13 พ.ย. 2019 เวลา 12:00
Resilience - วิทยาศาสตร์แห่งการผ่านวิกฤต
จากข่าว กัปตันนักบินท่านหนึ่ง ถูกพักงานงดจ่ายเงินเดือนหลายเดือน แต่ก็ฮึดผันตัวมาเป็นพ่อค้าก๋วยเตี๋ยว ท่ามกลางข่าวคนฆ่าตัวตาย..สิ่งที่กัปตันมีคือ 'Resilience' หรือ 'ความเป็นตุ๊กตาล้มลุก' ซึ่งน่าจะเเป็นทักษะสำคัญในการผ่านยุค disruption
🌻 Resillience : ความสามารถในการฟื้นสภาพ แต่ข้าพเจ้าจะขอเรียกแบบให้เห็นภาพว่า 'ความเป็นตุ๊กตาล้มลุก' ค่ะ
นักจิตวิทยา เปรียบเทียบ การตีค่าประสบการณ์เราซึ่งมีทั้งบวกและลบ ขึ้นกับการวางจุดหมุน (fulcrum) ของคานดีดคานงัด
ผู้มี Resilience ดี เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายเข้ามาเพิ่มน้ำหนักด้านลบ จะสามารถ 'เลื่อนจุด fulcrum' ไปทางด้านลบ เท่ากับเพิ่มแรงบวก ทำให้สามารถ 'พลิกฟื้นพลังบวก' ได้ง่าย
ภาพจาก 1
หากมองแง่ประสาทวิทยา ธรรมชาติให้คน 'มองแง่ร้ายไว้ก่อน' (default neuronal network) แต่เมื่อสมองส่วนหน้าได้รับการฝึกฝน เราจึงสามารถปรับโลกทัศน์ให้มองตามจริง (executive neural network)
มีการทดลองเพื่อหาตำแหน่งสมองที่สำคัญต่อ resilience โดยให้อาสาสมัคร 30 รายดูภาพสยดสยองน่าสลดใจ เช่นภาพสงคราม ก่อนจะให้ดูภาพธรรมดาเช่นเก้าอี้ (2)
แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสมองด้วย functional MRI ร่วมกับฮอร์โมนความเครียด cortisol และพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ติดสุรา การก่อทะเลาะวิวาท
พบว่ากลุ่มที่สมองส่วนหน้า VmPFC มีการทำงานเพิ่มขึ้น มีฮอร์โมน cortisol ลดลงดีกว่ากลุ่มที่ VmPFC ไม่ทำงาน และยังมีประวัติพฤติกรรมเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มคนที่ VmPFC ไม่ทำงาน..
นอกจากนี้ยังเห็น ว่าเมื่อ vmPFC ทำงานมากขึ้น การทำงานของ amygdala จะลดลงเสมอ หรืออีกนัย 'vmPFC คือผู้สยบ amygdala'
ภาพจาก 2
🌻สิ่งใดช่วยเพิ่มความ Resilience
ด้วยการวิจัยดังกล่าว ทำให้มุมมองต่อ Resilience เป็น 'ทักษะที่สร้างได้' มิใช่เพียง 'ลักษณะนิสัย'
กิจกรรม หรือการบำบัดใด ที่ช่วยกระตุ้น หรือเพิ่มใยประสาทของ VmPFC ก็น่าจะช่วยพัฒนาทักษะ "Resilience' ค่ะ
ประเภทกิจกรรมที่มีหลักฐานว่ามีผลเปลี่ยนแปลง VmPFC คือ
1.ใช้กลไกภายนอก Relationship based therapy (3)
2.ใช้กลไกภายใน คือ Mindfulness base therapy (4)
⭐ โดยสรุป ความสามารถฟื้นตัว Resilience เป็นปัจจัยสำคัญให้คนเรามีการตอบสนองต่อวิกฤติ ที่แตกต่างกัน คำถามต่อไปคือ
🍀 อะไรคือกลไก ให้ Relationship และ Mindfulness therapy เพิ่ม resilience ซึ่งทั้งสองแบบนั้น สุดท้ายแล้วมีกลไกที่ร่วมกันคือ "ทำให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย" เพราะอะไรจะมาเล่าต่อในตอนหน้าค่ะ
🍀 เราสามารถวัดสมรรถนะ resilience อย่างเห็นเป็นรูปธรรมได้ไหม
ตอนหน้ามาต่อกันค่ะ❤

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา