เจาะลึกโครงสร้างการส่งออกของประเทศไทยรายอุตสาหกรรม ตอนที่ 1
.
ช่วงหลายวันที่ผ่านมา ท่านใดที่ติดตามเรื่องเศรษฐกิจ เราคงได้เห็นข่าวเรื่อง การส่งออกของประเทศไทยอยู่ที่ราวๆ -4.5% (ขึ้นอยู่ว่าจะนำตัวเลขไปเทียบกับเวลาช่วงใด) ทำเอาอกสั่นขวัญหายกันไปหมด
เหล่าผู้นำทัพเศรษฐกิจหลายท่านเริ่มแสดงอาการให้เราเห็นว่า ปีนี้การส่งออกน่าจะแย่จริงๆ
บทความชิ้นนี้ หมูน้อย จะทำให้ทุกท่านเข้าใจถึงโครงสร้างการส่งออกของประเทศไทยทั้งหมด พร้อมทั้งเจาะลงไปดูในรายอุตสาหกรรมว่า ณ ขณะนี้
การส่งออกที่เป็นเครื่องจักรสำคัญในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย อุตสาหกรรมแต่ละส่วนเป็นเช่นไรบ้าง
*หมายเหตุ บทความนี้ใช้ระยะเวลาในการอ่านราวๆ 10 - 15 นาที ครับ
เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันก่อน ว่าเวลาที่เราอ่านข่าวหรือรายงานการส่งออก ออกมาติดลบ หรือ ขยายตัว
"โดยทั่วไปแล้วจะเทียบกับยอดของปีที่แล้ว" เช่น การที่เราอ่านข่าวแล้วเจอ พาดหัวว่า ส่งออกไทย -4.5% นั่นคือ การเปรียบเทียบกับยอดการส่งออกในปี 2561
ซึ่งโครงสร้างการส่งออกของเราจะมีลักษณะดังนี้ครับ
โครงสร้างการส่งออกของไทย
*ในบทความนี้ท่านจะ เห็นสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ผมได้ใส่ไว้หลังตัวเลขดังนี้
k : อักษรเคตัวเล็ก คือ การคูณด้วย 1000 เช่น 640k จะมีค่าเท่ากับ 640,000
M : อักษรเอ็มตัวใหญ่ มาจาก million คือการคูณ ด้วย 1 ล้าน เช่น 25 M
จะมีค่าเท่ากับ 25 ล้าน
฿ : หน่วยค่าเงิน ไทยบาท
ดังนั้น หากท่านเจอตัวเลข 640k M฿ มันคือ 640,000 ล้านบาท
สาเหตุที่ใช้แบบนี้เพราะมันอ่านง่ายและเห็นภาพได้ทันที
โดยยอดการส่งออกรวมของประเทศไทยในปี 2561 อยู่ที่
ยอดการส่งออกปี 2561 ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์
.
ซึ่งเป็นปริมาณที่อยู่ในระดับสูงเลยทีเดียวครับ ท่านใดที่ติดตามผมมาตลอด จะทราบข้อเท็จจริงที่สำคัญประการหนึ่ง นั่นคือ หากภาคการส่งออกแย่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยทันที (ที่พูดมายาวๆทั้งหมดคือ Export ลด GDP ลด แน่นอนครับ)
การอธิบายโครงสร้างการส่งออกของประเทศไทย ผมจะใช้
Mind map เพื่อให้ทุกท่านสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ
อ่านครั้งเดียวเราจะเข้าใจโครงสร้างได้เลย
ไม่ต้องมาร่างภาพเพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง (ฝีมือด้าน info graphic ของผมยังอยู่ในระดับเริ่มต้น กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องครับ)
.
เราสามารถมองโครงสร้างการส่งออกของประเทศไทยเป็นดังนี้
โครงสร้างการส่งออกหลัก
แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
1. สินค้าเกษตรกรรม คิดเป็นสัดส่วน 9.18% ของการส่งออกรวม มีมูลค่าประมาณ 744,000 ล้านบาท
2. สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร คิดเป็นสัดส่วน 7.21% มีมูลค่าประมาณ 584,000 ล้านบาท
3. สินค้าอุตสาหกรรม คิดเป็นสัดส่วน 79.21% มูลค่าประมาณ 6.42 ล้าน ล้านบาท
4. สินค้าแร่และเชื้อเพลิง คิดเป็นสัดส่วน 4.39% มูลค่าประมาณ 356,000 ล้านบาท
ผมจะค่อยๆอธิบายให้เข้าใจทีละส่วนครับ(หาน้ำมาจิบพลางๆครับ)
* สัดส่วนที่ใช้จะเป็นของ ปี 61 เพราะของ ปี 62 แต่ละส่วนจะมีการปรับขึ้นลงเล็กน้อย
1. สินค้าเกษตรกรรม
สินค้าในหมวดนี้ ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ สินค้ากสิกรรม สินค้าปศุสัตว์ และสินค้าประมง
โครงสร้างสินค้าเกษตรกรรม
.
สินค้ากสิกรรม(คิดเป็นสัดส่วน 6.85% จาก 9.18% ของสินค้าเกษตรกรรม)
สินค้าในกลุ่มนี้ก็จะประกอบด้วยรายการสินค้าตามรูปภาพด้านบน เรามาดูกันเป็นสินค้าที่น่าสนใจ ว่ากลุ่มไหนอาการเป็นเช่นไรบ้าง
1.1 ข้าว(สัดส่วน 2.25% จาก 6.85% ในสินค้าหมวดกสิกรรม )
ข้าวมียอดการส่งออกทั้งปี 61 อยู่ที่ 180,081 ลบ. ในขณะที่ยอดรวมจนถึงเดือนตุลาคม 62 อยู่ที่ 110,441 ลบ.
.
https://www.cpbrandsite.com/contents/tips_tricks/wkkwia2eay945al9mxxirlwhyrx99jsbljdbstkq.png
.
ในปี 61 การส่งออกข้าวมีการขยายตัว 3.95%(เทียบปี 60)
แต่เมื่อมาถึงปี 62 การขยายตัวกลับลดลงถึง -25.29% เมื่อนำการส่งออกช่วงเวลา ม.ค.-ต.ค. 61 เทียบกับ ม.ค.-ต.ค. 62
โดยในหมวดข้าว ก็จะมีทั้ง ข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว หลายข้าว ข้าวนึ่ง ข้าวกล้อง และข้าวอื่นๆ การส่งออกของเราลดลงทุกรายการ
*สายพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดของโลก ปี 2019 คือ "ข้าวพันธุ์ ST24" ของเวียดนาม ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ เมล็ดยาว นุ่ม และมีกลิ่นหอม
ซึ่งเราเสียแชมป์ 2 ปีต่อเนื่องแล้วครับ ปี 61 เสียแชมป์ให้ กัมพูชา
จากข้อมูลที่ผมดูอยู่ สายพันธุ์ข้าวของเวียดนามตามขย้ำเราแทบจะทุกประเภท
อีกทั้งไทยเรายังโดนพิษจาก การแข็งตัวของค่าเงินบาท ทำให้ข้าวเราแพงกว่าเวียดนาม ตกอยู่ที่ราวๆ 80 $ ต่อ 1 ตัน (ประมาณ 2400 บาท)
เมื่อมองในมุมมองของผู้นำเข้าข้าวของประเทศอื่น ในเมื่อข้าวเวียดนามดีกว่า(อร่อยกว่า) แถมราคายังถูกกว่า ทำไมเขาถึงต้องมาซื้อข้าวไทยด้วย
.
1.2 ข้าวโพด (0.05% จาก 6.85% ในสินค้าหมวดกสิกรรม)
http://res.cloudinary.com/dk0z4ums3/image/upload/v1523934509/attached_image_th/%25e0%25b8%2582%25e0%25b9%2589%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a7%25e0%25b9%2582%25e0%25b8%259e%25e0%25b8%2594.jpg
เม็ดเงินของกลุ่มนี้อยู่ที่ราวๆ 3,800 ลบ. ในปี 61 (หดตัวลงจากปีก่อนหน้า) สำหรับปี 62 นี้ อยู่ที่ 1,800 ลบ. ต่อให้มีเวลาอีก 2 เดือนก็ไม่น่าจะส่งเพิ่มได้มากเท่าไหร่
.
1.3 ถั่ว(0.02% จาก 6.85% ในสินค้าหมวดกสิกรรม)
ในปี 61 การส่งออกลดลงต่อเนื่องจากปี 60 -32.90% และในปี ระยะ 10 เดือนก็ลดลงจากปีก่อนหน้าเล็กน้อยเมื่อเทียบในระยะเวลาเดียวกัน
.
1.4 มันสำปะหลัง(1.23% จาก 6.85% ในสินค้าหมวดกสิกรรม)
https://f.ptcdn.info/750/042/000/o7bmc1m2n3NiRECUo40-o.png
กลุ่มนี้นับว่ามีความสำคัญเป็นต้นๆของหมวดกสิกรรม
เม็ดเงินส่งออกเมื่อปี 61 อยู่ที่ 99,789 ลบ. ในขณะที่ปี 62 ระยะ 10 เดือนนี้ อยู่ที่ 70,000 ลบ. อีก 2 เดือนคงไม่เพียงพอกับการเร่งส่งออก ส่วนหนึ่งมาจากจีนลดการสั่งซื้อลงเป็นจำนวนมาก ยังมีรายละเอียดในตัวอีกหลายส่วน แต่โดยรวมคืออาการค่อนข้างแย่ครับ
.
1.5 ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง (1.05% จาก 6.85% ในสินค้าหมวดกสิกรรม)
กลุ่มนี้มีการเติบโตที่ดีครับค่อนข้างน่าดีใจ เม็ดเงินส่งออกเมื่อปี 61 อยู่ที่ประมาณ 85,000 ลบ. มาปี 62 ระยะ 10 เดือนที่ผ่านมาการส่งออกฟาดไป 100,000 ลบ.
โดยผลไม้ที่ดึงการส่งออกขึ้นมามีสองตัวที่น่าสนใจคือ
"ทุเรียน" ยอดส่งออก 10 เดือนแรกของปี 61 อยู่ที่ 28,600 ลบ. ปี 62 อยู่ที่ 43,000 ลบ.
https://www.prachachat.net/wp-content/uploads/2019/09/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-1-728x485.jpg
.
"มังคุด" ยอดส่งออก 10 เดือนแรกของปี 61 อยู่ที่ 7,173 ลบ. ปี 62 อยู่ที่ 16,631 ลบ.
http://res.cloudinary.com/dk0z4ums3/image/upload/v1562896527/attached_image_th/2126-%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%2584%25e0%25b8%25b8%25e0%25b8%2594-rs.jpg
.
"ลำไย" ยอด 10 เดือนของปี 61 อยู่ที่ 11,594 ลบ. ปี 62 อยู่ที่ 14,499 ลบ.
https://www.honestdocs.co/benefits-of-longan
.
ดังนั้นผมอยากให้กำลังใจ เกษตรกรทั้งสามกลุ่มนี้ว่า มั่นใจเถอะครับของเราดีจริง อย่าไปกลัวพวกคำล่ำลือว่า จีนปลูกทุเรียนแล้วคนที่เพิ่งปลูกจะเจ๊ง คนกินทุเรียนมีอยู่ทั่วโลก วัดกันไปเลย
อันที่จริงปัญหาเรื่องราคาผลไม้ตกต่ำส่วนนึงมาจากการที่ล้งที่รับซื้อผลไม้ไปกดราคาตรงหน้าสวน คำแนะนำของผมคือ พยายามรวมตัวกันในกลุ่มอำเภอหรือจังหวัดให้ได้ แล้วศึกษาเรื่องการส่งออกหรืออย่างน้อยก็ส่งไปตลาดในประเทศ สุดท้ายพวกล้งผลไม้ที่กดราคาจะแพ้ภัยตัวเองครับ
.
1.5 ยางพารา(1.82% จาก 6.85% ในสินค้าหมวดกสิกรรม)
http://rubberplasmedia.com/2019/02/05/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%9B%E0%B8%B5/
กลุ่มนี้อาการหนักพอๆกับ กลุ่มข้าว การส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง เม็ดเงินส่งออกปี 61 อยู่ที่ประมาณ 147,000 ลบ. ซึ่งระยะ 10 เดือนปี 62 นี้อยู่ที่ราวๆ 109,000 ลบ.
กลุ่มผู้ส่งออกยางพารารายหลักๆของโลกมี 4 ราย คือ ไทย อินโดฯ มาเลเซีย เวียดนาม กลุ่มนี้รวมตัวกันไม่ติดเหมือนกลุ่ม OPEC ที่ควบคุมราคาน้ำมันได้ในระดับนึงครับ ภาคียางพาราค่อนข้างมีปัญหา บางทีก็แทงกันเองเหมือนกลุ่ม OPEC นั่นแหละครับ
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า การที่จะปลูกต้นยางจนกรีดเอาน้ำยางออกมาได้ ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 7-8 ปี ถ้าให้เกษตรกรกลุ่มนี้โค่นต้นยาง ระหว่าง 8 ปีนั้นจะเอาอะไรมาซื้อข้าวกินล่ะครับ?
ในขณะที่ความต้องการยางพาราในตลาดโลกลดลงตามภาวะอุตสาหกรรมที่ชะลอตัว กลุ่มนี้ในระยะถัดไปน่าจะไม่สดใสนัก
*** กลุ่มนี้ยังมีทางที่จะพัฒนาไปได้ทันโลกอยู่คือ การพัฒนาสินค้าที่ทำจากยางพาราให้ก้าวไปอีกขั้น ท่านทราบกันหรือไม่ครับว่าไทยเราเป็นเบอร์ 1-2 ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสินค้าที่ทำจากยางติดอันดับโลก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนอนที่ทำมาจากยางพารา,ถุงมือ,ถุงยาง ฯลฯ
การสนับสนุนให้มีวิสาหกิจชุมชน เช่นแปรรูปจากน้ำยาง ขึ้นรูปเป็นสินค้าชนิดต่างๆ ในบางกลุ่มที่มีความเข้มเเข็ง สิ่งเหล่านี้เห็นมาบ้างครับสำหรับการแปรรูปเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม เพียงแต่ขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการบอกให้เขาเหล่านั้นไปโค่นต้นยางทิ้งจริงไหมครับ?(ทางออกสร้างสรรค์มีเยอะแยะ)
ดังนั้นอยากให้กำลังใจกับเกษตรกรกลุ่มนี้ว่า กลุ่มยางยังมีศักยภาพแฝงอย่ายอมแพ้ครับ
ส่วนสินค้าอื่นๆที่ผมไม่ได้พูดถึง ก็จะมีการทรงตัว และติดลบนิดๆหน่อยๆ มี บางส่วนที่ยังคงพอที่จะยืนพื้นอยู่ได้
สรุป ความเคลื่อนไหวของกลุ่มกสิกรรม คือ สินค้าหลักหลายตัวอาการไม่ดี และสินค้ารองลงมาก็ได้รับผลกระทบทำให้ภาพรวมทั้งกลุ่มไม่ค่อยดี
โดยระยะ 10 เดือนแรกของปี 61 ยอดรวมการส่งออกกลุ่มสินค้ากสิกรรมอยู่ที่ 462,795 ลบ. ยอดรวมทั้งปี หดตัวจากปีก่อนหน้า -6.38%
ระยะ 10 เดือนแรกของปี 62 ยอดรวมอยู่ที่ 422,416 ลบ.
ทำให้รอบ 10 เดือนแรกเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า การส่งออก -8.72% ครับ
.
***อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ การแบนสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งสารทั้ง 3 ตัวนี้มีความอันตรายและออกฤทธิ์ที่ไม่เหมือนกัน การแบนทั้งสามตัวไปในคราวเดียวกันดูเป็นอะไรที่ไม่สมเหตุสมผลนัก และจะกระทบห่วงโซ่การผลิตแน่นอน
ยกตัวอย่างสมมติแบบ ค่อนข้างโหดร้ายนิดนึงนะครับ
หากท่านมีเงินเดือนเฉลี่ย 18,000 - 25,000 บาท
ถ้าสั่งข้าวคะน้าหมูกรอบแบบปรกติ ราคาอาจจะอยู่ที่ประมาณ 40-50 บาท
แต่ข้าวคะน้าหมูกรอบที่มี คะน้าปลูกด้วยเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษ ใช้การตัดหญ้ามาทำปุ๋ยหมักจากธรรมชาติ ด้วยแรงงานคน
ทำให้ระยะเวลาการผลิตนานขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น ดังนั้นจึงทำให้คุณภาพของคะน้าหมูกรอบจานนี้อยู่ในระดับสูง อุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย คะน้าหมูกรอบออแกนิค
ราคาตกอยู่ที่ จานละ 80 บาท หากเราไม่ได้ทำอาหารทานเองต้นทุนการใช้ชีวิตของเราจะสูงขึ้นทันทีในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้
ผมอยากให้ทุกท่านลองจิตนาการว่าต่อไปว่า คนทั่วไป เค้าสามารถทานร้านอาหารอย่างดีที่ปลูกผักออแกนิคราคาสูงได้ทุกวันหรือไม่ (ผมไม่ได้ปฏิเสธว่าผักออแกนิคหรือเกษตรอินทรีย์ไม่ดีนะครับ ประเด็นของผมอยู่ที่ "ราคา" และ "ต้นทุน"ในเชิงระบบ)
ดังนั้นนี่จึงอาจจะเป็นความเสี่ยงที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไรในคราแรก
หากเราโดนพืชผลที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาถูกกว่า และใช้สารเคมีทั้งสามตัวนี้เหมือนเดิม ผมก็อยากจะทราบว่าผลกระทบจะรุนแรงหรือไม่
เพิ่มเติมว่า สินค้ากสิกรรมบางตัวก็ ไม่ได้ให้มนุษย์รับประทานทานผลผลิตโดยตรง อย่างเช่นกลุ่มยางพารา ปาล์มน้ำมัน การกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีเหล่าจึงเป็นวิธีที่ต้นทุนต่ำที่สุด
ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังมีประเด็นเรื่องสารที่นำมาทดแทน หากเราได้สารกำจัดศัตรูพืชตัวใหม่ที่ "มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม ราคาเท่าเดิม และ ปลอดภัยกว่าเดิม" ไม่มีเกษตรกรท่านใดหรอกครับ ที่จะไม่อยากใช้
.
ดังนั้น กลุ่มกสิกรรมนอกจากจะเจอทั้งความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงแล้ว ยังมีความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจจะทำให้เกิดผลในด้านลบเข้ามาเพิ่มเติมอีกด้วย
2. สินค้าประมง(คิดเป็นสัดส่วน 0.78% จาก 9.18% ของสินค้าเกษตรกรรม)
https://www.bangkokbanksme.com/en/14305
กลุ่มนี้เป็น หนึ่งในกลุ่มที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
ปี 61 เม็ดเงินส่งออกของสินค้าประมงอยู่ที่ 63,393 ลบ. ซึ่งมีการหดตัวลงจากปีก่อนหน้า -11.36%
ระยะ 10 เดือนแรกของปี 62 นี้ ไทยส่งออกสินค้าประมงไปได้ 47,132 ลบ.
อย่างที่เราทราบกันว่า ประมงไทยโดนเรื่อง IUU มาก่อนหน้านี้ ในเรื่องของแรงงาน ทำให้มีปัญหาเรื่อง order สินค้าประมงกับทางยุโรป
ผมได้หาข้อมูลเพิ่มเติมว่าการตัดสิทธิ์ GSP ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าอาหารทะเล ของอเมริกาที่กำลังจะมีผลบังคับใช้จะกระทบกับสินค้าประมงของไทยหรือไม่ ท่านทราบไหมครับว่าผมเจออะไร
.
นั่นคือสถานะการณ์ด้านการประมงของไทยจะไม่ดีขึ้นไปกว่านี้แล้วใช่หรือไม่
ในเนื้อข่าวบอกว่า GSP ไม่กระทบหรอก ส่วนสาเหตุน่ะหรอ ไทยเจอ IUU เข้าไป แค่กินในประเทศก็ไม่พอแล้ว ไม่ต้องมองไปถึงส่งออก!?
*อย่างที่ผมเคยพูดไปในบทความก่อนหน้านี้เรื่อง GSP นะครับว่า ต้นเหตุที่เค้าชี้แจงมาในเอกสารไม่เกี่ยวกับเรื่องการแบน 3 สารเคมีแม้แต่น้อย ดังนั้นการที่จะเจรจาบรรลุผลได้ ผลประโยชน์ต้องเข้าทางอเมริกาเท่านั้น
เอาไว้ผมจะไล่เรียงสาเหตุของเรื่องตั้งแต่แรกให้ท่านอ่านสักบทความ
กลุ่มนี้จึงถือว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มที่โชคร้ายที่สุดแล้วครับ เจ้าของเรือประมงรายย่อยเจ๊งกันระนาว ย่อมกระทบกับสายผลิตเพื่อส่งออกของกลุ่มสินค้าประมงอย่างช่วยไม่ได้
อย่างไรก็ดีสถานการณ์อาจจะดีขึ้นในปีหน้า ขอย้ำว่านี่เป็นการคาดการณ์นะครับ เนื่องจากทาง EU ได้เริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับไทยหลังจากที่เรามีการเลือกตั้งแล้ว
กลุ่มนี้อนาคตจึงค่อนข้างที่จะเป็นไปในทางกลางๆ ครับ (ส่งออกติดลบบ่อยๆ ก็เริ่มชิน... เป็น new normal)
2. สินค้าปศุสัตว์(คิดเป็นสัดส่วน 1.55% จาก 9.18% ของสินค้าเกษตรกรรม)
เม็ดเงินรวมของการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ ปี 61 อยู่ที่ 125,610 ลบ.
ตัวเอกของกลุ่มนี้คือ
"ไก่" คิดเป็นสัดส่วน 1.24% จาก 1.55% ของสินค้าปศุสัตว์
https://www.kaset1009.com/th/articles/173085
เม็ดเงินที่หมุนเวียนอยู่ในกลุ่มนี้จากปี 61 อยู่ที่ 100,398 ลบ. ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าครับ และแนวโน้มในปีนี้ก็ยังคงขยายตัวเล็กน้อย
ระยะ 10 เดือนแรกของปี 62 เมื่อเทียบกับ ระยะ 10 เดือนแรกของปี 61 เมื่อพบว่ามีการขยายตัวอยู่ที่ 5.13%
ที่เหลือก็จิปาถะครับกลุ่มนี้แค่ไก่เพียงอย่างเดียวก็แทบจะเป็นตัวแทนของทั้งกลุ่มได้แล้ว
ผมเห็นการขยายตัวของการส่งออก"หมู" เพิ่มขึ้นครับ
https://www.thebangkokinsight.com/210921/
.
หมูจึงเป็นอีกตัวที่มีศักยภาพสูง เรื่องนี้จะเชื่อมโยงไปเรื่องการระบาดของโรคในหมูที่ประเทศอื่นๆ(African Swine Fever)โดนเล่นงานกันอยู่แต่ยังไม่มีข่าวในไทย ดังนั้น หมูจึงมีโอกาสรออยู่ข้างหน้าอยู่ที่เราจะคว้ามันเอาไว้ได้หรือไม่
ดังนั้น เมื่อเราทำการสรุปข้อมูลในกลุ่ม "สินค้าเกษตรกรรม" คิดเป็นสัดส่วน 9.18% ของการส่งออกรวม
มีมูลค่า 744,433 ล้านบาท เมื่อปี 61 (การเติบโตลดลงจากปีก่อนหน้า -4.20%)
ในปีนี้ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
ภาพรายอุตสาหกรรม การเติบโตลดลงในสินค้าตัวหลัก ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง รวมถึงสินค้าอื่นๆในกลุ่ม ดังนั้น แม้ว่าจะมีสินค้าบางตัว ที่มีอัตราการขยายตัวมากขึ้น แต่ก็ยังคงไม่สามารถทำให้การส่งออกในกลุ่มกสิกรรม ฟื้นตัวขึ้นได้
อีกทั้งในระยะข้างหน้า กลุ่มสินค้าประมงก็ยังมีความท้าทายที่หนักหน่วงเพิ่มเติมเข้ามา
ทำให้ภาพรวมในกลุ่มนี้ ไม่สดใสนักครับ
ความตั้งใจในตอนแรก ผมตั้งใจว่าจะทำให้ทั้งหมดเป็นบทความเดียวจะได้อ่านกันยาวๆ
แต่พอมาเขียนรายละเอียดในแต่ละส่วนแล้วพบว่าข้อมูลมีปริมาณค่อนข้างมากและมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องเยอะ เลยจำใจต้องทำเป็นหลายตอน
เป็นเหตุผลว่าทำไมถึงโพสบทความนี้ได้ก่อนวันจันทร์
ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามและสนับสนุนหมูน้อยตลอดมา
ฝากกด like และกด share กันด้วยนะครับ
ขอบพระคุณมากครับ
รักเสมอ
หมูน้อย
บทความตอนถัดไป(EP.2) จะเป็น กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร จะโพสวันจันทร์เวลาปนะมาณ 19:30-20:00 ตามกำหนดเดิมครับ
reference
โฆษณา