14 พ.ย. 2019 เวลา 14:42 • สุขภาพ
การมีน้ำหนักเกินค่ามาตราฐานก่อนอายุ 40 ปี
เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็ง
ผลสำรวจใหม่จากยุโรปพบว่าการมีน้ำหนักเกินมาตราฐานก่อนอายุ 40 ปีเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
งานวิจัยนี้นำเสนอโดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเบอร์เกน
University of Bergen ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศนอร์เวย์ ได้รวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างผู้คน 220,000 คนในนอร์เวย์, สวีเดนและออสเตรีย
โดยดูข้อมูลที่รวบรวมจากผลตรวจสุขภาพของผู้เข้าร่วม ความสูงและน้ำหนัก แล้วนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูลจากทะเบียนมะเร็งแห่งชาติ
จะว่าไปแล้วโดยทั่วไป "การมีน้ำหนักเกิน" หมายความว่า การที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 25 และถ้ามีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 แปลว่าเป็นโรคอ้วน
ผู้เข้าร่วมจะถูกติดตามข้อมูลย้อนหลังไป 18 ปี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้ป่วย 27,881 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ซึ่งในจำนวนนี้มี 9,761 คน หรือ 35 % เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน
📖 เห็นความสัมพันธ์กันหรือยังค่ะ
📷 unsplash.com free photo
ผลการวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร"ระบาดวิทยานานาชาติ" ชี้ให้เห็นชัดๆว่า📖 ผู้เข้าร่วมที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงสูงสุดต่อโรคมะเร็งเมื่อเทียบกับผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติ โดยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 64% สำหรับผู้เข้าร่วมชาย และ 48% สำหรับผู้เข้าร่วมหญิง
การมีน้ำหนักเกินก่อนอายุ 40 เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนทั้งชายและหญิงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้มีน้ำหนักเกิน
📷 unsplash.com free photo
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ( Endometrial Cancer ) เพิ่มขึ้น 70 %
มะเร็งไตชาย (renal-cell cancer) 58 %
และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชาย (colon cancer) 29%
โรคอ้วน จัดว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคมะเร็งหลายชนิด ในการศึกษาได้มุ่งเน้นไปที่ระดับเวลาและระยะเวลาของการมีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
คำแนะนำคือการป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น อาจเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
ข้อมูลเพิ่มเติม
ในประเทศไทยมีผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งไต 1.6 รายต่อประชากรแสนคน ผู้หญิง 0.8 รายต่อประชากรแสนคน และจะพบผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ในวัยผู้สูงอายุประมาณ 50-70 ปี
ภาพประกอบจาก แหล่งภาพปลอดลิขสิทธิ์
All Photo : Free Photo by Unsplash
Ref
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
14.11.2019
โฆษณา