12 พ.ย. 2019 เวลา 00:30 • สุขภาพ
วันนี้คุณนอนกี่โมง
เป็นคำถามที่ค่อนข้างตอบยาก เพราะการใช้ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนเป็นมนุษย์กลางวัน (นอนตอนกลางคืน) บางคนเป็นมนุษย์กลางคืน (นอนตอนกลางวัน) บางคนเป็นมนุษย์ตอนไหนไม่รู้ (นอนตอนไหนก็ได้) มีหลากหลายจริง ๆ เช้า ๆ วันนี้จึงขอนำเสนอข้อเท็จจริงบางประการให้ได้ทราบกัน
ขอบคุณภาพจาก http://www.bangkokhealth.com/health/article/
ภาพนี้คือภาพการแสดงของฮอร์โมนในร่างกายเรา 2 ตัว ที่จะหลั่งตอนเราหลับ นั่นคือ Growth hormone และ Cortisol ขอสนใจที่ Growth hormone ละกัน
โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง ฮอร์โมนชนิดนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย สร้างกล้ามเนื้อ กระตุ้นการสร้างมวลกระดูก ช่วยย่อยน้ำตาลและไขมัน ส่งเสริมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
สังเกตช่วงเวลาการหลั่งของฮอร์โมนตัวนี้ให้ดี ๆ (กราฟสีม่วง) จะเห็นเลยว่าช่วงเวลาที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนตัวนี้มากสุดคือ 23.00 น. ถึง 1.00 น. โดยประมาณ นั่นหมายความว่าอย่างไร เวลานี้เราควรต้องนอนแล้วน่ะสิ
Growth hormone จะหลั่งได้ดีช่วงหลับลึกด้วยนะ นั่นแสดงว่าเราต้องนอนก่อน 23.00 น. เพื่อให้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงหลับลึกนั่นเองและมี Growth hormone หลั่งออกมาทำงานได้อย่างเต็มที่
ดังนั้นจึงควรนอนไม่เกิน 23.00 น. จำให้ขึ้นใจ หากใครทำได้จะเป็นผลดีมาก ๆ เพราะพอถึงวัยกลางคน ปริมาณการผลิตฮอร์โมนจากต่อมจะลดลง และเมื่ออายุสูงวัยขึ้นตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนชนิดนี้จะลดลงเหลือเพียง 20% เท่านั้น !!
เมื่อ Growth hormone ลดลง จึงทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น หย่อนยาน ความสดใสหรือกระปรี้กระเปร่าหดหาย ผิวหนังซีด กระดูกบาง นอนไม่หลับ เป็นต้น หากใครอยากแก่ช้าหรือตื่นมาแล้วมีเรี่ยวแรงในการใช้ชีวิตระหว่างวัน พึงนอนก่อน 23.00 น. จะให้ดี 22.00 น. ควรนอนได้แล้วนะ ด้วยรัก ^^
เราอาจเรียก Growth hormone ว่า "ยาต้านความชรา" ก็ไม่ผิด
12 พ.ย. 2562 (7:30 น)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา