เจาะลึกโครงสร้างการส่งออกของประเทศไทยรายอุตสาหกรรม ตอนที่ 3.1
*ออกแบบใหม่ อ่านง่ายกว่าเดิมครับ
บทความนี้ ถือว่าเป็นส่วนที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโครงสร้างการส่งออกของไทย
ซึ่งก็คือ "โครงสร้างการส่งออกในหมวดสินค้าอุตสาหกรรม"
ซึ่งมีสัดส่วน "79.21%" ของการส่งออกทั้งหมด
.
เพื่อให้สามารถจัดเรียงโครงสร้างความคิดของเราได้ดียิ่งขึ้น
เรามาดูในส่วนของ Mind map เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างสินค้าในหมวดนี้กันครับ
.
.
ฝั่งซ้ายจะเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกในสัดส่วนที่สูงของหมวด
เรามาไล่ดูความเคลื่อนไหวในกลุ่มสินค้าที่น่าสนใจไล่ไปทีละตัวกันครับ
1. สิ่งทอ
.
สำหรับท่านใดที่เข้ามาอ่านใหม่ ผมขออธิบายโครงสร้างของ info graphic
ดังนี้
วงกลมซ้ายบน : ชื่อหมวดสินค้า
แถบด้านบนสุด สีแดง : แสดงหัวข้อ สินค้าอุตสาหกรรม
แถบรองลงมา สีฟ้า : แสดงสัดส่วน สินค้า ต่อ สินค้าอุตสาหกรรม
เช่น ดังภาพ สิ่งทอ น้ำหนักเป็น 2.82% จากสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด 79.21%
แถบรองลงมา สีเขียว : แสดงเม็ดเงินการส่งรวม ของปี 2561
แถบสีฟ้าฝั่งซ้ายมือ : แสดงยอดการส่งออก ตั้งแต่ เดือน ม.ค. - ต.ค. ในปี 2561 เทียบกับปี 2562
แถบสีเหลืองฝั่งขวามือ : แสดง การอัตราขยายตัว(วัดเป็น %)
เทียบยอดจากปีก่อนหน้า ตั้งแต่ เดือน ม.ค. - ต.ค. ในปี 61 และ 62
โดยที่ปี 61 จะเทียบกับปี 60
*หวังว่าทุกท่านจะมีความสุขในการอ่านมากขึ้นครับ
สินค้าในหมวดสิ่งทอเมื่อเข้าไปดูในสินค้ารายตัวแล้วพบว่ามีการส่งออกที่หดตัวแทบจะทุดรายการ แต่ยังโชคดีที่ สินค้าตัวหลักๆยังสามารถยืนได้
เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทำจากฝ้าย เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทำจากใย (กลุ่มนี้มียอดเงินราวๆ 20,000 - 25,000 ล้านครับ)
ในขณะที่สินค้าอื่นนอกเหนือไปจากนั้นเกิดการหดตัว หรือ ตัวใดที่ยืนอยู่ได้หรือบวกขึ้นมาเยอะๆเช่นผ้า ผ้าไหม( 125 ล้าน)
ก็มาจากฐานที่ต่ำ และมูลค่าไม่มากพอจะดึงสินค้าในกลุ่มนี้ขึ้นมาได้
สินค้าในหมวดสิ่งทอ จึงต้องเรียกว่าภาพรวมอ่อนแอทั้งระบบ
2. อัญมณี และ เครื่องประดับ
ฝั่งอัญมณีและเครื่องประดับนี้ เมื่อมองในภาพรวมค่อนข้างดูดีทีเดียวใช่ไหม
แต่.... เมื่อเรามาดูสินค้าที่ทำให้สินค้าอัญมณี มีการเติบโตมากขึ้นแบบก้าวกระโดดมาจาก ทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป เป็นยอดถึง 103,215 ล้านบาท
ในกลุ่มนักทุนจะทราบกันดีกว่าทองคำเป็นหนึ่งในสินค้าที่ใช้ในการเก็งกำไร
ดังนั้นจึงมีรายงานตัวนึงที่จะนำยอดการส่งออก หักลบทองคำออกไปด้วย
*ผมจะสรุปเอาไว้ที่บทความชิ้นถัดไป
จากข้อมูลที่ผมสอบทางไปยังสมาคมค้าทองคำทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปในนิยามของเค้าคือ "ทองคำแท่ง" ครับ
ดังนั้น เมื่อตัดผลของ การส่งออกทองคำแท่งออกไป
ยอดของกลุ่มอัญมณีจะโตอยู่ที่ ราวๆ 3.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน
ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
3.เครื่องใช้ไฟฟ้า
ภาพรวมของกลุ่มนี้มีการส่งออกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
เมื่อเข้าไปดูสินค้ารายตัวแล้ว พบว่าสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกในสัดส่วนที่สูง ยังสามารถยืนอยู่ได้ เช่น
เครื่องปรับอากาศ มูลค่าประมาณ 171,487 ล้าน ในปี 61 ระยะ 10 เดือนแรกปี 62 หดตัวลง 0.2% ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้เนื่องจากมีฐานสูง
ตู้เย็น มูลค่าประมาณ 59,466 ล้าน ในปี 61 ระยะ 10 เดือนแรกปี 62 เติบโตเพิ่มขึ้น 2.4%
สินค้าอื่นๆในกลุ่ม ส่วนใหญ่ มูลค่าการส่งออกจะหดตัวลงครับ
ดังนั้นในกลุ่มนี้ จึงสามารถมองได้ว่า ที่ภาพรวมยังมีความแข็งแรงในระดับหนึ่ง เป็นผลมาจากธุรกิจส่งออกตัวหลักสามารถยืนอยู่ได้
4.เครื่องอิเลกทรอนิกส์
ไทยส่งออกสินค้าอิเลกทรอนิกส์เป็นอันดับ 1 มาหลายปีมากแล้วครับ
สำหรับคนรุ่นเก่าๆ น่าจะพอได้ยินเนื้อเพลงที่ร้องว่า
"กสิกรแข็งขันเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
ไทยจะเรืองอำนาจเพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม"
กันมาบ้าง
ในด้านการส่งออกแล้ว กระดูกสันหลัง คือ สินค้าอิเลกทรอนิกส์ นี่ล่ะครับ
ซึ่ง อย่างที่ทุกท่านเห็นครับว่า กระดูกสันหลังของเราได้รับความเสียหายเสียแล้ว
ยอดการส่งออกในรายสินค้าลดลงแทบทุกรายการ เป็นผลโดยตรงจากสงครามการค้าที่เกิดขึ้น
ยอดส่งออกปีนี้ลดลงในปริมาณที่มีนัยยะสำคัญ หากสงครามการค้าไม่ดีขึ้น ปีหน้า อนาคตของกลุ่มนี้คงไม่สดใสนักครับ
เนื่องจากกลุ่มนี้มีข้อมูลในปริมาณมาก จึงต้องแบ่งออกมาหลาย EP
จะทยอยนำมาให้ทุกท่านอ่านอย่างต่อเนื่องทุกวัน จนจบ ซีรีย์
(อู้ ได้วันเดียวเองครับ)
จะโพสเวลาประมาณ 19:30-20:00 ครับ
(หรือหากมีเหตุอื่นใดผมจะแจ้งให้ทราบผ่านทางหน้าเพจ)
ก่อนอื่นผมขอขอบคุณ คุณกู้ด จากเพจ Good Stories ที่ทำให้ผมฉุกใจคิดว่า การอ่านตัวเลขเยอะๆในบทความยาวๆ ไม่เหมาะกับเรื่องที่ผมต้องการจะสื่อเท่าไหร่
เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อวานนอกจากไปอ่านหนังสือเล่มใหม่แล้ว ผมเลยใช้เวลาที่เหลือปรับโครงสร้างบทความ เพื่อให้อ่านได้ง่าย เลยมาจบที่ info graphic ดังที่ทุกท่านได้ดูกัน
หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกท่านมีความสุขเช่นเคยครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามและสนับสนุนเสมอมา
ฝากกด like และ share กันด้วยนะครับ
ขอบพระคุณมากครับ
รัก
หมูน้อย
reference
โฆษณา