Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่อยเปื่อย
•
ติดตาม
21 ต.ค. 2019 เวลา 06:24 • ประวัติศาสตร์
นครปฐม ปฐมนครแห่งความจงรักภักดี
วันนี้ ขอมาในมุมนี้นะครับ เพราะครบรอบ 10 ปีของคำขวัญแบบไม่เป็นทางการแต่ซึ้งในใจคนนครปฐม ชุดนี้
"นครปฐม ปฐมนครแห่งความจงรักภักดี" เป็นคำขวัญที่ชาวนครปฐมรู้สึกถึงความภาคภูมิใจ กับคำขวัญนี้ ที่ ท่าน หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล มอบให้จังหวัดนครปฐม ในปี 2552 เมื่อท่านมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ท่านได้สร้างความจงรักภักดี ของชาวนครปฐม กับสถาบันพระมหากษัตริย์ จากประวัติศาสตร์ ของจังหวัดนครปฐม ให้เราภาคภูมิใจ
ปฐมนคร คือ จังหวัดนครปฐม เป็นชุมชนที่เป็นเมือง มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตกาล ยุคสุวรรณภูมิ และ เป็นศูนย์กลางยุคทราวดีฝั่งตะวันตก เป็นศูนย์กลางที่พระพุทธศาสนา มาปักหลักมั่นคง ครั้งแรกที่นครปฐม แห่งนี้
เมืองใหญ่เดิม ตั้งอยู่ที่ พระประโทณเจดีย์ (มีคูเมืองโดยรอบ) เป็นเมืองที่สำคัญเจริญรุ่งเรือง ในประมาณยุคสุวรรณภูมิและทราวดี (พ.ศ.300-1,200) มีท่าสำคัญที่ วัดธรรมศาลา และดอนยายหอม โดยศาสนาพุทธได้เข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่สมัยอโศกมหาราช จนเป็นปึกแผ่นมีสำนักตักศิลาศึกษาเผยแพร่ ศาสนาพุทธแห่งแรก ที่ทุ่งพระเมรุ และ ก่อสร้างเจดีย์ใหญ่ที่องค์พระปฐมเจดีย์
"นครแห่งความจงรักภักดี"
กาลเวลาผ่านไป มีเจริญมีเสื่อม จากสภาพภูมิประเทศทะเลตื้นเขิน และ การรุกราน ของชนชาติต่างๆ พื้นที่เมืองนครปฐมเดิมจึงกลับไปรกร้าง ผู้คนอพยพไปตามแม่น้ำที่ท่าจีนที่เกิดใหม่ เป็น มณฑลนครชัยศรี
จน ในหลวงรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งยังผนวชอยู่ก่อนขึ้นครองราชย์ ได้ธุดงค์มาพบ องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วได้กลับไปกราบทูลให้รัชกาลที่ 3 แต่ฐานะการคลังของบ้านเมืองยังไม่พร้อม จึงยังชะลอการบูรณะไว้ก่อน จนเมื่อทรงขึ้นครองราชย์ จึงได้ริเริ่มให้มีการบูรณะ องค์พระปฐมเจดีย์ มาต่อเนื่อง ในรัชกาล ที่ 5 และ 6 จนมีผู้คนกลับมาอยู่อาศัยมากขึ้น ประกอบกับ ได้ก่อสร้าง พระราชวังสนามจันทร์ และขุดคลองเจดีย์บูชา คลองมหาสวัสดิ์ เพื่อความสะดวกในการเดินทางจากกรุงเทพ
จึงได้มีคนมาอยู่อาศัยหนาแน่น กลับมาเป็น เมืองนครปฐม ในปัจจุบัน และเมื่อมีการสร้างทางหลวงสายเพชรเกษม และ ทางรถไฟ ผ่านนครปฐม ก็มีการนำอิฐ จากซากเจดีย์ สิ่งก่อสร้างยุคโบราณ ของนครปฐม ไปใช้ในการทำทางดังกล่าว จนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเดินทางออกมาตรวจราชการแล้วเห็นดังนั้น จึงห้ามมิให้นำไปใช้อีก และริเริ่มให้มีการตรวจสอบโบราณสถานในพื้นที่อย่างจริงจัง จนเป็นจุดเริ่ม งานอนุรักษ์โบราณคดีและศิลปวัตถุของชาติ
ซึ่งกว่าที่จะเหลือรอดมาให้ “หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์” และ “นายปิแอร์ ดูปองต์ (Pierre Dupont)” จาก “สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ “ (École française d'Extrême-Orient (EFEO) ขุดค้นตามหลักวิทยาศาสตร์โบราณคดีในปี 2481 นั้น ก็อาจเรียกได้ว่า “แทบไม่มีหลักฐานสำคัญหลงเหลืออยู่ที่ตรงนั้นแล้ว” !!!! เจดีย์และโบราณสถานของนครปฐม ไปอยู่ใต้ฐานทางรถไฟ และถนนเพชรเกษมจากบางกอกน้อยผ่านนครปฐมถึงราชบุรีไปเกือบหมดสิ้นแล้ว
แต่ ก็ได้สร้างความเจริญ มั่นคงให้กับนครปฐม และมีหลายสิ่งที่เราภาคภูมิใจ ในสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อจังหวัดนครปฐมมิรู้ลืม ขอยกตัวอย่างมาแค่ประเด็นๆสำคัญพอสังเขป ดังนี้
รัชกาลที่ 4 , 5 และ 6 พระราชทานสร้างเมืองนครปฐม
- บูรณะก่อสร้างปรับปรุง องค์พระปฐมเจดีย์ และพระราชทาน พิชัยมงกุฎ ให้ประดิษฐานบนยอดสุดองค์เจดีย์ ซึ่งจังหวัดได้น้อมนำมาเป็นตราสัญญลักษณ์ขิงจังหวัดด้วย
- ขุดคลองเจดีย์บูชา และคลองมหาสวัสดิ์
- สร้าง พระราชวังสนามจันทร์
- ก่อตั้งกองเสือป่า จังหวัดนครปฐม มีลูกเสือขนนก ด้วย 😊
-ฟุตบอลไทย เริ่มที่จังหวัดนครปฐม เป็นฟุตบอลแบบกติกาโบราณ
- ตลาดถนนคนเดิน เริ่มที่นครปฐม จากคลองเจดีบูชา มาถึงถนนเทศา ซอย 2
รัชกาลที่9 พ่อของเราชาวนครปฐม
เมื่อครั้งทรงผนวช ได้มาสักการะและเสด็จ วัดพระปฐมเจดีย์
ได้กำหนดสร้าง พุทธมณฑลสถาน ที่เขตสามพราน โดยดำริว่า เป็นจุดกึ่งกลางจากองค์พระปฐมเจดีย์ กับพระบรมมหาราชวัง สมควรก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักแห่งศาสนาพุทธ ในโอกาศถึง กึ่งพุทธกาล 2,500 ปี โดยทรงเสด็จมาวางศิลาฤกษ์ ในปี 2498 เพื่อก่อสร้างให้เสร็จในปี 2500
เพื่อจัดหางบประมาณในการก่อสร้างพุทธมณฑล ได้ก่อสร้างพระ 25 พุทธศตวรรษ จำนวน 4,842,500 องค์ เพื่อระดมเป็นทุนก่อสร้าง
แล้วทรงให้ อาจารย์ศิลป์ พีระศรี พิจารณาออกแบบ พระประธาน ของพุทธมณฑล จนได้เป็นรูปแบบที่น่าชื่นชมอยู่ที่วันนี้ โดยทรงพระราชทานตั้งชื่อว่า "พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์"
ต่อมาเพื่อได้มีการตัดถนน ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี และยกฐานะ ให้พุทธมณฑล แยกออกจากอำเภอสามพราน เป็นอำเภอพุทธมณฑล ประกอบ ด้วย 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน
โดยเฉพาะอำเภอสามพราน ยังมีความผูกพันธ์ กับสถาบันพระมหากษัตริย์ อีกหลายประการ คือ เป็นที่ตั้ง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน และ รัชกาลที่ 9และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ได้เสด็จมาพระราชทานกระบี่ให้แก่ผู้สำเร็จนายร้อยตำรวจ
นอกจากนี้ ที่วัดบางช้างเหนือ อำเภอสามพราน มีพระบรมฉายาทิสลักษณ์ขนาดใหญ่ของในหลวง รัชกาลที่ 9 หลังได้รับมอบจากรัฐบาลที่สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จล้นเกล้าฯทั้ง 2 พระองค์เสด็จเยือนประเทศยุโรป และเสด็จนิวัติกลับไทย เมื่อปี 2503
และ ที่หน้าทางเข้า พระอุโบสถ ทางด้านฝั่งขวา ได้มีต้นศรีมหาโพธิ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงปลูกไว้ และฝั่งซ้าย เป็นต้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 รัชกาลปัจจุบัน ทรงปลูกไว้
อ้างอิง :
https://www.silpa-mag.com/history/article_39229
:
https://www.khaosod.co.th/the-royal-cremetion/news_570577
:
http://www.klongmai-sampran.go.th/place-otop-preview?id=11
:
http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai/2013/06/19/entry-7
:
https://www.thairath.co.th/content/40071
:
https://youtu.be/fOB05IPeyk0
เรียนรู้ที่มาประวัติของตน และภาคภูมิใจในแผ่นดินเกิด ภาคภูมิใจในชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และ บรรพบุรุษของตน ที่สร้างเรามา
และตั้งใจจะรักษา สร้าง ความภาคภูมิใจให้รุ่นลูก รุ่นหลาน ของเรา ได้ภูมิใจที่ พ่อ ที่ ปู่หรือตา ได้มีส่วนร่วมในการรักษาแผ่นดิน รักษาอนาคตไว้ให้เขา
4 บันทึก
44
28
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
"นครปฐม ปฐมนคร แห่งความจงรักภักดี"
4
44
28
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย