14 ก.ย. 2019 เวลา 09:47 • สุขภาพ
เคยสงสัยมั้ยเวลาไปโรงพยาบาลแล้วต้องฉีดยา เวลาที่คุณหมอหรือคุณพยาบาลฉีดยาให้ ทำไมบางครั้งถึงฉีดไม่เหมือนกัน วันนี้พี่จ้อนไปหาข้อมูลมาให้แล้ว
คร่าวๆ ตามนี้
6
การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
คือการให้ยาเข้าไปในกล้ามเนื้อลายของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อต้นแขน หรือกล้ามเนื้อสะโพก เป็นต้น หลังจากนั้นยาชนิดนี้จะสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ และจะค่อยปลดปล่อยถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเดินทางไปออกฤทธิ์ต่อไป
การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
คือ การให้ยาเข้าสู่กระแสโลหิตโดยตรง นิยมให้ทางหลอดเลือดดำที่ปลายแขน ปริมาณยาทั้งหมดที่ให้จะเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงทันที โดยไม่ผ่านการดูดซึมยาเหมือนยาในรูปแบบอื่นๆ ร่างกายจึงได้ รับยาทั้งหมดอย่างรวดเร็ว วิธีนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการผลการรักษาอย่างรวดเร็วทันท่วงทีหรือในกรณีฉุกเฉิน
การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
วิธีนี้ยาจะออกฤทธิ์ได้ช้ากว่าฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งจำนวนยาฉีดต้องไม่เกิน 2 มิลลิลิตร ฉีดเข้าไปในเนื้อเยื่อซึ่งอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ฉีดบริเวณต้นแขน ต้นขา และหน้าท้องข้างสะดือ ต้องแน่ใจว่าปลายเข็มไม่แทงเข้าหลอดเลือด โดยดึงลูกสูบออก หากไม่พบเลือดในกระบอกฉีด จึงดันยาเข้าไปช้าๆ ควรย้ายที่บ่อยๆ และสังเกตดูอาการอักเสบเป็นฝี (Abscess) หรือการตายของเนื้อเยื่อ (Necrosis) จะไม่ใช้วิธีนี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก ความดันโลหิตต่ำ เพราะยาจะดูดซึมช้าหรือไม่ดูดซึม
1
การฉีดยาเข้าผิวหนัง
เป็นการฉีดยาจำนวนน้อยมาก ไม่เกิน 0.3 มิลลิลิตร เข้าไปในผิวหนังระหว่างชั้นหนังกำพร้ากับหนังแท้วิธีนี้ใช้สำหรับทดสอบว่าผู้ป่วยแพ้ยานั้นหรือไม่ เช่น การทดสอบภูมิแพ้ของร่างกายต่อยาเพนนิซิลลิน (Penicillin test) ยาต้านพิษบาดทะยัก (Tetanus antitoxin test) เป็นต้น หรือใช้ในการทดสอบภูมิต้านทานวัฯโรค (Tuberculin test หรือ Purified protein derivative test = PPD) หรือทดสอบโรคภูมิแพ้ (Allergic disease) หรือให้ภูมิคุ้มกันโรค หรือฉีดยาชาเฉพาะที่ นิยมฉีดที่ท้องแขน การฉีดต้องให้เป็นตุ้มนูนเล็กๆ (Wheal) จะทำเครื่องหมายเพื่ออ่านผลใน 24-48 ชั่วโมง
โฆษณา