7 ต.ค. 2019 เวลา 15:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หนามยอกก็ต้องเอาหนามบ่ง ⚡⚡
เมื่ออาวุธจัดการกับเชื้อแบคทีเรียสุดแกร่งจอมดื้อยา คือเชื้อไวรัสตัดแต่งพันธุกรรม 😲👀
ไวรัส ศัตรูตัวฉกาจของแบคทีเรีย Cr: Christine Daniloff/MIT
ตุลาคม 2017: Graham Hatfull ได้รับอีเมลจากเพื่อนนักจุลชีววิทยา James Soothill ที่กำลังสิ้นหวัง ขอให้ช่วยเคสผู้ป่วยวัยรุ่นชาวอังกฤษ 2 รายที่กำลังป่วยหนักจากเชื้อแบคทีเรียที่กำลังจะคร่าชีวิตพวกเขา
1
ซึ่งวัยรุ่นชายหญิงทั้งสองคนนี้ ป่วยด้วยโรคจากความผิดปกติของยีนที่ทำให้ปอดไม่สามารถสร้างเสมหะเพื่อใช้ต่อสู้กับเชื้อโรคได้
การรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะดำเนินไปด้วยดี แต่ไม่นานคณะแพทย์ก็ตรวจพบการติดเชื้อจากรอยเย็บแผลภายใน
ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าการติดเชื้อในโรงพยาบาลนั้นอันตรายมาก ๆ เนื่องจากเชื้อโรคเหล่านี้ผ่านการวิวัฒน์จนดื้อยาขั้นสุดถึงอยู่รอดในโรงพยาบาลได้
2
โดยในอีเมลของ James Soothill บอกว่าเชื้อได้ลามมายังผิวหนังด้านนอก และอวัยวะภายในอื่น ๆ แล้ว และเชื้อดื้อต่อยาทุกชนิดที่โรงพยาบาลมี
1
ด้วยไม่มียารักษาได้แล้ว คณะแพทย์จำต้องนำเด็กน้อยทั้งสองเข้าสู่แผนการรักษาประคับประคองระยะสุดท้าย (palliative care plan) ความหวังยื้อชีวิต ริบหรี่...
2
แต่ในตู้เก็บตัวอย่างไวรัสของ Hatfull ที่มหาวิทยาลัย Pittsburgh อาจมีความหวังหลับไหลรออยู่
ไวรัส นำความตายมาสู่สิ่งมีชีวิตทั่วโลก ขึ้นอยู่กับว่ามันถูกโปรแกรมมาเพื่อฆ่าอะไร Cr:GETTY IMAGES
ไวรัสที่ว่านี้คือ bacteriophages ไวรัสในธรรมชาติที่เกิดมาเพื่อฆ่าแบคทีเรียโดยเฉพาะ
1
มีมากกว่า 15,000 สายพันธุ์ ของไวรัสที่เก็บรวบรวมมาจากทุกมุมโลกตั้งแต่ปี 1990 ที่คณะต้องค้นหาว่าตัวไหนคือไวรัสที่ใช่
1
ในเดือนมกราคมปีถัดมาคณะของ Hatfull สามารถระบุ bacteriophages ที่สามารถจัดการกับแบคทีเรียมรณะสายพันธุ์หนึ่งที่ติดเชื้อในเด็กชาย
แต่อนิจจา สายเกินไป เชื้อร้ายได้พรากชีวิตเด็กชายไปในเดือนเดียวกันนั้น
เหลือเพียงเด็กสาวที่ยังรอความหวัง จนในเดือนมิถุนายน คณะแพทย์ได้ให้ยาสูตรไวรัสอันประกอบด้วยไวรัส 3 สายพันธุ์ 2 ในนั้นเป็นไวรัสที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมเพื่องานนี้โดยเฉพาะ
เด็กสาวอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว รอยแผลที่ผิวหนังหายไป ตับและปอดทำงานได้ดีขึ้น จนเธอสามารถออกไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
นี่คือเคสการรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียดื้อยาด้วยไวรัสเคสแรกของโลกที่ได้รับการเปิดเผยเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมาใน
แต่ทั้งนี้ Hatfull ได้ย้ำว่าการรักษาด้วย bacteriophages นี้ไม่ใช่การรักษาทดแทนยาปฎิชีวินะแต่ควรเป็นการใช้ร่วมกัน และเป็นการรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามชนิดของเชื้อกับผู้ป่วย
1
และล่าสุดคณะวิจัยจาก MIT ได้แถลงข่าวความสำเร็จในการพัฒนา bacteriophages ตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อจัดการกับแบคทีเรีย E.coli
E.coli ที่ขึ้นชื่อว่าปราบเซียนยาปฎิชีวินะ ไม่รอดเมื่อเจอไวรัส, Cr: Design Cells/iStock
ทั้งนี้การใช้ไวรัสสังหารแบคทีเรียนั้นกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์เพื่อดื้อยาน้อยกว่าการใช้ยาปฎิชีวินะ เนื่องด้วยกลไกการเข้าสังหารของไวรัสนั้นต่างจากยาปฎิชีวินะ
แม้แต่แบคทีเรีย E.coli ที่ต้านทาน bacteriophages สายพันธุ์ในธรรมชาติก็ไม่รอดเงื้อมมือของ bacteriophages ที่ตัดแต่งพันธุกรรมมาโดยเฉพาะ
1
ดัดแปลงมารอจัดการพวกกลายพันธุ์โดยเฉพาะ
นับว่าเป็นอีกความหวังหนึ่งในการจัดการกับเชื้อแบคทีเรียดื้อยา เพิ่มความหวังให้กับผู้ป่วยจากเชื้อแบคทีเรีย
หนามยอกก็คงต้องเอาหนามบ่ง
ภาพจากภาพยนต์ "World War Z"
แต่ก็หวังว่ามันจะไม่กลายพันธุ์จนเกิดเป็นหายนะเหมือนในภาพยนต์ 😱

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา