6 ต.ค. 2019 เวลา 10:00 • ปรัชญา
รู้หรือไม่ว่า ? ระบบการศึกษาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์จะมีการสอนเรื่องการเงินกันตั้งเเต่เด็กยังเรียนอยู่ชั้น ป.2 หรือเเค่อายุ 7 ขวบ
การสอนของคนสวิสกลับไม่สอนให้เด็กรู้จักประหยัด เเต่จะสอนการบริหารเงินที่ถูกต้อง ซึ่งพวกเขามีวิธีการที่เเยบยลกว่านั้น...
อย่างเช่น เวลาที่คนสวิสจะซื้อโทรศัพท์มือถือใหม่สัก 1 เครื่อง โดยมีตัวเลือกระหว่าง Iphone กับ Samsung
เเน่นอนว่าสำหรับคนไทยเเล้ว Iphone นั้นราคาเเพงกว่า
เเต่วิธีคิดราคาของคนสวิสพวกเขาจะไม่วัดราคาตามที่เขียนไว้บนป้าย เเต่จะวัดกันที่ความคุ้มค่าของมันมากกว่า
สมมุติว่า Iphone ราคา 30,000 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี เเสดงว่าเฉลี่ยเเล้วเราจะต้องจ่ายเงินให้กับ Iphone ปีละ 6,000 บาท
ส่วน Samsung ราคา 20,000 บาท เเต่มีอายุการใช้งานเเค่ 2 ปี เเสดงว่าเฉลี่ยเเล้วเราจะต้องจ่ายเงินให้กับ Samsung ปีละ 10,000 บาท
ดังนั้นก็เท่ากับว่า โทรศัพท์มือถือของ Samsung เเพงกว่า เพราะต้องเสียเงินให้กับ Samsung มากกว่าปีละ 4,000 บาท
(ผมไม่ได้กำลังจะบอกว่า Iphone ดีกว่า เป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้น)
นอกจากนี้ระบบการศึกษาของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ยังสอนเรื่องการออมให้กับเด็กตั้งเเต่อยู่ ป.2 อีกด้วย
เเต่วิธีการสอนเรื่องการออมของคนสวิส ไม่ใช่เเค่บอกให้เด็กนำเงินไปหยอดกระปุกออมสินวันละ 10 บาท โดยที่ไม่รู้เลยว่า ที่หยอดเงินใส่กระปุกอยู่ทุกวัน นั้นหยอดไปทำไม หยอดเพื่ออะไร หยอดไปเเล้วได้อะไร ?
เเต่ในโรงเรียนของพวกเขาสอนถึงขนาดที่ว่า ถ้าคุณจะซื้อโทรศัพท์ ซื้อรถ ซื้อบ้าน หรือเเม้กระทั่งจะเเต่งงาน จะมีลูก คุณต้องใช้เงินเท่าไหร่ ต้องออมเท่าไหร่ เเล้วต้องออมกี่ปีถึงจะพอ ?
เด็กสวิสทุกคนจึงรู้หมดเลยว่า การที่พ่อเเม่เกิดพวกเขามาเเละเลี้ยงจนโต พ่อเเม่ต้องใช้เงินเท่าไหร่ เด็กสวิสจะรู้ค่าใช้จ่ายของบ้านทั้งหมด ว่าในเเต่ละเดือน จะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
เพราะคนสวิสถูกสอนเรื่องการเงินกันมาตั้งเเต่เด็ก จึงไม่เเปลกเลยที่ปัจจุบันคนสวิส 1 คนจะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 2.7 ล้านบาทต่อปี คิดเป็น 224,000 บาทต่อเดือน สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในทวีปยุโรป เป็นรองเพียงประเทศลักเซมเบิร์กเท่านั้น
หากถูกใจบทความนี้ ก็อย่าลืมกดไลค์ กดเเชร์ เเละกดติดตามเพจ "สมองไหล" กันด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆ ที่มีมาเสริฟให้คุณทุกวัน
ขอบคุณครับ 🙏
โฆษณา