16 ต.ค. 2019 เวลา 23:23 • ธุรกิจ
TMB-T1 คืออะไร
สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ หลังจากที่ห่างหายจากการเขียนบทความไปสักพักใหญ่ ๆ วันนี้กลับมาแล้วนะคะ😊 ขอทักทายเพื่อน ๆ ด้วยเรื่อง TMB-T1
นักลงทุนและคุณลูกค้า หลาย ๆ ท่าน ถามไถ่กันมามากมาย ว่า สรุปแล้ว TMB-T1 ที่ได้มาคืออะไร ได้มาแล้วต้องทำยังไงต่อ ถือหรือขาย หรือยังไงดี
Wealth Check in
อันดับแรก เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า TMB-T1 คืออะไร
TMB-T1 คือ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิ์ได้ (Transferable Subscription Righ) หรือ TSR ที่ออกโดย TMB หรือธนาคารทหารไทยนั่นเอง
แล้ว TSR คืออะไร
TSR (Transferable Subscription Right ) คือ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หมายความว่า ผู้ที่ถือหรือเป็นเจ้าของใบสำคัญชนิดนี้ สามารถใช้สิทธิแลกซื้อหุ้นสามัญได้ตามสัดส่วนและราคาที่บริษัทผู้ออกกำหนด ในระหว่างที่สิทธินี้ยังไม่หมดอายุ ใบแสดงสิทธินี้สามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ด้วย ส่วนราคาจะเทรดที่เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับราคาแปลงของสิทธิ และราคาหุ้นแม่ที่จะได้รับหลังการแปลง
สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใช้สิทธิซื้อหุ้นตัวแม่ ก็สามารถขายสิทธิในกระดานได้รับเป็นสดมา หรือหากมองเห็นว่าคุ้มค่าที่จะซื้อเพิ่มเพื่อให้ได้สิทธิมากขึ้น ก็สามารถทำได้
และสิ่งสำคัญที่ต้องรู้คือ สิทธินี้จะมีวันหมดอายุ ถ้าไม่ขายตามกำหนดเวลา จะไม่มีสิทธิ์ขายในตลาดหลักทรัพย์ จะทำได้เพียงเอาสิทธิไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนตัวแม่ในราคาที่กำหนด
ถ้าไม่ใช้สิทธิ มูลค่าของ TSR จะกลายเป็นศูนย์ ไม่สามารถขายใครได้ โดยปกติแล้ว TSR จะมีอายุสั้น ๆ ไม่เกิน 2 เดือนหรือ 60 วัน
ฟังดูแล้ว TSR จะคล้าย ๆ Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิ) ที่เทรดกันทั่วไปในตลาด จุดที่แตกต่างกันคือ TSR นั้นจะมีอายุสั้นคือเทรดไม่เกิน 2 เดือนหรือ 60 วัน เนื่องจากบริษัทผู้ออกอยากให้ผู้ถือใช้สิทธิซื้อหุ้นนั่นเอง แต่ Warrant จะมีอายุที่ยาวกว่า เช่น 2 ปี หรือ 3 ปี หรือมากกว่า
ดังนั้นแล้ว เมื่อ TSR อายุสั้น นักลงทุนจึงต้องระวังและศึกษาหาข้อมูล หากจะขายสิทธิต้องตามเวลาเทรดให้ดีว่าเทรดวันสุดท้ายเมื่อไหร่
หรือต้องการใช้สิทธิก็ควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อราคาของหุ้นตัวแม่ว่าถ้าใส่เงินเพิ่มทุนเข้าไปแล้วคุ้มค่าหรือไม่ หากดูแล้วไม่คุ้ม ก็ควรเลือกที่จะขายเพื่อได้เงินสดมาแทนการไม่ใช้สิทธิ
กลับมาที่ TMB-T1 กันต่อ แล้วใครหละ ที่มีสิทธิได้ TMB-T1 ตัวนี้
คือ นักลงทุนที่ถือหุ้น TMB อยู่ในพอร์ตก่อนขึ้นเครื่องหมาย XT นั้นคือวันที่ 26 กันยายน 2562 นั่นเอง
จะได้ตามสัดส่วนที่ TMB กำหนด นั่นคือ TMB 1.444533 หุ้น: 1 หน่วย หมายความว่าผู้ถือหุ้น TMB 1.44453 หุ้นจะได้ TMB-T1 จำนวน 1 หน่วย ตามตัวอย่างวิธีคิดด้านล่าง
Wealth Check in
จากตัวอย่างการคำนวณจะเห็นได้ว่า ถ้านักลงทุนมี TMB 10,000 หุ้น จะได้สิทธิ TMB-T1 จำนวน 6,922 หน่วย ซึ่งสิทธินี้นักลงทุนได้มาฟรี ๆ
สิทธิที่ได้มานี้ สามารถนำไปซื้อหุ้น TMB จำนวน 6,922 ในราคา 1.40 บาท
หลังจากได้มาแล้วทำยังไงต่อ ?
สำหรับ TMB-T1 จะเทรดเพียง 7 วันคือ วันที่ 15-24 ตุลาคม 2562 เท่านั้น
นักลงทุนสามารถเลือกได้ดังนี้
1.ขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งนักลงทุนต้องขายในกระดานตั้งแต่ 15-24 ตุลาคม 62 ซึ่งราคาซื้อขายขึ้นอยู่กับ BID - OFFER ในกระดาน
ราคา TMB-T1 ณ ราคาปิด วันที่ 16 ตุลาคม 2562
www.kgipowertrade
สามารถคำนวณราคาเหมาะสม TMB-T1 = TMB ราคาปิดวันก่อนหน้า (11|10|62) 1.49 - 1.40 = 0.09 บาท ณ ปัจจุบันราคาลงมาพอสมควร คือปิดที่ 0.03 บาทโดยทฤษฎียิ่งใกล้วันหมดอายุ ราคาจะลงเรื่อย ๆ
2. ถ้าต้องการใช้สิทธิซื้อ TMB ในราคา 1.40 บาท ซึ่งจะกำหนด ในช่วง 8-22 พ.ย 2562
ห้ามขายในตลาดหลักทรัพย์ ให้ถือจนขึ้นเครื่องหมายหยุดการซื้อขาย
3.TMB มีประกาศจ่ายเงินปันผล 0.03 บาท|หุ้น ผู้ที่ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน ก็มีสิทธิในเงินปันผลนี้เช่นกัน
ขอให้เพื่อนๆ นักลงทุน ศึกษาข้อมูลประเมินความคุ้มค่า และวางแผนการลงทุนในสิทธิที่ได้มา และค่อยตัดสินใจว่าจะเลือกขายหรือถือ ดี บางท่านอาจจะขายไปแล้ว ขออภัยด้วยนะคะ ที่ลงบทความนี้ช้าไปนิด แอบหวังว่าจะมีประโยชน์อยู่บ้าง
สรุปช่วงเวลาสำคัญของ TMB ดังนี้
www.tmbbank.com
กรณีนักลงทุนใช้สิทธิ จากตัวอย่าง นักลงทุน มี TMB-T16,922 หน่วย ได้สิทธิซื้อ TMB ในราคา 1.40 ต้องจ่ายเงิน พ.ย 62
www.tmbbank.com
หลังจากใช้สิทธิแล้วหุ้นที่ได้เพิ่มมา มีสิทธิได้รับเงินปันผล ที่ 0.03 บาทต่อหุ้น
www.tmbbank.com
หากเพื่อนๆ นักลงทุนมีข้อสงสัยสามารถโทรไปสอบถามทาง TMB เพิ่มเติม ได้ที่เบอร์ 1558 กด 9 ได้เลยนะคะ
www.tmbbank.com
หวังว่าบทความคงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่สนใจหรือนักลงทุนที่มีหุ้น TMB อยู่ในport นะคะ
หากบทความนี้มีประโยชน์ฝาก กดไลค์
กดแชร์ กดติดตาม เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะคะ 😊❤
ขอบคุณข้อมูลจาก
#Wealth Check in

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา