14 ต.ค. 2019 เวลา 16:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อุบัติการณ์นิวเคลียร์โลกไม่รู้ (เคสที่ 4)
เมื่อเตาปฎิกรณ์ในเรือดำน้ำนิวเคลียร์ K-19 ของโซเวียตกำลังจะหลอมละลาย ชะตากรรมของเหล่าลูกเรือจะเป็นอย่างไร?? 😔
1
หากใครเคยดู K-19 The Widowmaker หรือชื่อไทย ลึกมฤตยูนิวเคลียร์ล้างโลก ภาพยนต์เรื่องนี้สร้างจากโครงเรื่องจริงของเหตุการณ์วิกฤตินิวเคลียร์ที่ถูกปกปิดมากว่า 28 ปีโลกถึงได้มีโอกาสรับรู้
ในช่วงปี 1960 ช่วงเวลาตึงเครียดขั้นสูงของสงครามเย็น สหภาพโซเวียตและอเมริกาต่างเร่งพัฒนาเรือดำน้ำนิวเคลียร์บรรทุกขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์เพื่อกดดันและคุมเชิงฝ่ายตรงข้าม
K-19, Cr: Wikipedia
K-19 เรือดำน้ำชั้น 658 ซึ่งฝ่ายนาโตจัดให้อยู่ในเรือดำน้ำชั้น Hotel เป็นเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์รุ่นแรกที่บรรจุขีปนาวุธข้ามทวีปติดหัวรบนิวเคลียร์ จัดได้ว่าทันสมัยที่สุดของโซเวียตในเวลานั้น
ติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีปติดหัวรบนิวเคลียร์ 3 ลูกที่กลางลำ พร้อมเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์สองเครื่อง, Cr: alchetron.com
หลังต่อขึ้นที่อู่บนคาบสมุทร Kola อย่างเร่งรีบ ในวันที่ 30 เมษายน 1961 K-19 ก็ได้เดินหน้าออกสู่มหาสมุทรในภารกิจแรกสำหรับการทดสอบยิงขีปนาวุธข้ามทวีปที่บริเวณคาบสมุทรแบริ่ง
ลางร้ายเริ่มตั้งแต่พิธีปล่อยเรือลงน้ำ ขวดแชมเปญที่กระแทกหัวเรือ ไม่แตก...
การทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีปนี้จะเป็นการประกาศให้อเมริการได้รับรู้ว่าโซเวียตมีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่สามารถทำการโจมตีวอชิงตันได้ทุกเมื่อจากทุกที่บนโลก
การทดสอบเป็นไปได้ด้วยดี มอสโค แสดงความยินดีกับกัปตันและลูกเรือไดรับมอบหมายภารกิจใหม่ แต่ในวันที่ 4 กรกฎาคม 1961 สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น
1
ระบบหล่อเย็นแกนเตารั่วทำให้อุณหภูมิแกนเตาพุ่งสูงขึ้น ระบบป้องกันทำการดันแท่งควบคุมลงจนสุดเพื่อปิดเตา แต่ความร้อนที่เหลือและปฎิกิริยานิวเคลียร์ยังคงดำเนินอยู่
อุณหภูมิแกนเตาพุ่งไป 800 องศาเซลเซียส ความร้อนทำให้เกิดไอน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีฟุ้งกระจายไปทั่วตัวเรือ ผ่านระบบระบายอากาศภายในเรือ
กัปตันสั่งให้ลูกเรือทีมซ่อมทำการสร้างระบบหล่อเย็นฉุกเฉินขึ้นจากการรื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์ในเรือรวมถึงตอปิโดและท่อระบายอากาศ มาประกอบเป็นระบบหล่อเย็นฉุกเฉิน
ซึ่งการติดตั้งระบบหล่อเย็นฉุกเฉินนี้ลูกเรือต้องผลัดกันเข้าทำงานในพื้นที่มีรังสีรุนแรง ลูกเรือผู้กล้าทั้ง 8 ผลัดกันเข้าทำงานเสี่ยงชีวิต
ในที่สุดระบบหล่อเย็นฉุกเฉินก็สามารถป้องกันไม่ให้แกนเตาหลอมละลายได้ เป็นการหยุดยั้งหายนะ แต่ลูกเรือทุกคนก็ได้รับรังสีกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะ 8 ลูกเรือทีมซ่อม
1
ในขณะที่กำลังแก้ปัญหา K-19 ไม่สามารถติดต่อกองบัญชาการทัพเรือได้เนื่องจากเสาวิทยุหลักเสียหายจากการดำครั้งก่อนทำได้แค่ส่งสัญญานขอความช่วยเหลือระยะสั้น
ซึ่งเรือพิฆาตของอเมริกาที่อยู่ใกล้เคียงจับสัญญานได้และเสนอความช่วยเหลือ แต่ด้วยกลัวว่าเทคโนโลยีจะต้องตกไปอยู่ในมืออริ กัปตันจึงปฎิเสธความช่วยเหลือและรอความช่วยเหลือจากกองทัพเรือ
กัปตันตัดสินใจยกเลิกภารกิจและเปลี่ยนเส้นทางไปในจุดที่คาดว่าจะเจอกับเรือดำน้ำดีเซล S-270 เมื่อพบกันและได้ทำการอพยพลูกเรือเป็นที่เรียบร้อย K-19 จึงถูกลากจูงกลับอู่ซ่อม เตา ปฎิกรณ์ที่เสียหายถูกรื้อและทิ้งลงก้นทะเลคีร่า
โดยก่อนจะได้เจอกับ S-270 แม้ว่าจะแก้สถานการณ์ไม่ให้แกนเตาปฎิกรณ์หลอมละลายได้แล้ว แต่ระดับรังสีในตัวเรือยังอยู่ในขั้นวิกฤติ
Nikolai Vladimirovich Zateyev กัปตันของเรือ K-19, Cr: Wikipedia
ในชั่วโมงแห่งความสิ้นหวัง เพื่อรักษาชีวิตลูกเรือกัปตันได้สั่งให้รองกัปตันเตรียมติดต่อขอความช่วยเหลือจากเรือพิฆาตของอเมริกาและเตรียมสละเรือ
แต่ K-19 จะตกสู่มืออเมริกันไม่ได้ เขาตัดสินใจจะจมลงสู่ก้นทะเลพร้อม K-19 แต่ S-270 มาถึงได้ทันเวลา
กัปตันและลูกเรือทั้งหมดถูกให้เซ็นเอกสารว่าจะไม่เผยแพร่เรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และพวกเขาก็ไม่มีใครปริปากจวบจนการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียต โลกจึงได้รับรู้ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวในอีก 28 ปีให้หลัง
จากลูกเรือทั้งหมด 120 คน ลูกเรือ 8 คนในทีมซ่อมเสียชีวิตภายใน 2 สัปดาห์ และอีก 15 คนเสียชีวิตภายใน 2 ปีให้หลังจากพิษของรังสี
อุบัติการณ์ครั้งนี้ถูกจัดให้มีความรุนแรงระดับ 5 ตามมาตรวัด International Nuclear and Radiological Event Scale (INRE)
** เกร็ดเล็กน้อย **
ตัวละครที่น่าสนใจในเหตุการณ์นี้คือรองผู้บังคับการเรือ "Vasily Alexandrovich Arkhipov" ชายผู้ถือได้ว่าเป็นผู้ช่วยให้โลกไม่ต้องเจอกับสงครามนิวเคลียร์
Vasily Alexandrovich Arkhipov, Cr: Wikipedia
หลังจากที่เขาร่วมอยู่ในเหตุการณ์ K-19 และรู้ซึ้งถึงผลร้ายของนิวเคลียร์ นี่อาจทำให้เขาตัดสินใจได้ไม่ยากในการโหวตคัดค้านการยิงตอปิโดติดหัวรบนิวเคลียร์ใส่กองเรืออเมริกาที่ประกอบด้วยเรือพิฆาต 8 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินอีก 1 ลำที่กำลังทำการปิดล้อมกดดันเรือดำน้ำของเขาให้ลอยสู่ผิวน้ำเพื่อพิสูจน์สัญชาติเรือ
1
เขารู้ดีว่าหากยิงออกไปการตอบโต้อย่างรุนแรงของทั้งสองฝ่ายย่อมหมายถึงห่าฝนระเบิดนิวเคลียร์สู่แผ่นดินแม่ของเขา ไม่เจอกับตัวก็คงไม่รู้ว่าการป่วยจากพิษรังสีมันทรมารขนาดไหน
B-59 เรือดำน้ำดีเซลชั้น 641 หรือชั้น Foxtrot ตามการเรียกของนาโต ลอยสู่ผิวน้ำในบริเวณทะเลคาริเบียน ระหว่างเหตุการณ์ Cuban Missile Crisis, Cr: Wikipedia
ด้วยสถานการณ์สุดกดดัน ไม่สามารถติดต่อกับศูนย์บัญชาการที่มอสโคว แบตเตอรี่ในเรือใกล้หมด ระบบระบายอากาศหยุดทำงานอุณหภูมิในเรือร้อนกว่า 40 องศาเซลเซียสและออกซิเจนในเรือก็ใกล้จะหมด
แม้ว่าเขาจะเป็นอันดับ 2 ของสายบังคับบัญชาในเรือ และเป็นคนเดียวจาก 3 คนในเรือที่มีอำนาจตัดสินใจยิงอาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ที่คัดค้านการยิง
แต่ด้วยชื่อเสียงจากปฎิบัติการ K-19 และตำแหน่งผู้บังคับการกองเรือ ในที่สุดเขาก็สามารถโน้มน้าวให้กัปตันยอมลอยเรือสู่ผิวน้ำ คลี่คลายวิกฤตการณ์ที่เกือบทำให้โลกต้องเผชิญกับสงครามนิวเคลียร์ 😲👍
หมายเหตุ: K-19: The Widowmaker สนุกดีนะครับลองหามาดูกัน หนังทุนสร้างสูงแต่เจ๊งยับ ส่วนหนึ่งก็คงเพราะค่าตัวดาราที่แพงเอาเรื่อง 😁
2
เครติดภาพ: Cap จากภาพยนตร์ K-19: The Widowmaker
1
โฆษณา