28 ต.ค. 2019 เวลา 00:19 • ธุรกิจ
สอนการเงินลูก ตั้งแต่เขายังเด็ก (รายได้หลายช่องทาง EP5)
ขอแนะนำว่า พ่อแม่ควรปูพื้นฐานการเงินง่ายๆให้แก่ลูกๆ เช่น รายรับ รายจ่ายในครอบครัว แล้วค่อยๆเพิ่มการบริหารจัดการด้ารการเงิน ไปที่ละน้อย ให้ลูกๆได้ซึมซับตั้งแต่ยังเด็ก
สอนการเงินลูก ตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง
อย่าปล่อยให้ลูกตัวเอง ออกไปเผชิญชีวิตช่วงเริ่มต้นทำงานหาเงินเลี้ยงชีพ ด้วยความรู้ทางการเงินเท่ากับศูยน์ ให้พวกเขาเสียเวลาลองผิดลองถูก
พ่อแม่ในสังคมไทย ได้แต่สั่งสอนลูกๆ ให้รู้จักการประหยัด (ประหยัดอย่างเดียว ไม่ได้ทำให้รวย) แถมยังไม่ได้อธิบายเหตุผลว่าทำไมต้องประหยัด เช่น ไม่ได้ทำตัวอย่างที่ดีให้ดู อาจตรงกันข้าม ตัวเองกลับฟุ่มเฟือยไม่รู้ตัว ทำตัวอย่างที่ไม่ดีให้ลูกเห็น คำสอนให้ประหยัดด้วยวาจา จึงไม่เกิดผลดี
ในบางครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องการเงิน ลูกๆต้องช่วยกันทำงานหาเงิน เพื่อช่วยจุนเจือครอบครัว กลับกลายเป็นโอกาสให้ลูกได้บทเรียนที่ดี เมื่อเขาออกไปทำธุรกิจของเอง มักจะประสบความสำเร็จ เพราะถูกปูพื้นฐานมาตั้งแต่ยังเด็ก
หากเราเป็นพ่อแม่ที่ไม่มีปัญหาเรื่องการเงิน เลี้ยงลูกได้โดยไม่เดือนร้อน ไม่ใช่แค่ส่งเสริมเขาเรียนหนังสืออย่างเดียว แต่เราควรเพิ่มทักษะการเงินให้แก่ลูกๆด้วย จะเป็นการดีต่อตัวพวกเขาเองในอนาคต
เริ่มจากง่ายๆ เลย "การเงินในครอบครัว" มีดังนี้
1. อธิบายโครงสร้างรายได้ ในครอบครัวทั้งหมด (เฉลี่ยต่อเดือน) เช่น
- เงินเดือนพ่อ เงินเดือนแม่
- รายได้จากการลงทุน เช่น ให้เช่า เงินปันผล ดอกเบี้ย และอื่นๆ
ถ้าเพิ่มเติม ประมาณการวันสิ้นสุดรายได้ และอัตราเติบโตรายได้ จะดีมากๆ
2. โครงสร้างรายจ่าย ในครอบครัวทั้งหมด (เฉลี่ยต่อเดือน) เช่น
- ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนสินค้าต่างๆ
- ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าทรัพย์สิน (ถ้ามี)
- ค่าจ้างแม่บ้าน ค่าจ้างคนงาน (ถ้ามี)
- ค่าน้ำปะปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่ารายเดือนบริการต่างๆ
- กลุ่มค่าใช้จ่าย เดินทาง อาหาร สินค้าอุปโภค เสื้อผ้า ท่องเที่ยว ฯลฯ (แสดงตัวเลขประมาณการเป็นกลุ่มๆ)
- ค่าเทอม ค่าชุดนักเรียน ค่าเดินทางไปเรียน ต้นทุนทางการศึกษาต่างๆ
- ภาษีรายได้ ประกันสังคม
- เงินออม และเงินลงทุน เช่น กองทุนสำรองฯ LTF, RMF ฯลฯ
3. หนี้สินในครอบครัว ผ่อนเดือนละเท่าไร ดอกเบี้ยกี่% เงินต้นคงเหลือ ถ้าไม่โปะเงินต้นเลย อีกกี่ปีจะผ่อนหมด อธิบายให้เห็นภาพว่า การผ่อนแต่ละเดือนทรัพย์สินจะค่อยๆเพิ่มเป็นส่วนของเรา หรือหนี้ลดลง และการใช้ประโยชน์ในช่วงที่ผ่อน เทียบกับถ้าเราต้องเช่าจากผู้อื่น
4. การออมและการลงทุนในครอบครัว ออมเดือนละเท่าไร กำไร/ขาดทุนเท่าไร ปันผลกี่% อัตราการเติบโต โครงสร้างหรือพอร์ทการลงทุน เช่น กองทุน/หุ้น/ทองคำ/เงินสด เปรียบเทียบข้อดี/ข้อเสีย
5. ทรัพย์สินต่างๆที่มีอยู่ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน รถยนต์ ระบุมูลค่า การใช้ประโยชน์ และค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา เป็นต้น
หากมีธุรกิจครอบครัว ให้อธิบายมูลค่าธุรกิจ ประมาณการรายได้ รายจ่าย กำไร ที่มาของรายได้ ปัจจัยธุรกิจ เป็นต้น
ข้อมูลต่างๆ ควรทำเป็นทั้งตารางตัวเลขและกราฟ ไม่ต้อง Breakdown จนละเอียดเกินไป แจกแจงเฉพาะเป็นกลุ่มหลักๆ ให้ลูกๆเห็นภาพ
1.รายได้ 2.รายจ่าย 3.หนี้สิน 4.การออม/ลงทุน 5.ทรัพย์สิน
ตัวเลขจะทำให้เขาเข้าใจว่า เรื่องการเงินเป็นเรื่องสำคัญ เงินเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต เขาจะมีความเห็นใจพ่อแม่ที่ต้องทำงานหาเงิน แล้วจะรู้จักใช้เงินอย่างมีคุณค่า เป็นการปลูกฝังอุปนิสัยการบริหารจัดการด้านการเงินที่ดีในอนาคตของเขา
ต่อไป เขาจะอยากทำงานหาเงินเอง แม้ว่ากำลังเรียนอยู่ ก็จะกำหนดเป้าหมายตัวเอง ได้เร็วกว่าเด็กที่ไม่เข้าใจเรื่องการเงิน (หรือไม่กำหนดมั่วซั่ว ตามความเพ้อฝัน)
ปัญหาคือ ตัวพ่อแม่เองยังไม่รู้จักทำตัวเลขภาพรวม การเงินภายในครอบครัวเลย
ขอจงเชื่อมั่นตัวเองว่า ทุกๆความรู้ ทุกๆความถนัด เราสามารถเรียนรู้กันได้ ฝึกฝนกันได้ หรือจงเป็นคนที่พร้อมพัฒนาตัวเองได้เสมอ Re-Skill & Up Skill (ทำเพื่อลูก เราต้องสู้)
การสอนลูก หรือสอนใครๆ คือการทบทวนความรู้ของตัวเองให้เก่งขึ้น
โปรดติดตาม รายได้หลายช่องทาง ** ทุกวันจันทร์ **
ได้ที่ Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา