28 พ.ย. 2019 เวลา 12:51 • การศึกษา
หัวใจของ"วาฬสีน้ำเงิน"
อาจเต้นเพียงสองครั้งต่อนาที
วาฬสีน้ำเงินถือเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อโตเต็มวัยขนาดลำตัวจะยาวได้มากกว่า 30 เมตรและมีน้ำหนักราว 100-200 ตัน
วาฬมีหัวใจที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ มีขนาดเท่ากับรถยนต์คันหนึ่งเลยทีเดียว จัดว่าเป็นสัตว์ที่น่ามหัศจรรย์มาก
ก่อนหน้านี้ยังไม่มีใครสามารถบันทึกอัตราการเต้นของวาฬสีน้ำเงินได้ เนื่องจากความยากลำบากในการวัดสัตว์ขนาดใหญ่ขณะอยู่ในมหาสมุทรเปิด
ต้องขอบคุณทีมนักวิจัยในสหรัฐอเมริกา ที่นำทีมโดย ดร. เจเรมี โกลด์บอเกน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาที่ "มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด" และทีมงาน ที่ใช้อุปกรณ์ติดตามพิเศษซึ่งติดตั้งเครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ที่ครีบของวาฬสีน้ำเงิน เพื่อติดตามวาฬสีน้ำเงินในอ่าวมอนเทอเรย์แคลิฟอร์เนีย
📷 whale.ingram
โดยนักวิจัยตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจของวาฬ ในระหว่างการดำน้ำ 8.5 ชั่วโมง การดำน้ำเพื่อหาอาหารกินเวลานานครั้งละ 16.5 นาทีและทำความลึกสูงสุด 184 เมตรในขณะที่ใช้เวลาหายใจบนผิวน้ำน้อยกว่าสี่นาที
ผลการวิจัยของพวกเขาถูกตีพิมพ์ในรายงานของ National Academy of Sciences เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงอัตราการเต้นของหัวใจในวาฬสีน้ำเงินระหว่างการดำน้ำ การกินอาหารและการขึ้นสู่ผิวน้ำ
ซึ่งนอกจากสามารถบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจของวาฬสีน้ำเงินเป็นครั้งแรก ยังได้เห็นว่ามันเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อวาฬดำน้ำเพื่อหาอาหารลึก 600 ฟุต (180 เมตร) นานถึง 16 นาทีต่อครั้ง
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าหัวใจของวาฬสีน้ำเงินช่วยให้มันสามารถดำน้ำลึกได้อย่างไร
เปรียบเทียบขนาดตัวของวาฬสีน้ำเงิน 📷 pinterest
สิ่งที่ศึกษายังสามารถอธิบายความลับประการหนึ่งได้ว่า
..
ทำไมไม่มีสัตว์ชนิดใดที่จะสามารถพัฒนาให้ใหญ่กว่าวาฬสีน้ำเงินได้?
..
สาเหตุก็เพราะความต้องการพลังงานของร่างกายที่มากกว่าจะแซงหน้าสิ่งที่หัวใจสามารถจะรักษาเอาไว้ได้
📷 thelifeofwhaels
การเต้นของหัวใจ "สองครั้งต่อนาที" ของวาฬสีน้ำเงินทำงานอย่างไร?
อัตราการเต้นของหัวใจในระหว่างการดำน้ำสองครั้งต่อนาทีต่ำกว่าอัตราการเต้นของหัวใจที่คาดการณ์ไว้ 15 ครั้งต่อนาที
นักวิจัยพบว่าอัตราการเต้นในระดับต่ำสองครั้งต่อนาที เกิดขึ้นเมื่อวาฬพุ่งเข้าหาเหยื่อที่จุดที่ลึกที่สุดของการดำน้ำ และจะค่อยๆเพิ่มเมื่อกลับขึ้นสู่ผิวน้ำ ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดที่บันทึกได้อยู่ระหว่าง 25 ถึง 37 ครั้งต่อนาที
ในช่วงเวลาที่ขึ้นสู่ผิวน้ำ อัตราการเต้นของหัวใจวาฬจะสูงถึง 37 ครั้งต่อนาทีใกล้กับอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดของวาฬสีน้ำเงิน
ขณะที่วาฬทำการดำน้ำลึก กลไกของร่างกายได้ลดการเต้นของหัวใจลง เพื่อเติมออกซิเจนให้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเกิดความคล่องตัว
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าผลลัพธ์ของพวกเขาแสดงให้เห็นว่าระบบการไหลเวียนของวาฬปรับตัวอย่างไรเพื่อรองรับการดำน้ำและการให้อาหาร
📷 phys.org
เหตุผลหนึ่งสำหรับการศึกษาในเรื่องนี้
ทีมผู้วิจัยกล่าวว่า ในฐานะที่วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีหลายเรื่องที่เราต้องเรียนรู้ที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชีวกลศาสตร์
รวมถึงการทำความความเข้าใจเพื่อการอนุรักษ์
โดยสถานะของวาฬในธรรมชาติทมีจำนวนลดลงมากเมื่อเทียบกับในอดีตที่มีวาฬสีน้ำเงินในธรรมชาติมากกว่า 200,000 ตัว ซึ่งปัจจุบันคาดว่าจะมีเหลือในธรรมชาติราว 10,000 ตัวเท่านั้น
การศึกษาจะมีสำคัญสำหรับการอนุรักษ์และการจัดการสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เช่นวาฬสีน้ำเงิน และในอนาคตจะมีการศึกษาในวาฬชนิดอื่นๆด้วย
ปัจจุบันวาฬสีน้ำเงินอยู่ในสถานะที่ต้อง"ดูแลเป็นพิเศษ" แม้จะยังไม่มีสัญญาณของการสูญพันธ์ุชัดเจนนัก แต่จำนวนประขากรที่เพิ่มขึ้นยังอยู่ในปริมาณที่น้อย
Ref.
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
28.11.2019
โฆษณา