4 พ.ย. 2019 เวลา 09:52 • สุขภาพ
กระดูกหัก ฉบับย่อ
จะพูดถึงเฉพาะกระดูกหักทั่วไป ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น หักแบบบ้าน ๆ (simple fracture)
ไม่ได้แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ไม่ได้มีแผล ไม่ได้โดนหลอดเลือดหรือเส้นประสาท
การรักษาทั่วไป
หลักการคือ จัดกระดูกให้เข้าที่ fix อยู่กับที่ และรอให้มันติดเอง
นั่นคือที่มาของการใส่เฝือก เป็นการยึดภายนอก ไม่ให้กระดูกขยับ
ต่อให้ไม่ใส่เฝือก ส่วนใหญ่กระดูกก็มักจะติดเอง
แต่ถ้าไม่จัดให้เข้าที่ มันก็จะติดบิด ๆ เบี้ยว ๆ ผิดรูป เหมือนที่เห็นพวกที่ชอบไปเป่ากันมา
การผ่าตัดเอง หลักการก็ยังคงเป็นการจัดกระดูกให้เข้าที่ และ fix ให้มันอยู่กับที่ด้วยเหล็ก
แต่บางตำแหน่ง มีข้อมูลว่าการผ่าตัด ได้ผลดีกว่าการใส่เฝือก (บางอันมันก็ใส่เฝือกได้นะ แต่หายช้ากว่า)
สำหรับในเด็ก กระดูกยังมีการเจริญเติบโตมากกว่าผู้ใหญ่
กระดูกจึงมักจะติดเร็วกว่า ฟื้นตัวได้ดีกว่า
แถมถ้าเบี้ยวนิด ๆ หน่อย ๆ ร่างกายก็สามารถแก้ไข้ปรับรูปร่างเองได้
อีกอย่าง การผ่าตัดใส่เหล็ก เหล็กมันไม่ได้เจริญเติบโตตามกระดูก
การรักษาในเด็ก จึงมักจะเป็นการใส่เฝือกมากกว่าผ่าตัด
ป.ล. สมัยใช้ทุน เคยเจอเคสเด็ก กระดูกเหนือข้อศอกหัก
แต่หมอเวรไม่ยอมใส่เฝือก (มันใส่ไม่เป็นอ่ะแหละ)
ผมอยู่ OPD นอกเวลา เลยไปดึงกระดูก ใส่เฝือกให้
แต่ไอ้หมอเลว ๆ ก็ไปให้พยาบาลโทรตามพ่อแม่เด็กมาทีหลัง บอกให้ไปผ่าที่โรงบาลจังหวัด
ทำให้พ่อแม่เด็ก ต้องเสียเวลา เสียค่ารถ ไปฟังหมอกระดูกพูดว่า “ใส่เฝือกดีแล้วนี่ มาทำไมเหรอ ?” 😩

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา