยอ่อนประสบการณ์..... และผลก็คือ
สุโขทัยภาพ ตอนโตแล้ว
รอนานมากครับแต่ไม่มีรถรับเลย จนกระทั่งในที่สุดก็มีรถขนน้ำอัดลมยี่ห้อดังที่ยอมรับให้ผมกับเพื่อนนั่งเบียดไปด้วยและก็ไปส่งถึงพิษณุโลกเลยครับ..
1
จากพิษณุโลกผมก็ได้เรียกรถต่อไปถึงสุโขทัยซึ่งไม่ยากมากนัก...และนั่นเป็นการเดินทางที่ไม่เสียตังค์สักบาทเลยครับแถมสนุกและตื่นเต้นดีอีกด้วยครับ🤣🤣🤣
1
คืนนั้นเมื่อถึงสุโขทัย...คืนแรกไปขอนอนวัดครับ🤣🤣🤣🤣อะไรจะประหยัดได้อีก...ตื่นเช้ากินข้าววัดอีก😊😊..
1
ตั้งแต่นั้นมาก็ใจแตกเลยครับ คือผมจะเที่ยวและเดินทางตลอดถ้ามีโอกาส..
จนกระทั่งทุกวันนี้เมื่อมีโอกาสผมก็มักจะเดินทางและค้นหาประเทศไทยของเราด้วยเช่นกันนะครับ เพราะประเทศไทยเที่ยวอย่างไรก็ไม่เบื่อแถมยังหลากหลายจริงๆ ทั้งวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภาษา
อยุธยา ปัตตานี พนมรุ้ง-บุรีรัมย์ น่าน
นอกจากนี้ธรรมชาติก็สวยงามก็ไม่รองใคร
ปางสีดา-สระแก้ว ภูทอก-บึงกาฬ ไร่เลย์-กระบี่ สามพันโบก-อุบลราชธานี
ด้วยความหลากหลายของวัฒนธรรมและผู้คนนี้เอง ผมก็เคยสงสัยมานานแล้วว่าแล้ว "ประเทศไทยเรามีกลุ่มชาติพันธุ์กี่กลุ่มกันแน่??"
เมื่อไม่นานมานี้ผมก็มีโอกาสไปค้นอ่านหนังสือหลายเล่มที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์ต่างๆในไทยและรวมถึงเอกสารของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติที่ชื่อ "แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างในประเทศไทย" ซึ่งเป็นเอกสารที่มีเนื้อหาดีและชัดเจนมากๆ
1
จากที่ Save ไว้ จาก pdf.
ผมก็เลยอยากมาเล่าให้ฟังนะครับ..
ถ้าเราเเบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในไทยตามภาษาที่พูด ประเทศไทยน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 62 กลุ่มชาติพันธุ์ครับ เยอะเลยใช่มั๊ยครับ สำหรับประเทศขนาดไม่ใหญ่มากแต่กลับมีผู้คนที่หลากหลายมาก
1
อันนี้ก็คงเนื่องมาจากประวัติศาสตร์ที่วุ่นวายและสับสนของดินแดนแถวนี้ครับ....
2
62 กลุ่มชาติพันธุ์เมื่อถูกแบ่งตามตระกูลภาษาที่พูดก็จะแบ่งได้ทั้งหมด 5 ตระกูลภาษา
ภาพจาก เอกสารที่กล่าวมา
กลุ่มแรกก็คือกลุ่มพูดตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งจะมีทั้งหมด 24 ชาติพันธุ์ในกลุ่มนี้ซึ่งรวมถึงกลุ่มภาษาไทยภาคกลาง ไทยอิสาน ไทยใต้ ไทยคำเมือง และภาษาไทกลุ่มอื่นๆ เช่นไทลือ ไทใหญ่ เป็นต้น
แน่นอน 24 กลุ่มชาติพันธุ์นี้มีเปอร์เซ็นของประชากรสูงสุดในประเทศเลยครับคือประมาณ 90% เลยทีเดียว ซึ่งเป็นก็ประชากรหลักของประเทศ
24 ชาติพันธุ์ในกลุ่มภาษาไท-กะได
กลุ่มต่อมาคือกลุ่มพูดตระกูลภาษามอญ-เขมรหรือออสโตรเอเชียติค ซึ่งกลุ่มนี้มีถึง 22 ชาติพันธุ์เลยทีเดียวและกลุ่มนี้ก็อยู่กระจัดจายทั่วทุกภาคแต่มีน้อยหน่อยในทางภาคใต้ และมีประชากรประมาณ 3.5-4% ของประเทศ
ชาติพันธุ์มอญ ญวน และเขมรน่าจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักของกลุ่มนี้แต่ในกลุ่มนี้ยังมีชาติพันธุ์อื่นๆ เช่นชาวซองที่จันทบุรี ชาวว้าทางเชียงราย ก็อยู่ในกลุ่มนี้และยังมีกลุ่มอื่นๆอีก..
22 กลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร
กลุ่มที่สามคือกลุ่มพูดตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งได้แก่ชาวพม่าและชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทยซึ่งมีประมาณ 1.5% ของประเทศ และส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ
11 ชาติพันธุ์ในกลุ่มจีน-ทิเบต
กลุ่มที่สี่คือกลุ่มพูดตระกูลภาษามาเลย์หรือออสโตรเนเชียน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้และมีเพียง 3 ชาติพันธุ์ คือชาวมาเลย์ มอร์แกน และ อุรักลาโว้ยที่อยู่แถวภูเก็ตและกระบี่
และกลุ่มนี้ก็มีประมาณ 3.5% ของประชากร
กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มพูดตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน นั่นก็คือชาวม้งหรือแม้วนั่นเอง ซึ่งประชากรกลุ่มนี้น่าจะมีประมาณสัก 0.5% เท่านั้น
5 ชาติพันธุ์ในกลุ่มภาษามาเลย์ และ ม้ง
เอกสารนี้ศึกษามาหลายปีแล้วนะครับตั้งแต่ 2004 และจะเห็นว่าเอกสารนี้ไม่ได้พูดถึงกลุ่มชาติพันธุ์ชาวจีนโพ้นทะเลเช่น แต้จิ๋ว แคะหรือฮากกา ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง ฮกจิว และไหหลำ ที่อพยพเข้ามาในไทยตั้งแต่ช่วงรัชกาลที่ 5 ถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นจำนวนมาก และมีการคาดการณ์ว่าน่าจะมีจำนวนถึง 14% ของประชากรไทย
คนจีนฮกเกี้ยนในภูเก็ต
แต่เนื่องจากลูกหลานชาวไทยเชื้อจีนเหล่านี้เกือบทั้งหมดใช้ภาษาไทยภาคกลางไปแล้วแม้ว่าอาจจะมีบางส่วนใช้ภาษาไทยอื่นเช่น ไทยใต้ หรือ ไทยอิสานเป็นภาษาเเรก และในปี 2000 จากการศึกษาก็พบว่าจำนวนประชากรที่พูดภาษาจีนโพ้นทะเลนี้เป็นภาษาแรกเหลือน้อยมากๆแล้ว
นั่นหมายถึงชาวไทยเชื้อสายจีนโพ้นทะเลเปลี่ยนกลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์พูดภาษาไทยเกือบหมดแล้ว
กรุงเทพ...
จริงแล้วๆนอกจาก 62 กลุ่มชาติพันธุ์ที่กล่าวมาแล้วประเทศไทยยังมีคนไทยเชื้อสายอินเดียและปัญจาบที่ใช้ภาษาอังกฤษหริอกลุ่มภาษาอินดิกเป็นภาษาแรก และยังมีคนไทยเลื้อสายปาทานหรืออาฟกันนิสถานเหลืออยู่ที่พูดภาษาปาทานเช่นกัน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีประชากรชาวต่างชาติที่ได้สัญชาติไทยเพิ่มขึ้นและประชากรเหล่านี้ 80%เป็นชาวยุโรป
ดังนั้นประเทศไทยน่าจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนอยู่ด้วยจำนวนหนึ่ง ดังนั้นจึงมีการคาดว่าประเทศไทยน่าจะกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดจริงๆร่วม 70 กลุ่มชาติพันธุ์เลยทีเดียว
เชียงใหม่ อยุธยา กาญจนบุรี
สุดท้ายเราทุกคนเป็นคนไทยเหมือนหมดครับ แต่ความหลากหลายทางชาติพันธุ์จริงๆแล้วเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความหลากหลายของประเทศไทย ในหลายๆเรื่องและนี่ก็ทำให้ประเทศเรามีเสน่ห์จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก
ความหลากหลาย
และส่วนดีของความหลากหลายของประเทศอีกอย่าก็คือความหลากหลายช่วยทำให้สังคมมีคิดต่าง และความต่างนี่ละครับสร้างความเจริญให้กับสังคม!!
ดังนั้นเราช่วยรักษาความหลากหลายด้วยความสามัคคีนะครับ
เชียงใหม่ เชียงราย อัมพวา เบตง
#wornstory
"Etholinquistic mapnof Thailand" ;Office of the National Culture Commission. 2004. Retrieved 8 October 2016.
World Bank Group. (n.d.). Population, total [Thailand]. Washington, DC: Author. http://data.worldbank.org/indicator/SP.POP.TOTL?locations=TH

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา