23 ก.ย. 2019 เวลา 14:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
มาผลิตไฟฟ้าใช้จากผลต่างอุณหภูมิร้อน-เย็นกันเถอะ "ผลิตง่าย ประหยัด" ไม่ได้โม้ . . .😁😉
แม้ในค่ำคืนอันมืดมิด ยังคงสร้างแสงสว่างได้ หากเราเข้าใจถึงแก่นแท้ธรรมชาติ 😊
เมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถคิดค้นวิธีการผลิตไฟฟ้าในยามค่ำคืน โดยไม่ต้องรอลม แถมต้นทุนต่ำ
1
วิธีใหม่นี้สามารถผลิตไฟฟ้าพอที่จะทำให้หลอด LED สว่างได้ในยามค่ำคืน Cr: UCLA Samueli School of Engineering
ถ้าถามถึงวิธีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนในตอนกลางคืน ที่นึกออกก็คงต้องเป็นกังหันลม น้ำจากเขื่อน แต่วันนี้แม้ค่ำคืนที่มืดมิดเราก็ผลิตไฟฟ้าได้ ด้วยอุปกรณ์ราคาไม่ถึง 1,000 บาท
2
แต่ทั้งนี้ก็อย่าเพิ่งตื่นเต้นไป วิธีการผลิตไฟฟ้าแบบใหม่นี้ยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้ไม่มากนัก แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้หลอด LED สว่างไสวยามค่ำคืน
โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย California ได้พัฒนาวิธีการใหม่นี้ขึ้นมา
หลักการทำงานโดยอาศัยการเย็นตัวลงของวัตถุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในทุกค่ำคืน Cr: Aaswath Raman/UCLA
โดยอาศัยหลักการ Radiative Cooling ซึ่งเป็นการกระจายความร้อน โดยการแผ่รังสีความร้อนของวัตถุให้กับอากาศเย็นในตอนกลางคืน ทำให้อุณหภูมิของวัตถุลดลงอย่างรวดเร็ว
หลักการนี้เริ่มมีการนำมาใช้ในการออกแบบบ้านสมัยใหม่ โดยเลือกใช้วัสดุที่คายความร้อนเร็ว ซึ่งเมื่อพระอาทิตย์ตกดินก็จะเริ่มคายความร้อนทำให้บ้านเย็นลงอย่างรวดเร็วซึ่งจะช่วยประหยัดแอร์นั่นเอง
หลักการแอร์ธรรมชาติ, Cr: https://engineering.columbia.edu/press-releases/polymer-coating-buildings
กลับมาที่การผลิตไฟฟ้าวิธีใหม่ ด้วยวัสดุที่คายความร้อนเร็วนี้จะทำหน้าที่ลดอุณหภูมิให้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Thermoelectric Generator ซึ่งจะผลิตกระแสไฟฟ้าจากผลต่างของอุณหภูมิสองด้านของตัว Generator
ชุดอุปกรณ์สาธิตสร้างจากวัสดุเรียบง่ายหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป Cr: Aaswath Raman/UCLA
ซึ่งตัว Thermoelectric Generator ไม่ใช่อุปกรณ์พิศดารอะไร มีใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน หาซื้อได้ราคาไม่แพง ดังนั้นจึงทำให้ต้นทุนของชุดผลิตไฟฟ้ารูปแบบใหม่ตามภาพนี้ราคาไม่ถึงหนึ่งพันบาท
ให้แสงสว่างได้โดยไม่ต้องใช้ถ่าน ด้วยผลต่างอุณหภูมิแต่ละด้านของตัวกำเนิดไฟฟ้าแค่ 2 องศา, Cr: Aaswath Raman/UCLA
โดยอุปกรณ์นี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ทั้งคืนเพราะผลต่างอุณหภูมิทั้งสองด้านของตัวกำเนิดไฟฟ้ายังมีอยู่ตลอดแม้ว่าอุณหภูมิอากาศจะเย็นลงตามเวลา
แม้ว่าศักยภาพในการผลิตไฟฟ้ายังน้อย เพียง 25 มิลลิวัตต์ต่อตารางเมตร แต่ก็เพียงพอต่อการให้พลังงานกับหลอดไฟ LED หรืออุปกรณ์วัดค่าในพื้นที่ห่างไกล
ทั้งนี้ยังสามารถประยุกต์ติดตั้งชุดผลิตไฟฟ้าแบบใหม่นี้เข้ากับแผงโซล่าเซล ที่เมื่อพระอาทิตย์ตกดินก็ยังผลิตไฟฟ้าต่อได้โดยใช้การเย็นตัวลงของแผงโซล่าเซลในตอนกลางคืนนั่นเอง
เมื่อมนุษย์เรามีความเข้าใจในธรรมชาติอย่างถ่องแท้ แม้ยามค่ำคืนอันมืดมิด เราก็ยังคงมีแสงสว่าง
ธรรมชาติมีความอัศจรรย์อยู่มากมายที่รอให้เราได้ทำความเข้าใจ เรื่องเหลือเชื่อวันนี้ก็คงจะเป็นเรื่องปกติในวันหน้า 😉

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา