10 ส.ค. 2019 เวลา 10:19 • ประวัติศาสตร์
"คนไทยมาจากไหนกันเเน่??" คำถามนี้เกิดขึ้นอีกครั้งในหัวผมเมื่อมาเยือนรัฐไทยใหญ่ (รัฐฉาน) ในเมียนมา (Myanmar)
1
สภาพบ้านเมืองในรัฐฉาน
เมื่อมาถึงเมืองตองยี (Taunggyi) เมืองหลวงของรัฐฉานหรือรัฐไทยใหญ่ในประเทศเมียนมา ผมได้รู้สึกถึงความใกล้ชิดกันทางด้านภาษาและวัฒนธรรมระหว่างเราคนไทยกับคนไทยใหญ่ทันทีเลยครับ
1
"ใหม่สูงข้า" เป็นคำทักทายแบบ "สวัสดีครับ" บ้านเรา
ผมเดินไปไหนคนจะทัก "อยู่หลีอยู่ข้า" หมายถึง"อยู่ดีอยู่ข้า" หรือ สบายดีครับ/ค่ะ ในภาษาไทยบ้านเรา
"ขายอะไรครับ" ผมชี้ไปที่อาหารชนิดนึงที่ถูกห่อด้วยใบตองและวางขายอยู่ในตลาดเมืองตองยี!!
คนขายทำหน้างงๆๆ แล้วถามว่า "ซื้อสัง?"
ผมถามเลยถามว่า "ขายสัง?" คนขายตอบว่า "หมู"
ผมเลยรู้ว่าข้างในคงเป็นหมูและมันก็เป็นหมูจริงๆ ครับผม!! คือผมเดาภาษาเขาได้ครับเพราะรากภาษาเรามาจากที่เดียวกัน...และภาษาของเราทั้งสองเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน
1
ผมมาตองยีครั้งนี้หลังจากเที่ยวทะเลสาบอินเลซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดชื่อดังในรัฐฉานที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวดะนุ (Danu) มากกว่าไทยใหญ่เนื่องจากบริเวณนี้ชาวทวายได้อพยพมาอยู่ตั้ง 1,000 ปีที่เเล้ว ที่นี่เลยเป็นชุมชนโบราณที่น่าสนใจครับทีเดียว และชาวทวายก็คือบรรพบุรุษของชาวดะนุในปัจจุบันนั่นเอง...
1
ทะเลสาบอินเล
จากทะเลสาบอินเลผมก็นั่งรถต่อมาที่นี่ละครับ "ตองยี" เมืองหลวงของรัฐไทยใหญ่นี่ละครับและผมก็ได้สัมผัสภาษาตระกูลไทยของเราอีกภาษาหนึ่งครับ
บ้านเมืองในตองยี
มันเลยทำให้ผมย้อนนึกถึง "คนไทยมาจากไหนกันแน่?" ซึ่งสมัยเด็กๆ มันมีหลากหลายสมมติฐานมากเลยครับ อย่างเช่น
- คนไทยมาจากเขาอัลไต
- คนไทยอยู่ที่นี่อยู่แล้ว
- คนไทยมาจากตอนใต้ของจีน
- คนไทยมาจากน่านเจ้า
"แล้วอะไรถูกว่ะ??" ผมคิดในใจ..
จริงๆ ต้องเริ่มจากนิยามของคำว่าคนไทยก่อนครับว่าคนไทยหมายถึงอะไร... ถ้าคนไทยหมายถึงกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยมันก็ไม่ยากเท่าไรที่จะย้อนกลับไปในโลกของประวัติศาสตร์กลุ่มคนพูดภาษาไทยครับ...
ภาษาไทยเป็นภาษาตระกูลไท-กะได (Tai Ka-dai) ซึ่งเป็นคนละตระกูลกับภาษาจีน-ทิเบต (Sino- Tibetan) ที่ปัจจุบันคือภาษาที่ใช้ในประเทศจีน, ทิเบต, พม่า และภูฏาน และก็ต่างจากภาษาตระกูล ออสโตรเอเซียติค (Austroasiatic) หรือภาษามอญ-เขมร-เวียดนาม
นอกจากนี้ภาษาไท-กะไดก็ยังต่างจากภาษามาเลย์-อินโดซึ่งเป็นภาษาตระกูลออสโตรเนเชี่ยน (Austronesian) ครับ ที่พูดกันในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
กลุ่มคนที่พูดภาษาไท-กะไดน่าจะมีมาตั้งแต่แคว้นเยว์ (State of Yue) ในสมัยราชวงศ์โจวของจีนเมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาลครับ โดยแคว้นนี้อยู่บริเวณเมืองหางโจว (Haungzhou) ลงมาถึงมลฑลฝูเจี้ยน (Fujian) ของจีนในปัจจุบัน นอกจากนี้นักประวัติศาสตร์จีนยังมีหลักฐานชัดเจนว่าคนเเคว้นเย่ว์ได้ใช้ภาษาตระกูลไท-กะไดในการสื่อสารกัน เพราะบันทึกต่างๆที่ใช้ในแคว้นนี้เป็นภาษาไท-กะได และรวมถึงบันทึกของนางไซซีสตรีเลื่องชื่อชาวเเคว้นเย่ว์นั้นก็เป็นภาษาไท-กะได เช่นเดียวกันครับ
3
แคว้นเย่ว์
ภาพนางไซซีจาก wikipedia
นอกจากนี้นักประวัติศาสตร์จีนยังสันนิษฐานว่าภาษาไท-กะไดนั้น มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยแคว้นฉู่ (State of Chu) เมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาลเลยทีเดียว
การเดินทางของกลุ่มคสพูดภาษาไท-กระได
เเต่หลังจากจิ๋นซีฮ่องเต้รบชนะและรวบรวมแว่นแคว้นต่างๆ ได้สำเร็จเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มคนพูดภาษาไท-กะไดส่วนหนึ่งก็อพยพลงใต้ และเริ่มกระจัดกระจายไปทั่วตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของไทย ลาว พม่า และเวียดนามในปัจจุบัน
จนกระทั่งคริสตวรรษที่ 8-10 ก็มีนครรัฐที่พูดภาษาไท-กะไดมากมายทางตอนเหนือของไทย ลาว และพม่าในปัจจุบันเช่น รัฐหอคำเชียงรุ่ง, นครหิรัญเงินยางเชียงแสน รัฐเมืองเมา และรัฐสิบสองจุไท เป็นต้น
1
ซึ่งปัจจุบันก็จะเห็นได้ว่าคนพูดภาษาไท-กะได มีครอบคลุมตั้งแต่ประเทศไทย ลาว พม่า (ไทยใหญ่) จีนในมณฑลยูนนาน (ไทลือ) จีนในมลฑลกวางสี (ชาวจ้วง) เวียดนาม (ไทดำ และไทยวน) และในอินเดีย (ไทอาหม)
คนพูดภาษาท-กีะไดในปัจจุบัน
ในเวลาต่อมา นครรัฐของคนพูดภาษาไท-กะไดก็เริ่มกลับมามีอำนาจและเป็นรัฐขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อครั้นอาณาจักรพุกามและเขมรอ่อนอำนาจลง เพราะสงครามกับมองโกลในช่วงศตวรรษที่ 13
และก็เป็นช่วงเดียวกันกับการเกิดของ อาณาจักรล้านนา ล้านช้าง สุโขทัย และอยุธยาก็เกิดขึ้น รวมถึงนครรัฐเล็กๆ ของกลุ่มไทยใหญ่และไทลือ ซึ่งเป็นรัฐที่พูดภาษาไท-กะได
ชาวจ้วงในกวางสีของจีนภาพถ่ายเองกับจสก wiki
จากนั้นภาษาก็เริ่มมีความแตกต่างออกไปเนื่องจากอิทธิพลของประเทศรอบข้าง เช่นภาษาจ้วงในกวางสี และภาษาไทลือในสิบสองปันนา ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีน ส่วนภาษาไทยในอยุธยาเองก็ยืมภาษาเขมร มอญ สันสกฤต และภาษาชาติตะวันตกมาใช้มากมายเลยทำให้แตกต่างกัน
แต่ถ้าได้คุยกับคนไทใหญ่ ไทลือ และจ้วง มันก็พอถูไถคุยกันได้รู้เรื่องนะครับ...
คนไทลือในสิบสองปันนายูนนานภาพถ่ายเองกับ ภาพจากwiki
ในทางกลับกัน ภาษาจีนท้องถิ่นอย่างภาษาแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง ก็มีการยืมภาษาไท-กะไดไปใช้อย่างมากมายเช่นกันเนื่องจากบริเวณนั้นกลุ่มคนพูดภาษาไท-กะไดอยู่มาก่อน อย่างเช่น
1
ภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษาของอากงอาม่าผม จะเรียกผู้ชายว่า "ตาโปว" ซึ่งคำนี้มาจากคำรากภาษาไท-กะไดว่า "ตัวผู้" นั่นเอง
นั่นก็จะเห็นว่าภาษาของชนชาติไทยเรานั้นน่าจะย้อนกลับไปอย่างน้อย 2,000 กว่าปีครับ
แล้วคนไทยหล่ะครับ??
ถ้านับตามภาษาเราก็น่าจะมาจากแคว้นเย่ว์เป็นอย่างน้อยครับ แต่ถ้าจะนับตามเชื้อชาติหรือสายเลือดละก็!!...อันนี้ยากครับ
เนื่องจากกลุ่มคนพูดไท-กะไดอพยพมาจากทางเหนือของประเทศไทยเราในปัจจุบัน ซึ่งดินเเดนแถบนี้หรือประเทศไทยในปัจจุบันเป็นดินแดนที่มีคนมอญ-เขมร (กลุ่มคนพูดภาษามอญ-เขมร) คนมาเลย์ (ภาษามาเลย์-อินโด) และคนลัวะ/พยู (พูดภาษาจีน-ทิเบต) อยู่มาก่อนแล้ว
1
ดังนั้นคนในสุโขทัยและอยุธยาน่าจะเป็นชนชาติผสมที่ผสมกับคนที่อยู่มาก่อน และถ้ารวมถึงกลุ่มคนจีน ญี่ปุ่น อินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย โปรตุเกส และชาติอื่นๆ ที่เข้ามามากในช่วงอยุธยา ยิ่งทำให้คนอยุธยาน่าจะมีเชื้อชาติผสมมากมายเลยทีเดียว
สุโขทัย กับ อยุธยา
นอกจากนี้ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีคนจีน คนอินเดีย และคนปากีสถานเข้ามาพอสมควร ดังนั้นคนไทยเราเลยยิ่งผสมเข้าไปใหญ่เลยครับ
อย่างไรก็ตามโลกสมัยใหม่มีการศึกษาดีเอ็นเอ (DNA) และยีน (gene) ครับ โดยการศึกษายีนของคนไทยนั้นมีความหลากหลายมาก แต่กลุ่มใหญ่จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
คือ SP19 (SPA), SP20 (SPB), SP21 (SPC) และ SP22 (SPD) แต่ละกลุ่มก็จะมียีนหลายเผ่าพันธุ์ผสมอยู่ครับ...
มันอาจจะเข้าใจยากนิดนึงแต่ถ้าสรุปง่ายๆ ก็คือ
SPA คือ ถ้าตรวจยีนคนมาเลเซียหลายๆ คน ก็จะเจอคนมาเลเซียที่มียีนนี้เหมือนคนไทย
SPB คือ ถ้าตรวจยีนคนเขมร คนลาวใต้ และคนเวียดนามหลายๆ คน ก็จะเจอคนที่มียีนตัวนี้เหมือนคนไทย
SPC คือ ถ้าตรวจยีนคนลาวเหนือและคนไทยใหญ่หลายๆ คน ก็จะเจอคนที่มียีนตัวนี้เหมือนคนไทย
SPD คือ ถ้าตรวจยีนคนจีนทางใต้หลายๆ คน ก็จะเจอคนที่มียีนตัวนี้เหมือนคนไทย
1
ลักษณะของยีน 4 กลุ่มในแต่ละภาคของประเทศไทย
สรุปโดยรวมนะครับ
คนภาคใต้ส่วนใหญ่มียีนใกล้กับคนมาเลเซีย- สีน้ำเงินเข้ม
คนอิสานส่วนใหญ่มียีนใกล้กับคนเขมร ลาวใต้ เเละเวียดนาม-สีฟ้า
คนเหนือส่วนใหญ่มียีนใกล้กับคนลาวเหนือเเละไทยใหญ่-สีเหลือง
1
คนภาคกลางอัตราส่วนพอๆ กัน แต่มียีนที่เหมือนคนจีนใต้เป็นจำนวนมาก-สีเเดง
และคนไทยจริงๆ มียีนกลุ่มอื่นอีกนะครับ แต่อัตราส่วนน้อย เลยไม่ได้มาลงอย่างเช่น ชาวเขา ลูกครึ่ง และชาวอินเดีย เป็นต้น
แต่ทุกภาคของไทยก็มียีนหลายแบบนะครับ
สุดท้ายคืออย่าไปนับเลยครับเรื่องเชื้อชาติหรือสายเลือดเพราะพวกเราเป็นชนชาติผสม..ถ้าผมเป็นนักประวัติศาสตร์ผมจะนับจากภาษานะครับเพราะชาติอื่นๆ เขาก็นับแบบนี้ครับ..
ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์นะครับ
#wornstory ฝากไลค์ และเเชร์นะครับ
Reference:
Insight into the Peopling of Mainland Southeast Asia from Thai Population Genetic Structure
Pongsakorn Wangkumhang, Philip James Shaw, [...], and Sissades Tongsima
Peter Jenks and Pittayawat Pittayaporn. Kra-Dai Languages. Oxford Bibliographies in “Linguistics”, Ed. Mark Aranoff. New York: Oxford University Press.
Blench, Roger. 2008. The Prehistory of the Daic (Tai-Kadai) Speaking Peoples. Presented at the 12th EURASEAA meeting Leiden, 1–5 September 2008. (PPT slides)
Blench, Roger (2018). Tai-Kadai and Austronesian are Related at Multiple Levels and their Archaeological Interpretation (draft). The volume of cognates between Austronesian and Daic, notably in fundamental vocabulary, is such that they must be related. Borrowing can be excluded as an explanation
Liang Min 梁敏 & Zhang Junru 张均如. 1996. Dongtai yuzu gailun 侗台语族概论 / An introduction to the Kam–Tai languages. Beijing: China Social Sciences Academy Press 中国社会科学出版社. ISBN 9787500416814
Luo, Yongxian. 2008. Sino-Tai and Tai-Kadai: Another look. In Anthony V. N. Diller and Jerold A. Edmondson and Yongxian Luo (eds.), The Tai-Kadai Languages, 9-28. London & New York: Routledge.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา