17 ต.ค. 2019 เวลา 08:09 • ไลฟ์สไตล์
เมื่อโพสต์ที่แล้วเขียนถึงความตายที่น่ารัก
เพื่อไม่ให้เป็นการนอยหรือน้อยอกน้อยใจ
วันนี้จึงขอเขียนถึงความเป็นอมตะกันมั่ง... ผ๋าม ผ๊ามมมมม....
ใครเถียงว่าเป็นไปไม่ได้ผมนี้เถียงคอเป็นเอ็นเลยว่า... ครับ!
งั้นผมขอยกตัวอย่างความเป็นอมตะซัก 3 เรื่องให้อ่านกันดีกว่าครับ....
เรื่องที่1. Prometheus
โพรมีธีอุส คือ เป็นเทพไททันองค์หนึ่งในเทพปกรณัมกรีก(Greek Mythology) ที่มีความเฉลียวฉลาด เป็นผู้ขโมยไฟจากเฮสเทีย เทพีแห่งเตาไฟลงไปให้มนุษย์ เป็นเหตุให้มนุษย์รู้จักใช้ไฟในการหุงหาอาหาร และใช้เพื่อแสงสว่างจนสามารถต่อยอดพัฒนาเป็นอารยธรรมอันรุ่งเรื่องขึ้นมาได้
หลักฐานทางโบราณคดี-วิทยาศาสตร์ ให้ทฤษฎีว่า มนุษย์รู้จักใช้ไฟเมื่อมีการระเบิดของภูเขาไฟในอัฟริกา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4 แสนปีมาแล้ว นับเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกของมนุษย์ หลังจากนั้นความเป็นอยู่ของมนุษย์ก็เริ่มดีขึ้น และไฟถูกนำมาใช้ประโยชน์สืบต่อกันมาจนพัฒนาต่อยอดเจริญก้าวหน้าเป็นอารยธรรมจวบจนทุกวันนี้...
ไฟ คือ วิทยาศาสตร์ และไฟมีคุณสมบัติทั้ง ให้แสงสว่าง-ความร้อน-การเผาทำลาย...ในสายตาของ โพรมีธีอุส กับ ซุส อาจเห็นในมุมที่ต่างกัน โพรมีธีอุส มอง -ไฟ- คือ เครื่องมือในการพัฒนาชีวิตของมนุษย์ แต่ ซุส มองต่าง -ไฟ- คือความเร้าร้อน จะเผาทำลายทั้ง
ตัวมนุษย์เองรวมไปถึงพระเจ้าผู้สร้าง!
1
เทพซุสผู้ยิ่งใหญ่โคตรพิโรธ และลงโทษโพรมีธีอุสด้วยการขังไว้ในถ้ำบนเทือกเขาคอเคซัส ทั้งให้นกยักษ์มาจิกกินตับๆๆๆๆๆของโพรมีธีอุสทุกวัน โดยที่ไม่ตาย และทุกคืนตับของพรอมิธีเอิสจะงอกใหม่ เพื่อให้นกยักษ์จิกกินในวันรุ่งขึ้น! ตายก็ไม่ได้เป็นก็ไม่ได้...
แต่สำหรับมนุษย์แล้ว โพรมีธีอุสถือว่าเป็นเทพที่กล้าหาญ และเป็นเทพที่ดีต่อมนุษยชาติ จึงได้รับการยกย่องและนับถือในเชิงศาสนา-คัมภีร์ฤคเวทย์พรามหมณ์-ฮินดูในอินเดีย หรือลัทธิศาสนาเก่าแก่อย่าง "โซโรอัสเตอร์"ของชาวเปอร์เซีย กล่าวถึงการบูชาไฟ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เด่นที่สุดเพื่อขอพรจากพระเป็นเจ้าให้ทรงมอบความสุขและความโชคดีให้แก่ผู้ที่บูชานั้น และพิธีกรรมยังคงสืบทอดและดำเนินอยู่ในยุคปัจจุบันศตวรรษที่ 21
เรื่องที่ 2."One who sees the Dhamma sees me and one who sees me sees the Dhamma" ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ดั่งพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ ดังปรากฏ ใน “พรหมชาลสูตร”ความว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวงมะม่วงเมื่อขาดจากขั้วแล้ว ผลใดผลหนึ่งที่ติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ฉันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพชาติแล้วก็เหมือนฉันนั้น ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต”
โดยมาก ก็คือ เห็นได้ทางตา อาศัยตาทำให้เห็น แต่เมื่อพูดถึงการเห็นธรรม ธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นจิต เจตสิก และรูป
แต่ธรรมอะไรที่ควรเห็น ควรรู้ นั่นคือ สภาพธรรมที่ดี ซึ่งเป็น จิต เจตสิก เพราะฉะนั้น การเห็น ตา ไม่สามารถเห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมที่เป็นจิต เจตสิกได้ แล้วอะไร ที่จะเห็นได้ ปัญญานั่นเองที่ทำให้เห็น ที่เรียกว่า ปัญญาจักษุ ตา คือ ปัญญา ที่จะเห็นตามความเป็นจริง
เห็น ธรรม และธรรมอะไรที่ ชื่อว่าควรเห็น และเห็นเหมือนที่พระพุทธเจ้า (ตถาคต) เห็น หรือ ประจักษ์เหมือนกัน ธรรม ในที่นี้ จึงมุ่งหมายถึง โลกุตตรธรรม 9 คือ มรรค 4 ผล 4 และพระนิพพาน นี่คือการเห็นด้วยปัญญาที่ประเสริฐ เพราะกุศลธรรมบางอย่างไม่ว่าทาน ศีล การอบรมสมถภาวนา แม้ไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ก็มีกันอยู่แล้ว มีผู้เห็น คือ รู้อยู่แล้ว การเกิดกุศลขั้นเหล่านี้จึงไม่ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า ดังนั้น ธรรมที่พระองค์ทรงดำเนินและถึงการตรัสรู้ คือ มรรค 4 ผล 4 และพระนิพพาน ที่พระองค์ทรงประจักษ์ให้ เกิดเป็นพระพุทธเจ้า พระธรรม ธรรมกาย จึงเป็นชื่อของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ผู้ใดเห็นธรรม คือ มีปัญญาที่เห็นประจักษ์ โลกุตตรธรรม 9 ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นตถาคต เห็นพระพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น การได้อยู่ใกล้พระพุทธเจ้าที่มีพระชนม์อยู่ ได้เห็นด้วยตา ไม่ใช่เป็นการเห็นพระองค์ แต่การเห็นพระองค์ คือ มีปัญญาเข้าใจความจริง จนประจักษ์พระนิพพาน เกิดมรรค 4 ผล 4 ถึงการดับกิเลสตามขั้นต่าง ๆ ชื่อว่าเห็นพระองค์ เพราะเห็นพระปัญญาคุณ เห็นพระบริสุทธิคุณ และเห็นพระมหากรุณาคุณ ด้วยปัญญาของตนเองเป็นสำคัญครับ ซึ่งกว่าจะถึงการเห็นธรรม เห็นตถาคต ก็ด้วยการสะสมปัญญา ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมต่อไป ครับ
เรื่องที่ 3. และไม่มีที่ใดในหล้าของประเทศ.... ที่พระองค์ไม่เคยไป...
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9
ในการเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎร ซึ่งจะทรงใช้เวลาปีละประมาณ 6 เดือน
อย่างที่เราได้เห็นในภาพยนตร์ส่วนพระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเองบ้าง
- รถยนต์พระที่นั่งไปไม่ได้
- ก็ทรงพระดำเนินลุยน้ำลุยโคลน
พระหัตถ์ทรงถือแผนที่
- ทรงสังเกตพื้นที่
- และทรงบันทึกภาพ
- ทรงถามชาวบ้านเป็นเวลานานๆ
ถึงเวลาพระกระยาหาร
- ก็ประทับเสวยข้าวกล่องเหมือนๆ กับผู้ตามเสด็จทั้งหลาย
- ตกค่ำจะพระราชทานเลี้ยงผู้ที่มาช่วยงาน
เสวยเสร็จก็ทรงกางแผนที่บนโต๊ะ
- มีพระราชดำรัสถึงปัญหา
- ที่ทรงพบระหว่างการเสด็จฯ
ทรงซักถามความคิดเห็น
- และพระราชทานพระราชดำริ
- ถึงวิธีการแก้ปัญหานั้นๆ
- อย่างตรงจุดและยั่งยืน
พระตำหนักตามภาคต่างๆ นั้น
- ไม่ใช่เป็นที่สำราญพระราชอิริยาบถ
- แต่เป็นสำนักงานที่ใช้ทรงงาน
Conclusion..
เป็นไงกันบ้างครับ กับชีวิตชั่วนิรันดร์ อาจมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์ ความเป็นอมตะอาจหมายความ
ว่าเราจะไม่ทุกข์กับความกลัวตายอีกต่อไป เราสามารถทำอะไรได้มากขึ้นกับชีวิตของเรา และจิตใจที่ยอดเยี่ยมที่สุดของโลก เพื่อสามารถพัฒนาความคิดต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้กับที่เราต้องจ่าย..อาจมีความเครียดเกี่ยวกับทางทรัพยากร ปัญหาทางจิตวิทยาที่รุนแรงที่เกี่ยวข้องกับอายุที่มากขึ้น และความเครียดเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคม ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เช่น การเตือนความทรงจำจากเรื่องของ Cumaean Sibyl ของ Ovid เมื่อเธอขอชีวิตนิรันดร์แทนที่จะเป็นความเยาว์นิรันดร์ อพอลโลจึงปล่อยให้เธอเน่าเปื่อย แต่เก็บเธอไว้ให้มีชีวิตอยู่ จนกว่าร่างเธอจะแตกสลายลงไปอยู่ในขวด เหลือเพียงแค่เสียง....
1
Cumaean Sibyl
ถ้าพูดถึงเรื่องที่เราต้องจ่าย…กับสิ่งที่ต้องการบรรลุถึงชีวิตชั่วนิรันดร์ ไม่ว่าการเดินทางครั้งนี้จะเป็นประโยชน์จริงหรือไม่? หรือเป็นแค่การกลัวความตาย? หวังว่ามันจะตกหล่นเป็นอดีตไป หรือไม่? เราจะเสี่ยงต่อการเป็นอะไรที่มากกว่าเสียงในขวด…ความทรงจำใน handy drive...หรือในhard drive...
reference..
-พระมหากษัตริย์นักคิดนักปฏิบัติ...เพื่อความสุขของประชาชน. พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์.หนังสือ ...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคณะองคมนตรี หน้า 152.
โฆษณา