10 ต.ค. 2019 เวลา 15:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อุบัติการณ์นิวเคลียร์โลกไม่เคยรู้ (เคสที่2)
เคสที่ 2: The Windscale Fire
1
Windscale reactors, Cr: Chris Eaton/Wikimedia Commons
สองอาทิตย์หลังจากเหตุการณ์ที่ Kyshtym, ณ เมือง Cumbria ประเทศอังกฤษ ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่เตาปฎิกรณ์ตัวหนึ่งของโรงงานผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ Windscale
Cr: Googlemaps
โรงงานนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยความต้องการของอังกฤษในการเป็นผู้ถือครองอาวุธนิวเคลียร์
1
เมื่อคิดราคาแล้วว่าสร้างระเบิดปรมาณู 10 ลูกก็มีราคาเท่าเตาปฎิกรณ์หนึ่งตัว รัฐบาลอังกฤษจึงตัดสินใจสร้างโรงงานพร้อมเตาปฎิกรณ์เพื่อใช้ผลิตพลูโตเนียม
ผังเตาปฎิกรณ์ของ Windscale Cr: HereToHelp/Wikimedia Common
แกนของเตาปฎิกรณ์ทำจากกราไฟต์ซึ่งเจาะช่องสำหรับใส่แท่งเชื้อเพลิงยูเรเนียมทำจากปลอกอลูมิเนียมยาวท่อนละ 1 ฟุต
ตัวแกนเตาถูกหล่อเย็นด้วยพัดลมขนาดยักษ์เป่าผ่านแกนก่อนออกปล่องระบายความร้อนสูงกว่า 120 เมตร
วินสตัน เชอร์ชิล นายกฯ อังกฤษ ฮีโร่จากสงครามโลกครั้งที่ 2, Cr: Wikipedia
เมื่อ วินสตัน เชอร์ชิล มุ่งมั่นให้อังกฤษมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองจึงได้มีการปรับปรุงเตาปฎิกรณ์ Windscale เพื่อผลิต ทริเทียม เชื้อเพลิงของระเบิดนิวเคลียร์ที่เรียกว่า "hydrogen bomb"
แต่การปรับให้ไปผลิตทริเทียมนี้ส่งผลให้เตา ปฎิกรณ์ร้อนขึ้น
พักทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง "ระเบิดปรมาณู" กับ "ระเบิดนิวเคลียร์" กันก่อน
ระเบิดปรมาณู (Atomic Bomb) ใช้ปฎิกิริยานิวเคลียร์แบบแตกตัว (Nuclear fission) ในการปลดปล่อยพลังงานในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ซึ่งได้แก่ พลูโตเนียม เพื่อสร้างอำนาจการทำลายล้าง
ส่วนประกอบของระเบิดนิวเคลียร์ในปัจจุบัน Cr: Wikipedia
แต่มนุษย์เราก็ยังไม่พอใจ จึงได้พัฒนาต่อจนมาเป็นระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์หรือ ระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) ที่เรารู้จักกันในนาม "ระเบิดนิวเคลียร์"
เมฆรูปเห็ดจากการระเบิดของแคสเซิลบราโว ระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ลูกแรกของสหรัฐฯ Cr: Wikipedia
ระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ใช้พลังงานจากปฎิกิริยานิวเคลียร์แบบหลอมรวม (Nuclear fusion) เป็นหลักซึ่งต้องใช้ความร้อนถึงร้อยล้านองศาจึงเป็นที่มาของชื่อเทอร์โมนิวเคลียร์
ขั้นตอนการจุดระเบิดของ ระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์, Cr: Wikipedia
โดยการใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันในขั้นตอนแรกเพื่อจุดระเบิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นในขั้นตอนที่สอง ผลที่ได้ทำให้อำนาจระเบิดเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับระเบิดปรมาณูที่ใช้ฟิชชันแบบเก่าแค่ขั้นตอนเดียว
เปรียบเทียบวงรัศมีทำลายล้างของระเบิดปรมาณูและระเบิดนิวเคลียร์ สีชมพูตรงกลางคือ Fat man ที่ทำลายล้างเมืองนางาซากิ วงสีส้มคือแคสเซิลบราโว, Cr: Wikipedia
กลับมาที่ Windscale เช้าของวันที่ 10 ตุลาคม 1957 แกนของเตาปฎิกรณ์เริ่มร้อนจนคุมไม่อยู่ อุณหภูมิพุ่งทะลุ 400 องศาเซลเซียส เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องพยายามเร่งพัดลมเพิ่มการหล่อเย็นแต่เหตุการณ์กลับยิ่งแย่
เจ้าหน้าที่จึงรู้ได้ทันที่ว่าเกิดไฟไหม้ในเตาปฎิกรณ์แน่นอนแล้ว
ความพยายามดับไฟด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำล้มเหลวไม่เป็นท่า
จนในที่สุดความพยายามก็เป็นผลด้วยการปิดบล๊อคไม่ให้มีอากาศเข้าไปยังเตาปฎิกรณ์ ไฟจึงดับลงได้
แต่กว่าจะคุมเพลิงได้ ไฟที่ไหม้ก็ได้ปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีอันประกอบไปด้วย ไอโดดีน-131, ซีเซียม-137 และ ซีนอน-133 ไปทั่วอังกฤษและหลายประเทศในยุโรป
ผังเตาปฎิกรณ์ Windscale, Cr: Argentum at pl/Wikimedia Commons
เตาปฎิกรณ์ถูกปิดตายหลังจากเหตุการณ์แต่ยังคงมียูเรเนียมค้างอยู่กว่า 15 ตัน ทำให้เตาปฎิกรณ์ยังคงร้อนอยู่จนทุกวันนี้จากปฎิกิริยานิวเคลียร์ที่ยังมีอยู่
แม้ไม่มีการอพยพผู้คนแต่ก็คาดกันว่าเคสผู้ป่วยมะเร็งอย่างน้อย 240 รายคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้
และหนึ่งเดือนต่อมา รัฐบาลอังกฤษต้องสั่งทำลายน้ำนมวัวที่ผลิตได้ในรัศมี 500 ตารางกิโลเมตรรอบโรงงานทิ้งทั้งหมด
ปัจจุบันยังไม่มีแผนรื้อถอนเตาปฎิกรณ์นี้จนกว่าจะถึงปี 2037 ซึ่งคาดว่าระดับการปล่อยรังสีจะลดลงอยู่ในระดับที่พอจะเข้าไปทำการเก็บกวาดได้
ระดับความร้ายแรงของเหตุการณ์นี้ถูกจัดอยู่ที่ระดับ 5 ตามมาตรวัด International Nuclear Event Scale (INES)
และนี่ก็คืออุบัติการณ์นิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดของอังกฤษ ผลของความทะยานอยากที่จะครอบครองอาวุธมหาประลัย . . . 😔
โฆษณา