25 ก.ย. 2019 เวลา 16:23 • สุขภาพ
นักกิจกรรมบำบัดสมองเสื่อม..อาชีพแห่งอนาคต
วันนี้ครอบครัวผู้ป่วยสมองเสื่อม พา "คุณลุง" มาติดตามอาการ..สิ่งที่ข้าพเจ้าคุ้นเคยคือ ญาติจะฟ้องว่า "คุณลุง"ก่อวีรกรรมอะไรบ้าง ทั้งเรื่องลืม, อยู่หน้าทีวีทั้งวัน และเรื่องหงุดหงิดปาข้าวของ ขณะที่เจ้าตัวยิ้ม ถามจำเลยว่าจำได้ไหมก็หัวเราะแหะๆ
ข้าพเจ้าก็พยายามปรับยา 'บรรเทา' (ไม่เชิงรักษา) สมองเสื่อม ร่วมกับยาปรับอารมณ์ เท่าที่ทำได้ แต่ก็ดูไม่ดีขึ้นนัก
แต่วันนี้ สิ่งที่น่าชื่นใจอย่างไม่คาดคิดคือ ญาติชมคุณลุง ว่าตอนนี้ทั้งความจำและพฤติกรรมดีขึ้นมาก..หลังจากได้นักกิจกรรมบำบัด มาชวน 'เล่นเกมส์'
เพื่อทดสอบ ข้าพเจ้าจึงถาม"คุณลุง" ว่าเขาให้ทำอะไรบ้าง สิ่งที่คาดว่าคือหัวเราะแหะๆ ดังเคย แต่ผิดคาด คุณลุงตอบเป็นฉากๆ.."ก็มีเอามือขวาจับหูซ้าย..เอาลูกบอลขาวๆ ใส่ตะกร้า..เขียนรูป..."
ข้าพเจ้าจึงร้อง 'ว้าว' ในใจ สอบถามญาติว่า นักกิจกรรมบำบัด คงมีประสบการณ์มาก..ผิดคาดอีก ญาติตอบ อายุ 20 กว่าๆ จบใหม่ แต่มีความมืออาชีพ เฝ้าสังเกตพฤติกรรม ความชอบ ของคนไข้อย่างละเอียด ก่อนแปลผล และเลือกกิจกรรมให้ได้ตรงใจ สอนคนไข้ด้วยความใจเย็น
ในที่สุด คนไข้ที่ลืมกินยาของหมอ T_T
ก็ถามหาว่า 'วันนี้มีกิจกรรมอะไร' ^_^
https://dailycaring.com/12-engaging-activities-for-seniors-with-dementia-reduce-agitation-boost-mood/
นักกิจกรรมบำบัด - Occupational therapist
เวลาฟังชื่อ ข้าพเจ้าเคยเข้าใจว่าบำบัดเพื่อฟื้นฟูอาชีพ แต่แท้จริง 'Occupied' คือการให้อยู่กับกิจกรรมตรงหน้า โดยอาศัยหลัก 'Flow' สิ่งใดตรงกับความชอบและระดับของประสาทสัมผัส (Sensory preference & Treshold) ก็จะทำให้คนไข้เพลินไปกับสิ่งนั้น ทั้งได้ฝึกทักษะ และลดพฤติกรรมหงุดหงิดวุ่นวายได้ค่ะ
วิชาชีพนี้ อาศัยความเป็น 'มนุษย์' สูงมาก ยากที่ AI จะทำได้เหมือน และยังทจะเป็นที่ต้องการในอนาคตที่คนสูงวัยเพิ่มขึ้น ตราบใดที่เรายังไม่พบวัคซีนกันสมองเสื่อมค่ะ
โฆษณา