26 ก.ย. 2019 เวลา 01:07 • ไลฟ์สไตล์
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดที่ ๖
๏ ธัมมวรรค - หมวดธรรม
ธมฺโม รหโท อกทฺทโม
🔸️ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม
ขุ.ชา.ฉกฺก. ๒๗/๒๐๒
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
🔸️ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้
สํ.ส. ๑๕/๕๘
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี
🔸️ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ขุ.เถร. ๒๖/๓๑๔
น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี
🔸️ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ
ขุ.เถร. ๒๖/๓๑๔
ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ
🔸️เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม
องฺ.ปญฺจก. ๒๓/๕๑
ธมฺเม ฐิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ
🔸️ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป
องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๒๕
ธมฺมํ จเร สุจริตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร
🔸️พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติให้ทุจจริต
ขุ.ธ. ๒๕/๓๘
นภญฺจ ทูเร ปฐวี จ ทูเร ปารํ สมุทฺทสฺส ตทาหุ ทูเร
ตโต หเว ทูรตรํ วทนฺติ สตญฺจ ธมฺโม อสตญฺจ ราช
🔸️เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และฝั่งทะเลก็ไกลกัน
แต่ธรรมของสัตบุรุษกับอสัตบุรุษ ไกลกันยิ่งกว่านั้น
(พฺราหฺมณ) ขุ.ชา.อสีติ. ๒๘/๑๔๓
ยทา จ พุทฺธา โลกสฺมึ อุปฺปชฺชนฺติ ปภงฺกรา
เต อิมํ ธมฺมํ ปกาเสนฺติ ทุกฺขูปสมคามินํ
🔸️เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างอุบัติขึ้นในโลก
พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้
(สารีปุตฺต) ขุ.ปฏิ. ๓๑/๔๑๘
เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทตฺตรํ
🔸️ชนใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว
ชนเหล่านั้นจักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก
ขุ.ธ. ๒๕/๒๖
โย อิจฺเฉ ทิพฺพโภคญฺจ ทิพฺพมายุ ํ ยสํ สุขํ
ปาปานิ ปริวชฺ เชตฺวา ติวิธํ ธมฺมมาจเร
🔸️ผู้ใดปราถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์
ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม ๓ อย่าง
(เทวธีตา) ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๓๐๖
อาทานตณฺหํ วินเยถ สพฺพํ อุทฺธํ อโธ ติริยํ วาปิ มชฺเฌ
ยํ ยํ หิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ เตเนว มาโร อนฺเวติ ชนฺตุ
🔸️พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง,
เพราะเขาถือมั่นสิ่งใดๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้นๆ
ขุ.สุ. ๒๕/๙๔๖, ขุ.จู. ๓๑/๒๐๒.
อุจฉินฺท สิเนหมตฺตโน กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ
🔸️จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง
จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว
ขุ.ธ. ๒๕/๕๓
โอวเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย
สตํ หิ โส ปิโย โหติ อสตํ โหติ อปฺปิโย
🔸️บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี
เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
ขุ.ธ. ๒๕/๒๕
กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา วีตตณฺโห สทา สโต
สงฺขาย นิพฺพุโต ภิกฺขุ ตสฺส โน สนฺติ อิญฺชิตา
🔸️ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา
มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว
ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๑, ขุ.จู. ๓๐/๓๕
จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต
🔸️พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ, เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.อสีติ. ๒๘/๑๔๗
ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต มนสา จ ผุโฐ สิยา
กาเม จ อปฏิพทฺธจิตฺโต อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ
🔸️พึงเป็นผู้พอใจและประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้
ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่าผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน
ขุ.ธ. ๒๕/๔๔
ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ
🔸️ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา
ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
สํ.ส. ๑๕/๑๐๒
เต ฌายิโน สาตติกา นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ
🔸️ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ขุ.ธ. ๒๕/๑๘
ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ
นาญฺญตร ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ
🔸️ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
(วชิราภิกฺขุนี) สํ.ส. ๑๕/๑๙๙, ขุ.มหา. ๒๙/๕๓๖
ธมฺโม ปโถ มหาราช อธมฺโม ปน อุปฺปโถ
อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคติ
🔸️มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม)
ส่วนอธรรมนอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรกถึงสวรรค์
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.สฏฺฐิ. ๒๘/๓๙
นาญฺญตฺร โพชฺฌาตปสา นาญฺญตฺร อินฺทริยสํวรา
นาญฺญตฺร สพฺพนิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ
🔸️เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย
นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง
สํ.ส. ๑๕/๗๕
เย สนฺตจิตฺตา นิปกา สติมนฺโต จ ฌายิโน
สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกฺขิโน
🔸️ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ
เป็นผู้เพ่งพินิจไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๒๓/๒๖๐
สมฺมปฺปธานสมฺปนฺโน สติปฏฺฐานโคจโร
วิมุตฺติกุสุมสญฺฉนฺโน ปรินิพฺพายิสฺสตฺยนาสโว
🔸️ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์
ดาดาษด้วยดอกไม้คือวิมุตติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน
(เทวสภเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๒๗๘๒
สุสุขํ วต นิพฺพานํ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
อโสกํ วิรชํ เขมํ ยตฺถ ทุกฺขํ นิรุชฺฌติ
🔸️พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ
(หาริตเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๐๙
โสรจฺจํ อวิหึสา จ ปาทา นาคสฺส เต ทุเว
สติ จ สมฺปชญฺญญฺจ จรณา นาคสฺส เต ปเร
🔸️โสรัจจะและอวิหิสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง
สติและสัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า
(อุทายีเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๖๘
หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย ปมาเทน น สํวเส
มิจฺฉาทิฏฺฐึ น เสเวยฺย น สิยา โลกวฑฺฒโน
🔸️ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท
ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก
ขุ.ธ. ๒๕/๓๗
หีเนน พฺรหฺมจริเยน ขตฺติเย อุปปชฺชติ.
มชฺฌิเมน จ เทวตฺตํ อุตฺตเมน วิสุชฺฌนฺติ
🔸️บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว,
ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง
ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๑๙๙
จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต
🔸️พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง
ขุ.ชา. ๒๘/๓๘๒/๑๔๗
ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ
🔸️ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา
ส่วนธรรมสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
สํ.ส. ๑๕/๓๓๓/๑๐๒
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
โพสท์โดย สาวิกาน้อย
คัดจาก:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา