29 ก.ย. 2019 เวลา 17:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เข้าสู่ตอนที่สาม ก่อนหน้าเราได้พูดถึง มลภาวะ และการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ในตอนนี้เรามาพูดถึงเรื่องใกล้ตัวกันบ้างคือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ส่งผลเสียอย่างไร
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ที่เคยเรียนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ครูก็สอนว่าทรัพยากรธรรมชาติแบ่งเป็นทรัพยากรที่แทนที่ได้และแทนที่ไม่ได้ ซึ่งในความคิดเห็นของผมดูจะเป็นมุมมองที่เห็นแก่ตัว ซึ่งถ้ามองในความเป็นจริงทรัพยากรที่เราว่าแทนที่ได้เช่นป่าไม้หรือสัตว์ป่าก็ยังแทนที่ไม่ทันต่อการใช้งานของมนุษย์ ปัญหาทั้งหมดก็คงเริ่มต้นมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์
แล้วมันเกิดได้อย่างไร?
เราต้องท้าวความถึงสงครามโลกครั้งที่สอง(ค.ศ.1939-1945) ยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีถูกนำมาใช้เพื่อการทำสงครามรวมถึงเทคโนโลยีการผลิตอาหาร และการแพทย์ เพื่อสุขภาพของทหาร และประชากรที่อาจจะต้องเป็นทหาร เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เราจึงได้มรดกเหล่านี้มาใช้ในช่วงที่มีความสงบสุข เช่นยา penicillin (บ้างคนอาจบอกว่า Alexander Fleming ค้นพบก่อน WW2 แต่ Howard Florey และคณะ พิสูจน์ว่ามันใช้งานได้จริงนะก็หลังจาก Flaming ค้นพบถึง 11 ปี) มีการผลิตในปริมาณมากถึง 2.3 ล้าน โดส ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นแม่แบบอุตสาหกรรมยายุคแรกๆ ยางสังเคราะห์ที่ผลิตขึ้นทดแทนการขาดยางธรรมชาติ วิทยุโทรศัพย์ไร้สาย หรือแม้กระทั่งไมโครเวฟ ก็เป็นผลผลิตที่ตกทอดมาจากสงคราม ทำให้ช่วงหลังสงครามความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้นทำให้ค่าเฉลี่ยประชากรมนุษย์ เพิ่มขึ้นประมาณ 3%ต่อปีซึ่งมากกว่าช่วงก่อนสงครมถึงสามเท่าทำให้ 25 ปีหลังสงครามประชากรเพิ่มขึ้นสองเท่า ทำให้ชื่อเล่นของช่วงเวลานั้นคือ "baby-boom" ซึ่งปัจจุบันประชากรโลกอยู่ที่ประมาณ 7,000 ล้านคน(รูปที่ 1) คาดว่าในปี 2050 ประชากรโลกจะแตะ 10,000 ล้านคน ซึ่งตัวเลขคาดการณ์ว่าถ้าเราใช้ทรัพยากรณ์ทั่งหมดของโลกก็จะรองรับประชากรได้ประมาณ 16,000 ล้านคน (แต่ตอนนี้ผมก็ว่าแน่นมากแล้วนะ ^^)
รูปที่ 1 การเพิ่มขึ้นของประชากรตั้งแต่ปี 1950 จนถึงปัจจุบัน แลค่าทำนายจนถึงปี 2050 Cr. : https://www.britannica.com/science/population-biology-and-anthropology/Population-projections
แล้วผลที่ตามมาคืออะไรบ้างละ?
ผลที่ตามมาจากประชากรที่เพิ่มคือการใช้ทรัพยากรณ์ที่เพิ่ม นั้นก็คือปัจจัยสี่นั้นละ ดังนั้นเราต้องการที่อยู่และอาหารมากขึ้นสิ่งที่จะเป็นอย่างยิ่งคือที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูก สร้างบ้าาน และการหาทรัพยากรณ์เช่นแร่มีค่าต่างๆ
โดยรายงานของ United Nations Food and Agriculture Organization (FAO) ประมาณการว่าเราจะสูญเสียพื้นที่ป่าประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตรทุกๆสิบปี
โดยการสูญเสียป่าไม้นี้เกิดขึ้นปริเวณเส้นศูนย์สูตรที่เป็นป่าเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเพื่อนำพื้นที่ไปปลูกพืชเชิงเดียว เช่นปาล์มน้ำมัน, ยางพารา
รูปที่ 2 แผนที่โลกแสดงป่าไม้ที่เหลืออยู่ และบริเวณที่ถูกทำลาย Cr. :https://www.britannica.com/science/deforestation
รูปที่ 3 ภาพถ่ายดาวเทียบแสดงการสูญเสียป่าไม้ในเกาะบอเนียวในปี 2000 (ซ้าย) และปี 2018(ขวา) Cr. : M.C. Hansen et al., University of Maryland, Google, USGS, NASA Creative Commons Legal Code
ดังนั้นผลที่ตามมาจากการสูญเสียป่าไม้คือเรื่องเดิมๆที่เราพูดถึงเมื่อตอนที่แล้วคือสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากไม่มีป่าดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์โดยจะไม่ขอพูดถึงซ้ำนะครับ เดี๋ยวจะเบื่อกัน ^^
อีกประการหนึ่งคือการสูญเสียความหลากหลาบทางชีวภาพ เนื่องจากการสูญเสียป่าส่วนใหญ่เป็นบริเวณเขตร้อน ทำใฟ้สัตว์และพืชสูญเสียแหล่งที่อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการสูญพันธุ์ ซุ่งมีคาดว่าถ้ายังคงเป็นเช่นนี้เราจะสูญเสียสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตประมาณ 30-50% ในช่วงกลางของศรรตวัตที่ 21
แล้วการสูญเสียสัตว์ป่าเกี่ยวอะไรกับเรา?
คนส่วนมากคงคิดว่าการที่เก้งกวางหรือเสือสูญพันธุ์ ไม่เห็นจะเป็นผลเสียกับเราตรงไหน แต่ในธรรมชาติทุกชีวิตมีความเกี่ยวเนื่องกัน ผมยกตัวอย่างในสัตว์เล็กๆเช่นผึ้งถ้าเกิดมีการสูญพันธ์ของผึ้งจะส่งผลโดยตรงต่อพืชที่ใช้ผึ้งในการผสมเกสร ทำให้สัตว์กินพืชขาดแคลนอาหาร และจะส่งผลต่อสัตว์กินเนื้อและมนุษย์อย่างแน่นอน
รูปที่ 4 รายชื่อตัวอย่างพืชที่ต้องการผึ้งในการผลสเกสร Cr. :https://www.kenyonbee.com/pollination-services/
และที่สำคัญคือการสูญเสียสมดุลของแร่ธาตุโดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์บอน และน้ำ โดยน้ำกว่า 50% ในระบบนิเวศถูกเก็บไว้ใรรูปของป่าที่ถูกดูดซับไว้โดยต้นไม้ทำให้เมื่อไม่มีป่าน้ำเหล่าจึงอยู่ในรูปของน้ำอิสระ เราจึงพบเหตุน้ำท่วมได้บ่อยในช่วงหลัง และพบพายุที่รุนแรงเนื่แงจากปริมาณน้ำในอากาศที่มีสูงขึ้น
เราอาจจะถูกบดบังปัญหาที่ผมได้พูดไปโดยเทคโนโลยี และความสะดวกสบาย ซึ่งเหล่านี้แลกมาด้วย ค่าตอบแทนที่เราอาจชดใช้ได้ไม่หมด เราจะเห็นได้ว่าทั้งป่าไม้ อากาศ ทะเล ทั้งหมดมีความเกี่ยวเนื่องกัน ดังนั้นถ้าเราทำลายสิ่งใดสิ่งหนึ่งผลกระทบจะเกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ต่อกัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงการกระทำทุกอย่างต่อจากนี้เพื่อให้ความเลวร้ายนี้บรรเทาลง แม้ว่าจะเลยจุดที่เราจะแก้ไขได้แล้วก็ตาม
ตอนต่อไปเป็นตอนสุดท้ายจะพูดถึงหนทางแก้ไขที่น้กจัยและนักประดิษฐ์ ทั่วโลกมีความพยายามคิดเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อให้โลกเรานั้นดีขึ้น
อ้างอิง
"15 environmental problem that our world is facing today" https://www.conserve-energy-future.com/15-current-environmental-problems.php
John L. Gittleman "Extinction" Sep 13, 2019 https://www.britannica.com/science/extinction-biology
โฆษณา