21 ก.ย. 2019 เวลา 01:37 • ไลฟ์สไตล์
พุทธศาสนสุภาษิต คือ อะไร
คำสอนในพระพุทธศาสนา มีองค์ ๙ ประการ ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และ เวทัลละ
ภาพจาก: 84000.org
💎💎💎💎💎💎💎💎💎
🔸️อธิบาย นวังคสัตถุศาสน์🔸️
นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง,
ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ
๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)
๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)
๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น)
๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)
๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)
๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)
๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)
๘. อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ)
๙. เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น);
เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์;
💎💎💎💎💎💎💎💎💎
สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ = ดี, ภาษิต = กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม
เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต (หรือพระพุทธพจน์) ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น
พุทธศาสนสุภาษิตได้มาจากเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในคำสอนในพระพุทธศาสนาดังกล่าว ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเนื้อความสั้นๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรมประจำใจ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทาง อันจะนำไปสู่ความสุข ความเจริญงอกงามในชีวิตของตน แล้วยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุขในสังคมโลกอีกด้วย ...
[หมายเหตุเพจ:
พุทธศาสนาสุภาษิตชุดแรกที่คัดมาจาก dhammathai.com จบลงไปแล้ว ต่อจากนี้จะนำเสนอชุดที่ ๒ ที่คัดมาจากโพสท์ในเว็บบอร์ด dhammajak.net ตาม url ข้างล่างนี้]
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
โพสท์โดย สาวิกาน้อย
คัดจาก:
อธิบาย นวังคสัตถุศาสน์ จาก
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา