9 ต.ค. 2019 เวลา 16:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อุบัติการณ์นิวเคลียร์โลกไม่เคยรู้ (เคสที่ 1)
เชื่อได้ว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ และเชอร์โนบิล
2
แต่แท้จริงแล้วยังมีอุบัติการณ์ทางนิวเคลียร์อีกมากมายที่โลกแทบจะไม่เคยได้รับรู้ ซีรีส์นี้จะพาเราไปรู้จักกับเหตุการณ์เหล่านั้น เหตุการณ์ที่ไม่ควรจะถูกลืมเลือน
ถ้าถังเก็บกากนิวเคลียร์ระเบิดตั้งแต่ปี 1957 แต่กว่าโลกจะได้รับรู้ปี 1976 . . ใช่รู้หลังไป 19 ปี !!?
วันนี้ขอพาคุณไปทำความรู้จักกับอุบัติการณ์นิวเคลียร์ที่โลกไม่ค่อยรู้ แต่หายนะไม่ได้น้อย
อนุสรณ์สถานเหตุการณ์ที่ Kyshtum Cr: Ecodefense/Wikimedia Commons
เคสที่ 1: The Kyshtym Disaster
หลังจากเตาปฎิกรณ์จำนวน 6 เครื่อง ณ เมือง Ozyorsk ประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นเมืองปิด เข้าออกได้เฉพาะผู้ได้รับอนุญาติเท่านั้น ได้เริ่มเดินเครื่องในปี 1948 ก็ได้มีการทิ้งกากนิวเคลียร์ลงทะเลสาปใกล้เคียง
เมือง Ozyorsk ในปี 2008, Cr: Ecodefense/Wikimedia Commons
เมืองนี้ตั้งล้อมโรงงาน Mayak ซึ่งเป็นโรงงานผลิตพลูโตเนียมสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และทำระเบิดนิวเคลียร์ เพื่อปกปิดสถานที่ตั้งโรงงาน เมืองและโรงงานถูกสร้างขึ้นระหว่างปี 1945 ถึง 1948
หลังจากทะเลสาปแรกเริ่มปนเปื้อนก็ได้ย้ายไปทิ้งกากนิวเคลียร์ลงทะเลสาปใกล้เคียงอีกแห่งแต่ได้ไม่นานก็เริ่มปนเปื้อนอีก
จนในปี 1953 จึงได้มีการสร้างโรงเก็บกากนิวเคลียร์เหลว ซึ่งกากเหล่านี้ยังคงได้รับความร้อนจากกากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ยังปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่องจากปฎิกิริยานิวเคลียร์
และมาถึงกันยายน 1957 เมื่อระบบหล่อเย็นของถังเก็บเกิดเสีย จึงทำให้ถังเก็บระเบิดออกจากแรงดัน
แรงระเบิดนั้นเทียบเท่ากับระเบิด TNT 100 ตัน แม้ไม่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดแต่หายนะนั้นเพิ่งเริ่ม
แนวการฟุ้งกระจายของกากกัมมันตรังสี Cr: Ecodefense/Wikimedia Commons
ควันจากการระเบิดแพร่กระจายธาตุกัมมันตรังสี caesium-137 และ strontium-90 ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือกินพื้นที่กว่า 52,000 ตารางกิโลเมตร มีผู้คนอาศัยอยู่ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบกว่า 270,000 คน
ด้วยการพยายามปิดข่าว จึงไม่มีการอพยพใด ๆ กว่าจะมีการอพยพก็ปาเข้าไปในเดือนตุลาคม มีผู้คนถูกอพยพเพียง 10,000 คน
ประมาณกันว่ามีผู้เสียชีวิตจากพิษรังสี 200 ถึง 8,000 คน แต่ไม่เคยมีการสรุปตัวเลขแน่ชัด
เหตุการณ์นี้ถูกปิดเงียบกว่า 19 ปี จนได้มีการเปิดเผยในปี 1976 โดย Zhores Medvedev นักชีววิทยาชาวรัสเซียผู้แปรพักตร์ ผ่านการตีพิมพ์ในวารสาร New Scientist
พี่น้อง Zhores-Roys Medvedev Cr: britannica.com
ทั้งนี้อดีตสหภาพโซเวียตได้มีการประกาศให้บริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นพื้นที่ป่าสงวน East Ural Nature Reserve ในปี 1968 ไม่ให้ผู้ใดกร้ำกราย เพื่อพยายามปิดบังข้อมูล
แต่ในที่สุดเอกสารบันทึกเหตุการณ์ The Kyshtym Disaster ก็ได้ถูกเปิดเผยอย่างเป็นทางการในปี 1989
ระดับความรุนแรงของอุบัติการณ์นิวเคลียร์ Cr: Wikipedis
เหตุการณ์ The Kyshtym Disaster นี้ถูกจัดระดับความรุนแรงของอุบัติการณ์นิวเคลียร์ที่ระดับ 6 ตามมาตรวัด International Nuclear Event Scale (INES) เป็นรองก็แต่เพียง ฟุกุชิมะ และเชอร์โนบิลซึ่งทั้งคู่อยู่ที่ระดับ 7
เป็นหนึ่งอุบัติการณ์นิวเคลียร์ที่จัดว่ารุนแรงมาก มีคนเสียชีวิตมากมาย แต่โลกแทบไม่เคยรู้เลย 😔
โฆษณา